ความสัมพันธ์ของวัคซีนโควิด-19 และความรุนแรงของการเจ็บป่วยโรคโควิด-19 โรงพยาบาลชัยภูมิ ปี 2564-2565
คำสำคัญ:
โรคโควิด-19, การได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19, การเจ็บป่วยรุนแรงด้วยโรคโควิด-19บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การได้รับวัคซีนโควิด-19 ก่อนการเจ็บป่วยระดับอาการรุนแรง และศึกษาความสัมพันธ์ของการได้รับวัคซีนโควิด-19 และความรุนแรงของการเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 เป็นการศึกษาย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชัยภูมิ ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2564–เมษายน 2565 จำนวน 440 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว สีเหลือง สีแดง และกลุ่มเสียชีวิต กลุ่มละ 110 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (HOSxP) ของโรงพยาบาลชัยภูมิ ข้อมูลการได้รับวัคซีนโควิด-19 จากระบบฐานข้อมูลวัคซีนกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ด้วยสถิติไคสแควร์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 58.6) อายุ 60 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 35.7) กลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่เสียชีวิต ส่วนใหญ่ไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ร้อยละ 77.3 ได้รับวัคซีน 1-2 เข็ม ร้อยละ 21.8 ได้รับวัคซีนครบ 3 เข็มร้อยละ 0.9 ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีแดงซึ่งมีอาการรุนแรง ไม่ได้รับวัคซีนร้อยละ 47.3 ได้รับวัคซีน 1-2 เข็มร้อยละ 50.9 ได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม ร้อยละ 1.8 ส่วนกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการไม่รุนแรง (กลุ่มสีเหลืองและสีเขียว) ไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ร้อยละ 22.7 และ 19.1 ได้รับวัคซีน 1-2 เข็ม ร้อยละ 60.0 และ 60.9 ได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม ร้อยละ 17.3 และ 20.0 ตามลำดับ ซึ่งการได้รับวัคซีนโควิด-19 และความรุนแรงของการเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และยังพบว่า กลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่เสียชีวิตและกลุ่มที่มีอาการรุนแรง (กลุ่มสีแดง) เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับวัคซีนไม่ครบ
ข้อเสนอแนะ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะวัคซีนเข็มกระตุ้น และควรส่งเสริมการได้รับวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (608) ร่วมกับการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้วัคซีนโควิด-19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มี.ค. 15]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/11/1628849610213.pdf
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19. รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 16 เมษายน 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 16]. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/informationcovid19/
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ข่าวเพื่อสื่อมวลชน : กรมการแพทย์ห่วงใยประชาชนเหตุตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 พุ่งสูงขึ้นแนะกลุ่มเสี่ยงหากพบเชื้อโควิด 19 รีบติดต่อสถานพยาบาลทันที [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 16]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dms.go.th/Content/Select_Content_Grid_PDF?contentCategoryId=21
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. สถานการณ์โควิด-19 จังหวัดชัยภูมิ 16 เมษายน 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 16]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/ssjchaiyaphum/
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. ผลการให้บริการฉีดวัคซีนCOVID-19 จังหวัดชัยภูมิ 5 เมษายน 2564 ถึง 16 เมษายน 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 16]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/ssjchaiyaphum/
นิคม ถนอมเสียง. การคำนวณขนาดตัวอย่าง Sample Size Determination [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 16]. เข้าถึงได้จาก https://home.kku.ac.th/nikom/516201_sample_size_nk2561.pdf
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข .ป่วยโควิดตอนนี้คุณอยู่ระดับไหน . [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 16]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sikarin.com/health/
สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์, กรรณิการ์ อินต๊ะวงศ์. ประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในจังหวัดเชียงใหม่. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ส.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://www.cmu.ac.th/th/article/b267fbf4-7f6c-4133-8950-eb623475667c
ชรินทร์ โหมดชัง. การฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่อการรักษาชีวิตของคนในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ส.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2022/07/25533
Haas EJ, Angulo FJ, McLaughlin JM, et al. Impact and effectiveness of mRNA BNT162b2 vaccine against SARS-CoV-2 infections and COVID-19 cases, hospitalisations, and deaths following a nationwide vaccination campaign in Israel: an observational study using national surveillance data [published correction appears in Lancet. 2021 Jul 17;398(10296):212]. Lancet. 2021;397(10287):1819-1829. doi:10.1016/S0140-6736(21)00947-8
Soiza RL, Scicluna C, Thomson EC. Efficacy and safety of COVID-19 vaccines in older people. Age Ageing. 2021;50(2):279-283. doi:10.1093/ageing/afaa274
ภาสกร ศรีทิพย์สุโข และคณะ.ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย: การศึกษาในสถานการณ์จริง (ปีที่ 1) . [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ส.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hsri.or.th/researcher/research/new-release/detail/13720
ยศ ตีระวัฒนานนท์ และคณะ. โครงการประเมินผลกระทบและความคุ้มค่าของวัคซีนโควิดที่พึงประสงค์เพื่อใช้ในการพัฒนาและคัดเลือกวัคซีนสำหรับใช้ในประเทศไทย . [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ส.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hsri.or.th/researcher/research/new-release/detail/13218
พีรวัฒน์ ตระกูลทวีสุข. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับวัคซีนโควิด-19 และข้อกังวลในบุคลากรทางการแพทย์ . [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ส.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/253883
ขนิษฐา ชื่นใจ, บุฏกา ปัณฑุรอัมพร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส (Covid-19)ของประชากรในกรุงเทพมหานคร . [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ส.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-9/6214154037.pdf
ไมลา อิสสระสงคราม. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคโควิด-19 กับการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ส.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/254683/173898
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9