การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแล, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 โรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
รูปการการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 รวม 106 คน และทีมสหวิชาชีพ 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ Wilcoxon signed-rank test และ Interquartile range (IQR)
ผลการวิจัย: 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่าการประสานการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องยังไม่เป็นระบบที่ชัดเจน การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหามีน้อย ผู้ป่วยยังไม่ผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจในทักษะการดูแลตนเอง การเปลี่ยนแปลงระยะของไตส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น 2) ระยะพัฒนารูปแบบ โดยการประชุมทีมสหวิชาชีพปรับปรุงแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง พัฒนาศักยภาพบุคลากร และประชุมเชิงปฏิบัติการ ใช้รูปแบบกิจกรรมดูวิดีทัศน์เตรียมความพร้อมเข้าสู่การบำบัดทดแทนไต กิจกรรมกลุ่มให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไตโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ กิจกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม การติดตามผู้ป่วยขาดนัด ส่งต่อผู้ป่วยดูแลต่อเนื่องในชุมชน 3) ระยะทดลองใช้รูปแบบ นำรูปแบบไปใช้ในคลินิกโรคไตเรื้อรัง ประเมินผลก่อนและหลังพัฒนา 4) ระยะประเมินผล พบว่าผู้ป่วยมีอัตราการกรองของไตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบการรักษา (ก่อนพัฒนา Median 19.70 (IQR 15.10-29.85) ml/min/1.73 m2 หลังพัฒนา Median 21.75 (IQR 11.00-44.70) ml/min/1.73 m2, p<0.001) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลและภาวะสุขภาพระดับมากที่สุด
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีอัตราการกรองไตเพิ่มขึ้น
References
ธิการัตน์ อภิญญา. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดําเนินงานลดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: สํานักงานกิจการโรงพิมพ์องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.
กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) สาขาไต. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561.
Costantini L, Beanlands H, McCay E, Cattran D, Hladunewich M, Francis D. The self-management experience of people with mild to moderate chronic kidney disease. Nephrology Nursing Journal. 2008;35(2):147.
อนันท์ เรืองบุญ, พีรวิวิชญ์ พาดี, จารุวรรณ ประดิษฐพงษ์, เยาวลักษณ์ เรียงอิศราง, อำภา คนซื่อ. รูปแบบการส่งเสริมและฟื้นฟูสภาพอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28(2):123-259.
สุนิสา สีผม. การจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2556;6(1):12-8.
ศิริลักษณ์ ถุงทอง. การชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560;18(1):17-24.
Deming WE. W. Edwards Deming: Nigeria: Madonna University; 1991.
Kanfer FH, Gaelick-Buys L. Self-management methods. In: F. H. Kanfer & A. P. Goldstein, editor. Helping people change: A textbook of methods Pergamon Press; 1991.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement. 1970;30(3):607-10.
อัมพรพรรณ ธีรานุตร, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์, ปัทมา สุริต, วาสนา รวยสูงเนิน, ดลวิวัฒน์ แสนโสม. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เพื่อชะลอการล้างไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2560.
กัลปังหา โชสิวสกุล, นพวรรรณ เปียซื่อ. ผลของโปรแกรมการบูรณาการดูแลโดยทีมสหวิชาชีพร่วมกับการจัดการตนเอง ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีปัญหาซับซ้อน. วารสารสภาการพยาบาล 2560;32(4):79-93.
วันวิสาข์ สนใจ, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, นิสากร กรุงไกรเพชร. ผลของการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและสมรรถภาพไตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสียหน้าที่ระยะที่ 2. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2561;12(2):88-97.
วีนัส สาระจรัส, แอนนา สุมะโน. ผลของกระบวนการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเรื้อรัง โรงพยาบาลแหลมฉบัง ชลบุรี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2561;1(3):13-26.
ชวมัย ปินะเก, อมฤต สุวัฒนศิลป์, วรรณพร คงอุ่น, นิธิยา นามวงศ์, สุคนธ์ทิพย์ เรียงริลา. การพัฒนาโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2563;17(3):64-75.
สุวรรณา สุรวาทกุล, สุวคนธ์ เหล่าราช, ละออง เดิมทำรัมย์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 อำเภอนาดูน. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2563;4(7):129-42.
ปุญญิศา วัจฉละอนันท์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลโนนสูง. วารสารสุขภาพและสื่งแวดล้อมศึกษา. 2563;5(2):147-54.
สุภาพ สุทธิสันต์ชาญชัย. ประสิทธิผลของโปรแกรมชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ของคลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2564;40(2):255-67.
วัชรพงศ์ วีรกุล. ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังต่อการชะลอไตเสื่อม. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. 2565;5(2):133-44.
อนันท์ เรืองบุญ, พีรวิชญ์ พาดี, จารุวรรณ ประดิษฐพงษ์, เยาวลักษณ์ เรียงอิศราง, อำภา คนซื่อ. รูปแบบการส่งเสริมและฟื้นฟูสภาพอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28(2):122-9.
สุวคนธ์ เหล่าราช, ละออง เดิมทำรัมย์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2564;2(1):99-111.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9