ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ของมารดาหลังคลอด ตำบลยางหวาย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ความรู้, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, มารดาหลังคลอด, ภูมิปัญญาท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยาย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของมารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือมารดาหลังคลอด ในพื้นที่ตำบลยางหวาย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 59 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดความรู้ และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและมีค่าความเชื่อมั่นด้านความรู้จากสูตร KR-20 เท่ากับ 0.74 และแบบสอบถามด้านพฤติกรรม ซึ่งมีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา t-test, ANOVA และ Pearson’s correlation
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับมาก (16-20 คะแนน) คิดเป็นร้อยละ 78 และพฤติกรรมการดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับมาก (=4.35, SD=0.42) โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุและระดับการศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพบว่าความรู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของมารดาหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.436
ข้อเสนอแนะ การส่งเสริมด้านความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของมารดาหลังคลอดที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันและเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของไทยให้คงอยู่ต่อไป
References
พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ, ชุติมา มาลัย, นิตติยา น้อยสีภูมิ, มนัสวี จำปาเทศ. การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารพยาบาลทหารบก. 2562;20(3):44-53.
จันทรมาศ เสาวรส. สืบสานภูมิปัญญาไทยสู่คนรุ่นใหม่: การบูรณาการภูมิปัญญาไทยในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2562;36(3): 251-7.
นันทศักดิ์ โชติชนะเดชาวงศ์, สมบูรณ์ ศิริสรรหรรษา. การเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากภูมิปัญญาไทยและทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม. วารสารการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก. 2560; 15:70-86.
World Health Organization. Postnatal care of the mother and newborn. Geneva; 2020.
ยุคคล จิตสำรวย. 99 สมุนไพรไทย : Thai Herb. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : นานาการพิมพ์, 2557.
วรรณวดี ณภัค. การดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของมารดาที่มารับบริการที่แผนกหลังคลอด โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมาและโรงพยาบาลในเครือข่ายบริการด้านอนามัยแม่และเด็ก. [รายงานการวิจัย]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2563.
Sibeko L, Johns T, Cordeiro LS. Traditional plant use during lactation and postpartum recovery: Infant development and maternal health roles. J Ethnopharmacol. 2021;279:114377. doi:10.1016/j.jep.2021.114377
Sibeko L, Johns T. Global survey of medicinal plants during lactation and postpartum recovery: Evolutionary perspectives and contemporary health implications. J Ethnopharmacol. 2021;270:113812. doi:10.1016/j.jep.2021.113812
Bazzano AN, Stolow JA, Duggal R, Oberhelman RA, Var C. Warming the postpartum body as a form of postnatal care: An ethnographic study of medical injections and traditional health practices in Cambodia. PLoS One. 2020;15(2):e0228529. Published 2020 Feb 6. doi:10.1371/journal.pone.0228529
องค์การบริหารส่วนตำบลยางหวาย. รายงานประจำปีองค์การบริหารส่วนตำบลยางหวาย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิ: องค์การบริหารส่วนตำบลยางหวาย; 2564.
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. รวมพลังแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้าน ณ วัดพนัญเชิง. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: Concepts of practice. 6th ed. St. Louis: Mosby; 2001.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางหวาย. สถิติมารดาหลังคลอด พ.ศ. 2565. ชัยภูมิ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางหวาย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ; 2565.
Dharwiyanto Putro B, Murniasih A. Study of Local Wisdom on the Role of Culture in Maternal and Child Health in Ruteng Subdistrict, Manggarai District, NTT Province. Udayana Journal Of Social Sciences And Humanities. 2019;3(1):46-51. doi:10.24843/UJoSSH.2019.v03.i01.p08
จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์, ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2065; 15(2): 240-53.
Bloom B. Mastery learning. New York: Holt, Rinehart & Winston; 1971.
Likert R. New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill; 1987.
ศิริวดี ชุ่มจิต. พฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาครรภ์แรกหลังคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. [รายงานการวิจัย]. ราชบุรี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุร; 2564.
พรทิพย์ พาโน, ยงยุทธ วัชรดุลย์ . ภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพสตรีหลังคลอดของชาวไทยทรงดำ ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 2062;39(5): 86-95.
Mediastari AAPA. Local wisdom traditional medicine for the health and beauty of postpartum mother in Denpasar City, Bali Province, Indonesia. International Journal of Health and Medical Sciences. 2020;3(1): 65-71. doi.org/10.31295/ijhms.v3n1.149
Wang Q, Fongkaew W, Petrini M, Kantaruksa K, Chaloumsuk N, Wang S. An Ethnographic study of traditional postpartum beliefs and practices among Chinese women. Pacific Rim Int J Nurs Res 2019; 23(2): 142-55.
Siregar M , Marasi S,A, Simbolon J,L, Panggabean H,W, Silalahi R,H. Traditional practices in post-partum care among Indonesian and Filipino mothers: a comparative study. Bionatura. 2021; 6:2257-64. 10.21931/RB/2021.06.04.19.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9