การรู้เท่าทันสื่อเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันพระบรมราชชนก

ผู้แต่ง

  • กันยารัตน์ อุบลวรรณ, ปร.ด. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นัยนา ภูลม, ปร.ด. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ, วท.ม. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วิยะการ แสงหัวช้าง, พย.ม. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การรู้เท่าทันสื่อ, โควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรู้เท่าทันสื่อเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสถาบันพระบรมราชชนก ประชากรเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ทุกชั้นปี จากวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 1,045 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามออนไลน์ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับชั้นปี และเขตที่อยู่อาศัย และส่วนที่ 2 การรู้เท่าทันสื่อเกี่ยวกับโควิด-19 ตามกรอบแนวคิดของ UNESCO ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ การเข้าถึงสื่อ การวิเคราะห์สื่อ การประเมินค่าสื่อ และการสร้างสรรค์ เครื่องมือมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยการรู้เท่าทันสื่อเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) โดยรวม (Mean=3.6, SD=0.399) การเข้าถึงสื่อ (Mean=4.22, SD=0.713) การวิเคราะห์สื่อ (Mean=3.68, SD=0.463) และการประเมินค่าสื่อ (Mean=3.69, SD=0.458)อยู่ในระดับมาก ส่วนการสร้างสรรค์อยู่ในระดับปานกลาง (Mean=2.92, SD=0.970) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพต่อไป

Author Biographies

กันยารัตน์ อุบลวรรณ, ปร.ด., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

นัยนา ภูลม, ปร.ด., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ, วท.ม., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

วิยะการ แสงหัวช้าง, พย.ม., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

References

กองระบาดวิทยาและกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานผลการบททวน สถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคมป้องกันในระดับโลก และในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 15]; เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge/COVID19.65.pdf

World Health Organization. Statement on the second meeting of the International Health Regulations (2005) Emergency Committee regarding the outbreak of novel coronavirus (2019-nCoV) [Internet]. 2020 [cited 2020 Feb 2]. Available from: https://www.who.int/news/item/30-01-2020-statement-on-the-second-meeting-of-the-international-health-regulations-(2005)-emergency-committee-regarding-the-outbreak-of-novel-coronavirus-(2019-ncov)

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย.ข่าวปลอมเกี่ยวกับโควิด [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ก.พ. 12]; เข้าถึงได้จาก: https://www.antifakenewscenter.com/tag/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%9419/

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย. วงจรข้อมูลลวง COVID-19 : รู้เท่าทันสื่อ [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 มิ.ย. 30]. เข้าถึงได้จาก: https://www.youtube.com/watch?v=Xpn7Lf_cle8

พรทิพย์ เย็นจะบก. ถอดรหัส ลับความคิด เพื่อการรู้เท่าทันสื่อ: คู่มือการเรียนรู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2552.

UNESCO. Global Media and Information Literacy Assessment Framework: country readiness and competencies [Internet]. 2013 [cited 2020 Feb 5]. Available from: https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000224655

สถาบันพระบรมราชชนก. ประวัติความเป็นมา. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ก.พ. 21]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pi.ac.th/page/41

กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง. ใน: ประกาย จิโรจน์กุล. วิจัยทางการพยาบาล:แนวคิดและหลักการปฏิบัติ. นนทบุรี: โครงการตำราสถาบันพระบรมราชชนก; 2548. หน้า 90-5.

วราพร วันไชยธนวงค์, เกศราภรณ์ ชูพันธ์. การสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบของการใช้อินเทอร์เน็ตในนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2557; 7(3):124-32.

กิตติยา อาษากิจ. พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาของนักศึกษาพยาบาล. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2558; 5(2):33-44.

เสกสรร สายสีสด. พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและความตระหนักรู้ของนักเรียนนักศึกษาจังหวัดอุดรธานีในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2564; 11(1):13-25.

Ministry of Public Health [Internet]. The Coronavirus Disease 2019 Situation [updated 2020;cited 2020 May 12]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/eng/file/situation/situation-no130-120563.pdf

Zuriguel Pérez E, Lluch Canut MT, Falcó Pegueroles A, Puig Llobet M, Moreno Arroyo C, Roldán Merino J. Critical thinking in nursing: Scoping review of the literature. Int J Nurs Pract. 2015;21(6):820-830. doi:10.1111/ijn.12347

รุ่งนภา จันทรา, อติญาณ์ ศรเกษตริน. ทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้. 2560;4(1):180-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-15