ผลการดูแลแบบทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกับการติดตามการรักษาทางโทรศัพท์ ในผู้ที่มีภาวะเบาหวานควบคุมไม่ได้

ผู้แต่ง

  • นันทิมา เนียมหอม, พ.บ. โรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ภาวะเบาหวานควบคุมไม่ได้, ทีมสหสาขาวิชาชีพ, การติดตามการรักษาทางโทรศัพท์

บทคัดย่อ

บทนำ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดูแลแบบทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกับการติดตามการรักษาทางโทรศัพท์ในผู้ที่มภาวะเบาหวานควบคุมไม่ได้

รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 122 ราย ผู้ป่วยทุกรายได้รับการดูแลรายบุคคลจากทีมสหวิชาชีพระหว่างเข้ารักษาตัวหอผู้ป่วยใน และการติดตามทางโทรศัพท์หลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เป็นการติดตามทางโทรศัพท์โดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ สื่อสารให้ความรู้ ประเมิน ติดตามผลการตรวจระดับน้ำตาล การแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ  ประเมินผลพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส.  ภาวะซึมเศร้า 9 คำถาม การรับประทานยา และผลลัพธ์ด้านคลินิก ได้รับการติดตามเป็นเวลา 3 และ 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา repeated ANOVA และ paired t -test

ผลการศึกษา: หลังสิ้นสุดการศึกษากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพและความสม่ำเสมอในการรับประทานยาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ภาวะซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 
(p-value<0.001) ดัชนีมวลกาย ไขมันแอลดีแอล ไขมันไตรกลีเซอไรด์และระดับความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) รวมทั้งพบว่าอัตราการกรองของไตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.003) แต่ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) ลงลงเล็กน้อย (MD -10.81±88.88, p-value=0.207)

สรุป: การศึกษานี้เป็นการดูแลผู้ป่วยเบาหวานอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีความสามารถในการดูแลตนเองและมีผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีขึ้น แต่ควรคำนึงถึงกลุ่มอายุของกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสูงอายุที่ควรมีผู้ดูแลติดตามเข้าร่วมกิจกรรมด้วยทุกครั้ง

Author Biography

นันทิมา เนียมหอม, พ.บ., โรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

นายแพทย์ชำนาญการ

References

อมรรัตน์ รักฉิม, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, วรนุช แสงเจริญ. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 การประชุมวิชาการระดับชาติวลัยลักษณ์วิจัย 2561;10(2):1-6.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.

Association AD. Glycemic Targets: Standards of Medical Care in Diabetes-2021. Diabetes Care. 2021;44(Suppl 1):73-84.

ณัฐภัสสร เดิมขุนทด, รัชนีวรรณ ขวัญเจริญ, ชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล, พิชญ์ พหลภาคย, สว่างจิต

สุรอมรกูล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2564;65(ฉบับเพิ่มเติม):76-89.

Oba N, Barry CD, Gordon SC, Chutipanyaporn N. Development of a Nurse-led Multidisciplinary Based Program to Improve Glycemic Control for People with Uncontrolled Diabetes Mellitus in a Community Hospital, Thailand. Pacific Rim International Journal of Nursing Research. 2020;24(3):349-62.

Tan E, Khoo J, Gani LU, Malakar RD, Tay TL, Tirukonda PS. Effect of multidisciplinary intensive targeted care in improving diabetes mellitus outcomes: A randomized controlled pilot study - The Integrated Diabetes Education, Awareness and Lifestyle modification in Singapore (IDEALS) Program. Trials. 2019;20(1):1-10.

ดวงธิดา หาคำ, นทพร ชัยพิชิต. การพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองสำหรับการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. Naresuan Phayao Journal. 2563;13(3):43-58.

Borries TM, Dunbar A, Bhukhen A, Rismany J, Kilham J, Feinn R, et al. The impact of telemedicine on patient self-management processes and clinical outcomes for patients with Types I or II Diabetes Mellitus in the United States: A scoping review. Diabetes & Metabolic Syndrome: Clinical Research & Reviews. 2019;13(2):1353-7.

Conway CM, Kelechi TJ. Digital health for medication adherence in adult diabetes or hypertension: an integrative review. JMIR diabetes. 2017;2(2):e8030.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement. 1970;30(3):607-10.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement. 1970;30(3):607-10.

อุทัย เจริญจิตต์. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ 2ส ของผู้ป่วยโรคเบาหวานศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2561;3(2):58-72.

กรมสุขภาพจิต. แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน(คลินิกโรคเรื้อรัง) ฉบับปรับปรุง. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.

ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, ศุภชัย จันทร์ทอง, เบญจมาศ พฤกษ์กานนท์, สุพัตรา สุขาว, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถาม ฉบับปรับปรุงภาษากลาง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2561;63(4):321-34.

ณัฐภัสสร เดิมขุนทด, รัชนีวรรณ ขวัญเจริญ, ชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล, พิชญ์ พหลภาคย์, สว่างจิต สุรอมรกูล. ผลของการติดตามสุขภาพทางไกล ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2564;65(Supplement November):76-87.

Whittemore R, Melkus GDE, Sullivan A, Grey M. A nurse-coaching intervention for women with type 2 diabetes. The Diabetes Educator. 2004;30(5):795-804.

Jameson JP, Baty PJ. Pharmacist collaborative management of poorly controlled diabetes mellitus: a randomized controlled trial. The American journal of managed care. 2010;16(4):250-5.

Walker EA, Shmukler C, Ullman R, Blanco E, Scollan-Koliopoulus M, Cohen HW. Results of a successful telephonic intervention to improve diabetes control in urban adults: a randomized trial. Diabetes care. 2011;34(1):2-7.

Bogner HR, Morales KH, de Vries HF, Cappola AR. Integrated management of type 2 diabetes mellitus and depression treatment to improve medication adherence: a randomized controlled trial. The Annals of Family Medicine. 2012;10(1):15-22.

วาสนา ชนะพลพัฒน์. ผลของการดูแลสุขภาพที่บ้านทางโทรศัพท์ต่อความรู้เรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง การควบคุมระดับนํ าตาลในเลือดและความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวาน. [ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2548.

สุนิดา สดากร. ผลของการให้คำแนะนาโดยเภสัชกรร่วมกับการติดตามการรักษาทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน. [ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

สุชีลา บุญจันทร์, ศุภวรรณ พงศ์พัฒนาวุฒิ. ผลของการให้ความรู้เรื่องการนับคาร์โบไฮเดรตร่วมกับการโทรศัพท์ติดตาม ต่อค่าระดับน้าตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารโภชนาการ. 2561;53(2):71-83.

ณัฐภัสสร เดิมขุนทด, รัชนีวรรณ ขวัญเจริญ, ชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล, พิชญ์ พหลภาคย, สว่างจิต สุรอมรกูล. ผลของการติดตามสุขภาพทางไกล ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2564;65(ฉบับเพิ่มเติม):76-89.

สุรีย์ กรองทอง, นงลักษณ์ สุรศร. การพัฒนาระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในเครือข่ายโรงพยาบาลสุรินทร์ วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2560;32(1):43-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-11