กระบวนการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือระดับพื้นที่ ในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
คำสำคัญ:
ความร่วมมือระดับพื้นที่, การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการความร่วมมือระดับพื้นที่ในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการความร่วมมือดังกล่าว โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ซึ่งมีการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว จำนวน 20 คน ใน 4 ภูมิภาค และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากคณะกรรมการ พชอ. จำนวน 408 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า ความร่วมมือระดับพื้นที่ในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวดำเนินการผ่าน พชอ. ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ มีบทบาทสำคัญในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้วยการจัดบริการการดูแลระยะยาวครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพ สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ กระบวนการดำเนินการของ พชอ. ประกอบด้วยการคัดเลือกภาคีเครือข่ายเพื่อเข้าร่วมเป็นคณะความร่วมมือ การประชุมหารือวิเคราะห์สถานการณ์ เลือกประเด็นปัญหาที่ต้องการพัฒนา วางแผนการปฏิบัติการ แบ่งภารกิจ ปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุตามแผนที่วางไว้ และกำกับติดตาม เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์พบว่า ระเบียบ ภาวะการนำร่วม ประวัติในอดีต ทรัพยากร และแรงจูงใจ มีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับกระบวนการความร่วมมือในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.858–0.904, p-value<0.05) จึงควรมีการส่งเสริมปัจจัยเหล่านี้เพื่อทำให้เกิดกระบวนการความร่วมมือระดับพื้นที่อย่างยั่งยืน
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2565.
วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. พฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุสำหรับการดูแลผู้ป่วยสูงอายุขั้นต้น (Gerontology and Geriatric for Primary Care Practice). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย; 2561.
สำนักงานประสานการพัฒนานโยบายรองรับสังคมสูงวัย. แนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายรองรับสังคมสูงวัยระดับพื้นที่. นนทบุรี: สำนักงานประสานการพัฒนานโยบายรองรับสังคมสูงวัย; 2562.
อรจิตต์ บำรุงสกุลสวัสดิ์, กฤช ลี่ทองอิน, ทัศนีย์ เอกวานิช, วิมล บ้านพวน, สันติ ลาภเบญจกุล, วีระพงศ์ เจริญเกตุ, และคณะ. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2559.
Nyström ME, Karltun J, Keller C, Gäre BA. Collaborative and partnership research for improvement of health and social services: researcher’s experiences from 20 projects. Health Research Policy System. 2018;16(46):1-17. doi:10.1186/s12961-018-0322-0
สำนักบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลสำนักงาน พชอ. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ธันวาคม 12]. เข้าถึงได้จาก: https://thlpmap.moph.go.th
จำรัส ประสิว, วิสุทธิ์ สุกรินทร์. การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในจังหวัดสระบุรี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4. 2562;9(1):11-22.
Gyllstrom E, Gearin K, Nease D, Bekemeier B, Pratt R. Measuring Local Public Health and Primary Care Collaboration: A Practice-Based Research Approach. Journal of Public Health Management and Practice. 2019;25(4):382-89. doi:10.1097/phh.0000000000000809
ธิดารักษ์ ลือชา, ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. การจัดระบบดูแลผู้สูงอายุตามแนวคิดการปกครองแบบร่วมมือ : กรณีการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2564;9(2):274-94.
พิชญ์สินี เสรีโรจนกุล, ปิยากร หวังมหาพร. การพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 2565;7(4):277-97.
Ansell C, Gash A. Collaborative governance in Theory and Practice. Journal of Public Administration Research and Theory. 2007;28(1):16-32. doi:10.1093/jopart/mum032
Eun J. Public Accountability in collaborative governance: Lessons from Korean community Centers. The Korean journal of Policy Studies. 2010;25(1):143-73.
Rubio-Valera M, Jové AM, Hughes CM, Guillen-Solà M, Rovira M, Fernández A. Factors affecting collaboration between general practitioners and community pharmacists: a qualitative study. BMC Health Services Research. 2012;12(188):1-10. doi:10.1186/1472-6963-12-188
Poocharoen O, Ting B. Collaboration, Co-Production, Networks: Convergence of theories. Public management review. 2015;17(4):587-614. doi:10.1080/14719037.2013.866479
Magrab PR, Bronheim SM. Collective Leadership, Academic Collaborations and Health Disparities: A Framework for Success. Journal of Health Disparities Research and Practice. 2018;11(2):165-83.
Morley L, Cashell AC. Collaboration in Health Care. Journal of Medical Imaging and Radiation Sciences. 2017;48:207-16. doi:10.1016/j.jmir.2017.02.071
Valaitis R, Meagher-Stewart D, Martin-Misener R, Wong ST, MacDonald M, O’Mara L, et al. Organizational factors influencing successful primary care and public health collaboration. BMC Health Services Research. 2018;18:1-17. doi:10.1186/s12913-018-3194-7
Ansell C, Doberstein C, Henderson H, Siddiki S. Understanding inclusion in collaborative governance: a mixed methods approach. Policy and Society. 2020;39(4)570-91. doi:10.1080/14494035.2020.1785726
Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30(3):607-10. doi:10.1177/001316447003000308
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9