ประสิทธิผลการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนด้วยวิธีการฝังเข็ม ณ อินทนิลคลินิก วิทยาลัยนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สมรัชนี ศรีฟ้า สาขาการแพทย์แผนจีน คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วิไรรัตน์ อนันตกลิ่น สาขาการแพทย์แผนจีน คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ปวรุตม์ ศรีเหรา สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน วิทยาลัยการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

ปวดศีรษะไมเกรน, ฝังเข็ม, ทุยหนา, การแพทย์แผนจีน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มโดยมีกลุ่มควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาประสิทธิผลของการฝังเข็มร่วมกับการนวดทุยหนา ต่ออาการปวดศีรษะไมเกรน กลุ่มตัวอย่างเป็นการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ป่วยปวดศีรษะไมเกรน ที่มารับบริการ ณ อินทนิลคลินิก วิทยาลัยนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2564 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ.2565 มีผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 40 ราย ถูกสุ่มแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่รักษาด้วยการฝังเข็มร่วมกับนวดทุยหนา 20 ราย (กลุ่มทดลอง) และกลุ่มที่รักษาด้วยการฝังเข็มเพียงอย่างเดียว 20 ราย (กลุ่มควบคุม) ผู้วิจัยการประเมินระดับความปวดศีรษะไมเกรน (VAS) ก่อนการรักษาและหลังการรักษาทันที ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลทั่วไปและข้อมูลด้านสุขภาพของทั้งสองกลุ่ม ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเปรียบเทียบระดับความปวด (VAS) ก่อนและหลังการรักษาทันทีของทั้งสองกลุ่ม พบว่า ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มที่รักษาด้วยการฝังเข็มร่วมกับการนวดทุยหนามีระดับความปวด (VAS) ลดลงกว่า กลุ่มที่รักษาด้วยการฝังเข็มอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปได้ว่า การรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนด้วยการฝังเข็มร่วมกับการนวดทุยหนาและการฝังเข็มอย่างเดียวสามารถลดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ แต่การฝังเข็มร่วมกับการนวดทุยหนาให้ประสิทธิผลการรักษาที่ดีกว่าการฝังเข็มอย่างเดียว

Author Biographies

สมรัชนี ศรีฟ้า, สาขาการแพทย์แผนจีน คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

อาจารย์

วิไรรัตน์ อนันตกลิ่น, สาขาการแพทย์แผนจีน คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

อาจารย์

ปวรุตม์ ศรีเหรา, สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน วิทยาลัยการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

อาจารย์

References

นิติรัตน์ มีกาย, ยงยุทธ วัชรดุลย์, ศุภลักษณ์ ฟักคำ, วุฒิชัย วิสุทธิพรต. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาสุมพระตำราหลวงกับยาคาเฟอร์กอต (Cafergot®) ต่อการรักษาโรคไมเกรนในกลุ่มวัยทำงาน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2564;31(3):1-14.

รัชฎาพร สุวรรณ, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม. ผลของการกดจุดบำบัดต่อคะแนนความปวดและองศาการเคลื่อนไหวคอในผู้ป่วยไมเกรน. วารสารและวิจัยนวัตกรรมสุขภาพ. 2564;4(2):65-76.

ปุณยภัสร์ ศิริธีราฐิติกุล, พัชรียา อัมพุธ. การรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2564;36(4):501-10.

Zhu WF, Zhuang ZD, Wu CY. Diagnostics of Traditional Chinese Medicine. Beijing: China Traditional Chinese Medicine Press; 2007.

Zhou ZY, Jin S, Li MF, Luo YJ, Yu XP, Guo WX. Internal of Traditional Chinese Medicine. Beijing: China Traditional Chinese Medicine Press; 2007.

สมชาย จิรพิินิจวิงศ์, ภาสกิจ วัณนาวิิบูล. พัฒนาการของศาสตร์การฝังเข็มในประเทศไทย. วารสารการแพทย์์แผนจีีนในประเทศไทย. 2565;1(2):174-89.

อนุชา ม่วงใหญ่, กัญญารัตน์ จันทุมา, ธนปพร พรมบุตร, ศิริวรรณ ยิ่งยืน. การส่งเสริมสุขภาพชุมชนตามแนวทางการฝังเข็มสู่แพทย์ทางเลือกอย่างยั่งยืน. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์. 2561;2(1):138-52.

Zhou WJ. Clinical value of Chinese acupuncture and moxibustion in the treatment of migraine patients. Chinese Journal of Modern Drug Application. 2022;12(2):211-3.

ศรัณย์ พงศ์ภาณุมาพร, ศุภะลักษณ์ ฟักคํา, ธัญญะ พรหมศร, สรรใจ แสงวิเชียร. ผลของการนวดไทยแบบราชสํานักและนวดแผนจีน (ทุยหนา) เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างและปัจจัยส่งเสริมการเข้ารับบริการที่คลินิกการแพทย์แผนไทย-จีน. วารสารหมอยาไทยวิจัย. 2565;8(1):33-46.

กัญธีิมา วุฒิ, ธีีรา อารีย์, ธีิติ นิลรุ่งรัตนา, ปภาวิรินทร์ อัศวิเดชเมธากุล, ชนาธีิป ศิริดํารงค์, ธนภรณ์ ธนศรีวินิชชัย และคณะ. การรักษาอาการกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลันจากกีฬายกน้ำหนักด้วยการนวดทุยหนา. วารสารการแพทย์์แผนจีีนในประเทศไทย. 2565;1(2):269-74.

ศิรสา เรืองฤทธิ์ชาญกุล, อรพิชญา ไกรฤทธิ์. การประเมินความเจ็บปวดเรื้อรังในผู้สูงอายุ. รามาธิบดีเวชสาร. 2561;41(3):92-9.

Shi XM, Wang LL, Liang MR, Wang H, Du YH. Acupuncture and Moxibustion. Beijing: China Traditional Chinese Medicine Press; 2007.

Fan BH, Han MF, Zhao Y, Gu YH, Wang DQ, Pang J. Chinese Massage. Beijing: China Traditional Chinese Medicine Press; 2008.

ปุณยภัสร์ ศิริธีราฐิติกุล, ปุณยวีร์ คำไทย. ผลฉับพลันของการฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้าต่ออาการปวดศีรษะในผู้ป่วยโรคไมเกรน. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2565;20(3):449-58.

Song SP, Tian WS. Observation on the clinical effect of acupuncture combined with massage on migraine. Health for Everyone. 2018; 473(12): 111.

Lai C, Yu YZ, Huang YX, Su JJ. Clinical effect and safety analysis of acupuncture combined with massage on migraine. New Mom and New Born. 2020; 22:7:9.

Wang C. Clinical effect and safety analysis of acupuncture combined with massage on migraine. Chinese Health Food. 2022;007:000.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-28