การดูแลสุขภาพช่องปากในงานปฐมภูมิของกลุ่มคนไข้หลอดเลือดสมอง (Stroke) ในเขตตำบลลำนารายณ์อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
การดูแลสุขภาพช่องปาก, งานปฐมภูมิ, คนไข้หลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาวะสุขภาพช่องปากของกลุ่มคนไข้หลอดเลือดสมอง ในเขตตำบลลำนารายณ์ ในเขตอำเภอชัยบาดาล 2) พัฒนารูปแบบการบริการทันตกรรมกับกลุ่มคนไข้หลอดเลือดสมอง ในเขตตำบลลำนารายณ์อย่างเป็นระบบ และ 3) เพื่อประเมินผลการดำเนินการให้บริการทันตกรรมในกลุ่มคนไข้หลอดเลือดสมอง ในเขตตำบลลำนารายณ์ กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มคนไข้หลอดเลือดสมองในเขตตำบลลำนารายณ์ ช่วงอายุ 41-80 ปี จำนวน 29 คน สังกัดศูนย์แพทย์ชุมชน เทศบาลตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มคนไข้หลอดเลือดสมอง ในเขตตำบลลำนารายณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมานใช้ Independent sample t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ p=0.01
ผลการศึกษา 1) จากการสำรวจกลุ่มคนไข้หลอดเลือดสมอง ช่วงอายุ 41-80 ปี ในเขตตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล พบว่า มีผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จำนวนมากที่สุด ร้อยละ 55.17 มีความสับสนในการสื่อสาร กลืนลำบาก ร้อยละ 44.82 และต้องช่วยแปรงฟันบ้าง ร้อยละ 34.48 2) ได้รับบริการทันตกรรมจากทันตแพทย์ประจำตัวผู้ป่วย โดยดำเนินการตามข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือ Oral Health Assessment Tool ร้อยละ 100 3) หลังการวางระบบการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง จำนวนผู้ป่วยที่ได้เข้ารับบริการทันตกรรม จำนวนเฉลี่ย 29 คน จากก่อนการวางระบบการเยี่ยมบ้าน จำนวนเฉลี่ย 9 คน เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
Virani SS, Alonso A, Benjamin EJ, et al. Heart Disease and Stroke Statistics-2020 Update: A Report From the American Heart Association. Circulation. 2020;141(9):e139-e596. doi:10.1161/CIR.0000000000000757
กระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายของผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบ/อุดตัน [ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.พ. 17]. เข้าถึงได้จาก: http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpilist/view/?id=1430
Prendergast V, Hinkle JL. Oral Care Assessment Tools and Interventions After Stroke. Stroke. 2018;49(4):e153-e156. doi:10.1161/STROKEAHA.117.017045
กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง:คู่มือสำหรับครอบครัวและผู้ดูแล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แก้วเจ้าจอม; 2559.
สิรินทร ฉันศิริกาญจน, ศิริพันธ์ สาสัตย์, สันติ ลาภเบจกุล, อัญญพร สุทัศน์วรวุฒิ, ศุภลักษณ์ เข็มทอง, สมคิด เพื่อนรัมย์. คู่มือการดูแลระยะยาว (Long Term Care) สำหรับทีมหมอครอบครัว. กรุงเทพฯ: ไซเบอร์พริ้นท์ กรุ๊ป; 2559.
นักศึกษาสาขาทันตกรรมผู้สูงอายุ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 1. การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย 24]. เข้าถึงได้จาก: https://dt.mahidol.ac.th/การดูแลผู้ป่วยติดเตียง/
สายพิณ เกษมกิจวัฒนา, ปิยะภรณ์ ไพรสนธิ์. ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง:กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม. วารสารสภาการพยาบาล. 2557; 29(4):22-31.
Chalmers JM, King PL, Spencer AJ, Wright FA, Carter KD. The oral health assessment tool--validity and reliability. Aust Dent J. 2005;50(3):191-199. doi:10.1111/j.1834-7819.2005.tb00360.x
กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานทันตสาธารณสุข ปี 2564. นนทบุรี: กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2564.
สายใจ จารุจิตร, ราตรี อร่ามศิลปะ, วรรณศิริ ประจันโน. รูปแบบการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงตามปัญหาและความต้องการของผู้ดูแล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2562; 30(1):54-68.
ชิสา ตัณฑะกูล, จันทร์พิมพ์ หินเทาว์, วรรธนะ พิธพรชัยกุล. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุติดบ้านหรือติดเตียงในชุมชนบ้านดอนแสลบ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2565;16(3):193-206.
ประภาพร คำหว่าง. การพัฒนารูปแบบการให้บริการทันตกรรมเชิงรุกแบบบูรณาการสหสาขาวิชาชีพในผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. น่าน: โรงพยาบาลเวียงสา; 2562.
อติญาณ์ ศรเกษตริน, จินตนา ทองเพชร, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, วารุณี เกตุอินทร์, จุรีรัตน์ กิจสมพร, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ. ถอดบทเรียนการดําเนินงานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ: แนวปฏิบัติที่ดีเพื่อมุงสู่ความเป็นเลิศดานบริการ. วารสารนานาชาติมหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2564;11(2):25-52.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9