การประเมินผลโครงการของสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง ตามประเด็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกรมอนามัย ปีงบประมาณ 2565

ผู้แต่ง

  • สมบูรณ์ ศรีภู่ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • โยธกา แก้วคำ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • จุฑามาศ วงคำจันทร์ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การประเมินผล, โครงการของสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง, ตัวแบบซิปป์, โมเดลเชิงตรรกะ, การประเมินแบบ 360 องศา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการและศึกษาความสัมพันธ์ของผลการประเมินด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ต่อด้านผลผลิต โดยประยุกต์ใช้ 3 แนวคิด คือ CIPP model, Logic model และการประเมิน 360 องศา เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประเมินผลโครงการ แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาต่อโครงการ แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ แบบรายงานตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการและแบบรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ/ผู้ร่วมดำเนินโครงการ 107 คน ผู้บังคับบัญชา 2 คน และผู้เข้าร่วมโครงการ 365 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินโครงการของสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมืองตามประเด็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกรมอนามัย ปีงบประมาณ 2565 ภาพรวมของผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมิน (gif.latex?\bar{X}=4.427, SD=0.610) เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านบริบท มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านปัจจัยนำเข้า ตามลำดับ 2) ผู้บังคับบัญชามีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 100 3) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 91.2 4) โครงการบรรลุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ จำนวน 11 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 73.33 5) โครงการที่มีผลเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้ตามค่าเป้าหมายของกรมอนามัย จำนวน 9 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 60 และ 6) ผลการประเมินด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ มีความสัมพันธ์กับด้านผลผลิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) ซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันและมีน้ำหนักความสัมพันธ์กันระดับสูงถึงสูงมาก มีค่า r อยู่ระหว่าง 0.797-0.838

Author Biographies

สมบูรณ์ ศรีภู่, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

โยธกา แก้วคำ, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

จุฑามาศ วงคำจันทร์, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

References

กองแผนงาน กรมอนามัย. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2563-2565) ฉบับปรับปรุง [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.ย. 19]. เข้าถึงได้จาก: https://planning.anamai.moph.go.th/th/doh-strategic-plan

กองแผนงาน กรมอนามัย. แผนปฏิบัติราชการกรมอนามัย ปีพ.ศ. 2565. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.ย. 19]. เข้าถึงได้จาก: https://planning.anamai.moph.go.th/th/government-action-plan

สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย.บันทึกที่ สธ 0905.02/1851 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2564 เรื่อง ส่งสำเนาปรับแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ระดับหน่วยงาน.[อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.ย. 19]. เข้าถึงได้จาก: https://mwi.anamai.moph.go.th/th/action-plan

วันเพ็ญ ศรีจิตร, ฐิฎา ไกรวัฒนพงศ์, โยธกา แก้วคำ, จุฑามาศ วงคำจันทร์. ผลการประเมินโครงการของสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง ตามประเด็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกรมอนามัย ปีงบประมาณ 2564. การประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 15; วันที่ 12-14 มิถุนายน 2565; ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่นแขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: กรมอนามัย; 2565.

Stufflebeam DL, Shinkfield AJ. Evaluation theory, models, & applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2007.

Aziz S, Mahmood M, Rehman Z. Implementation of CIPP Model for Quality Evaluation at School Level: A Case Study. Journal of Education and Educational Development (JED). 2018;5(1):189-206.

อังศินันท์ อินทรกำแหง, อรพินท์ ชูชม, วรสรณ์ เนตรทิพย์, พัชรี ดวงจันทร์.การบริหารจัดการและประเมินโครงการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของหน่วยงานในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 2552;15(1):28-38.

ชัชวาล เรืองประพันธ์. สถิติพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2539.

สุวิมล ติรกานันท์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.

กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์. ตำราในการวิจัยเชิงสำรวจในงานสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โนเบิ้ลพริ้นจำกัด; 2561.

สมถวิล วิจิตรวรรณา. สถิติความสัมพันธ์:เลือกใช้อย่างไร. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 2565;8(2):1-15.

สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์, นิชนันท์ สุวรรณกูฏ, ยมนา ชนะนิล, ภูษณิศา มีนาเขตร. การประเมินผลการดำเนินการของเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ กรณีอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2559;7(2):105-30.

เกษรินทร์ วิเชียรเจริญ, อารยา ประเสริฐชัย, ธีระวุช ธรรมกุล. การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดเพชรบุรี.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565;8(1):110-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30