ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการเรียนออนไลน์ในช่วงโควิด–19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ธนธรณ์ จูมจันทา สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ดรรชนีย์กร สุวรรณจันทร์ สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วัลยา รินทอน สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • มินตรา จันทะพร สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • จิราภรณ์ จำปาจันทร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ณีรนุช วรไธสง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

ความเครียด, การเรียนออนไลน์, โควิด–19, นักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์โควิด–19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ชั้นปีที่ 1-5 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 288 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์โดย Multiple ordinal logistic regression

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับสูงและรุนแรง ร้อยละ 71.9 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ความไม่เพียงพอของรายได้ (ORadj=1.88, 95%CI=1.15-3.09) อุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ไม่พร้อมใช้งาน(ORadj=2.36, 95%CI=1.21-4.59) สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนออนไลน์ระดับน้อย(ORadj=3.13, 95%CI=1.37-7.01) และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนออนไลน์ระดับปานกลาง (ORadj=2.27, 95%CI=1.18-4.34)

ข้อเสนอแนะจากผลงานวิจัยพบว่า ควรมีการคัดกรองความเครียดให้กับนักศึกษาและมีการติดตามช่วยเหลือนักศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัญหาอุปกรณ์ในการเรียน รายได้ไม่เพียงพอ และสิ่งแวดล้อมในการเรียนออนไลน์

Author Biographies

ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาจารย์

ธนธรณ์ จูมจันทา, สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

ดรรชนีย์กร สุวรรณจันทร์, สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

วัลยา รินทอน, สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

มินตรา จันทะพร, สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

จิราภรณ์ จำปาจันทร์, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ณีรนุช วรไธสง, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมประชาสัมพันธ์. สถานการณ์การของการแพร่ระบาดของโควิด-19. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มิ.ย. 2]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/informationcovid19

กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและวัตกรรม. มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัวโคโรนา 2019 ฉบับที่ 11. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มิ.ย. 2]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mhesi.go.th/images/Pusit2021/pdfs/CCF_000006.pdf

ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล. Active Play เครื่องมือสร้างการเรียนรู้สำหรับเด็กในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 8]. เข้าถึงได้จาก https://tpak.or.th/th/article/329

กรมสุขภาพจิต. คู่มือคลายเครียด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สยามเอ็มแอนด์บีพับลิซซิ่ง; 2546.

McLeroy KR, Bibeau D, Steckler A, Glanz K. An ecological perspective on health promotion programs. Health Educ Q. 1988;15(4):351-377. doi:10.1177/109019818801500401

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. สถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จังหวัดสกลนคร. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มิ.ย. 3]. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/profile.php?id=100005022251405

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มิ.ย. 4]. เข้าถึงได้จาก https://www.snru.ac.th/topics/5288

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. รายชื่อนักศึกษา ปีการศึกษา 2565. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มิ.ย. 8]. เข้าถึงได้จาก http://academic.snru.ac.th/

Lemeshow S, Hosmer DW, Klar J, Lwanga SK. Adequacy of Sample Size In Health Studies. Hoboken, NJ: Wiley; 1990.

กัลยารัตน์ มงคล และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์ของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

สุวัฒน์ มหิตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, พิมพ์มาศ ตาปัญญา. การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง.วารสารสวนปรุง. 2541;13(1):1-20.

นิศากร โพธิมาศ, สุนทรีภรณ์ มีพริ้ง, มาลินี อยู่ใจเย็น. ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการเรียนออนไลน์ ความยืดหยุ่นทางอารมณ์ และการเผชิญความเครียดของนิสิตพยาบาล ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2564;7(3):149-50.

ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ, เอกตระการ แข็งแรง, ชนานันท์ บุตรศรี, พิชญา ดุพงษ์, กิตติมา ลาภอนันต์บังเกิด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2563;15(3):105-18.

กาญจนา ลือมงคล. ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีการเรียนออนไลน์ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร. 2564;41(2): 11-20.

ชฎาภา ประเสริฐทรง, จรินวรรณ แสงหิรัญรัตนา, พรชนา กลัดแก้ว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์จากสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 2564;15(1):14-28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-18