ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะจิตสังคมของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีณรงค์ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ ในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

ผู้แต่ง

  • วุฒิชัย แป้นทอง, พ.บ., ส.ม. โรงพยาบาลศรีณรงค์ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์
  • รัตนา สายยศ, พย.บ. โรงพยาบาลศรีณรงค์ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

ภาวะจิตสังคม, ผู้สูงอายุ, สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะจิตสังคมของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมารับการรักษาจาก โรงพยาบาลศรีณรงค์ จำนวน 330 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม ดังนี้ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 3) แบบสอบถามการรับรู้ตามแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ 4) แบบสอบถามสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกัน 5) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกัน 6) แบบสอบถามผลกระทบของโรค และ 7) แบบประเมินภาวะจิตสังคมของผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อภาวะจิตสังคมของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีณรงค์ คือผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาต่อการมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของพลังสุขภาพจิตได้ร้อยละ 31 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งสร้างตัวแบบสมการถดถอยพหุคูณ โดยสร้างสมการในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Ŷ=0.54 (ผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาต่อการมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง) - 0.12 (ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา) - 0.14 (พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา)

Author Biographies

วุฒิชัย แป้นทอง, พ.บ., ส.ม., โรงพยาบาลศรีณรงค์ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

รัตนา สายยศ, พย.บ., โรงพยาบาลศรีณรงค์ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

References

Knodel J, Chayovan N. Population ageing and the well-being of older persons in Thailand: past trends, current situation, and future challenges. Bangkok: UNFPA Thailand and Asia and the Pacific Regional Office; 2008.

George LK. Still happy after all these years: research frontiers on subjective well-being in later life. J Gerontol B Psychol Sci Soc Sci. 2010 May;65B(3):331-9. doi: 10.1093/geronb/gbq006.

วิชัย โชควิวัฒน์. การปฏิรูประบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ. กรุงเทพฯ: สื่อตะวัน; 2560.

World Health Organization. Noncommunicable Diseases [serial online]. 2016 [cited 2022 Mar. 20]. Available from: http://www.who.int/topics/noncommunicable_diseases/en.

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). National Center for Health Statistics [serial online]. 2013 [cited 2022 Mar. 20]. Available from: https://www.cdc.gov/nchs/index.htm

World Health Organization. Preventing chronic diseases: a vital investment: WHO global report. Geneva: Department of Chronic Diseases and Health Promotion; 2005.

กองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราป่วยโดยโรค NCD [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มี.ค. 20]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents

นริสา วงศ์พนารักษ์, สายสมร เฉลยกิตติ. ภาวะซึมเศร้า: ปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15(3):24-31.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564) [ออนไลน์]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มี.ค. 20]. เข้าถึงได้จาก : https://dmh.go.th/ebook/view.asp?id=375

เทวินทร์ วารีศรี, ปวริศา วารีศรี. เอกสารการบรรยายชุดสุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ. นครราชสีมา; 2558.

วิไลวรรณ ทองเจริญ. ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

Schwartz NE. Nutritional knowledge, attitudes, and practices of high school graduates. J Am Diet Assoc. 1975 Jan;66(1):28-31. PMID: 1110296.

Rosenstock IM, Strecher VJ, Becker MH. Social learning theory and the Health Belief Model. Health Educ Q. 1988 Summer;15(2):175-83. doi: 10.1177/109019818801500203.

Bloom BS, Madaus GF, Hastings JT. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.; 1971.

Best JW. Research in education. 5th ed. New Jersey: Prentice Hall; 1986.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, พิมพ์มาศ ตาปัญญา. แบบวัดความเครียดสวนปรุง. [ออน ไลน์]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มี.ค. 20]. เข้าถึงได้จาก : http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1/20-21_11_61/C_4.pdf

กรมสุขภาพจิต. แบบประเมินพลังสุขภาพจิต. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2550.

เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ, ดลฤดี สุวรรณคีรี. การปรับตัวของผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร. พุทธปัญญาปริทรรศน์. 2565;7(3):100-14.

จิดาภา จุฑาภูวดล, พีร วงศ์อุปราช, อลิสรา วงศ์สุทธิเลิศ, Robin G. Morris, จักรพันธุ์ ศิริบริรักษ์.ข้อเสนอแนะระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตำบลแสนสุข ประสบการณ์จากการระบาดของโรคโควิด-19ทั่วโลก. บูรพาเวชสาร. 2565;9(1):89-103.

พระครูสังฆรักษ์ ทวี อภโย, กฤติยาพร คําไข, เจนนภา หาญโงน, ภาวิณี วงษ์กันหา. โควิด-19 กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2065;9(9):1-14.

ไมตรี ธนาวัฒนะ, อิทธิพล ดวงจินดา, วาสนา ธนาวัฒนะ. ผลกระทบจากวิกฤติโรคโควิด-19 ต่อความเครียดและการจัดการความเครียดของประชาชนกลุ่มวัยทำงาน อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2065;4(1),23-37.

รัญชนก พันธ์สุมา, พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรินครินทร์เวชสาร. 2564;36(5):597-604.

นงศ์ณพัชร์ มณีอินทร์, อิทธิพล ดวงการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2021;3(2),1-18.

ณัฎฐวรรณ คําแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2564;4(1):33-46.

มะลิสา งามศรี, หงส์ บรรเทิงสุข, ดรุณี ใจสว่าง, โชติกา สมสุวรรณ, อภิญญา เยาวบุตร. ความชุกของความเครียด ภาวะซึมเศร้า และความเข้มแข็งทางจิตใจของผู้สูงอายุในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19). วารสารศรีวนาลัยวิจัย. 2564;11(2):63-76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-12