การประเมินผลและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการคัดกรองภาวะสมองเสื่อม ผ่านแอปพลิเคชัน Dementia U-Care ในชุมชนบ้านหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
แอปพลิเคชัน, ภาวะสมองเสื่อม, การคัดกรองบทคัดย่อ
งานวิจัยภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมผ่านแอปพลิเคชันเพื่อนำไปใช้ในชุมชน มีอาสาสมัคร 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 80 คน และกลุ่มบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 5 คน โดยพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันจากแบบประเมิน Montreal Cognitive Assessment (MoCA) เพื่อประเมินอาสาสมัครในกลุ่มผู้สูงอายุ และนำไปถ่ายทอดวิธีการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมและวิธีการใช้งานผ่านแอปพลิเคชันสำหรับบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวดอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แท็บเล็ต แอปพลิเคชัน Dementia U-Care คู่มือการใช้งานแอปพลิเคชัน แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินความพึงพอใจ 2 ฉบับแยกตามกลุ่มวิจัย
ผลการใช้งานแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองภาวะสมองเสื่อม พบว่า อาสาสมัครใช้เวลาทดสอบเฉลี่ย 13.06 ± 2.172 นาที โดยมีภาพรวมความพึงพอใจในระดับดีเยี่ยม (9.54 ± 0.90) จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน นอกจากนี้ยังพบว่าความพึงพอใจในภาพรวมมีความสัมพันธ์แบบตรงข้ามกับทักษะการใช้เทคโนโลยี (r=-0.221; p=0.04) และเวลาที่ใช้ในการทดสอบ (r=-0.270; p=0.01) ส่วนในกลุ่มบุคลากรส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวดอนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด จากการประเมินด้วย Likert scale 5 ระดับ
สรุปผลการวิจัยได้ว่า ผลประเมินความพึงพอใจทั้งสองกลุ่มอยู่ในระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้ในอนาคตที่จะใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพิ่มขึ้น เพื่อลดภาระของบุคลากรการแพทย์ทางด้านและเพิ่มความสามารถในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมได้ทันท่วงที
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 Dash Board by Looker Studio. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มี.ค. 21]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1767
อรุณโรจน์ รุ่งเรือง, พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2566;17(1):272-87.
ไอรดา สายปัญญา. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมและภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุตำบลนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2565;30(3):376-86.
Bayer AJ. The role of biomarkers and imaging in the clinical diagnosis of dementia. Age Ageing. 2018 Sep 1;47(5):641-643. doi: 10.1093/ageing/afy004.
Petersen RC. Challenges of epidemiological studies of mild cognitive impairment. Alzheimer Dis Assoc Disord. 2004 Jan-Mar;18(1):1-2. doi: 10.1097/00002093-200401000-00001.
วีณา ลิ้มสกุล, บุรินทร์ เอี่ยมขา, ปุณยนุช คงเสน่ห์. การพัฒนาศักยภาพสมองของผู้ที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องในระยะต้น. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2561;32(3):1143-54.
Khanthong P, Sriyakul K, Dechakhamphu A, Krajarng A, Kamalashiran C, Tungsukruthai P. Traditional Thai exercise (Ruesi Dadton) for improving motor and cognitive functions in mild cognitive impairment: a randomized controlled trial. J Exerc Rehabil. 2021 Oct 26;17(5):331-338. doi: 10.12965/jer.2142542.271.
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. โครงการการประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ แบบทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย )MMSE-Thai) 2002 และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทย (Thai Mini-Mental State Examination; TMSE) ในการคัดกรองผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม. นนทบุรี: ซีจี ทูล; 2551.
Hemrungrojn S, Tangwongchai S, Charoenboon T, Panasawat M, Supasitthumrong T, Chaipresertsud P, Maleevach P, Likitjaroen Y, Phanthumchinda K, Maes M. Use of the Montreal Cognitive Assessment Thai Version to Discriminate Amnestic Mild Cognitive Impairment from Alzheimer's Disease and Healthy Controls: Machine Learning Results. Dement Geriatr Cogn Disord. 2021;50(2):183-194. doi: 10.1159/000517822. Epub 2021 Jul 29. Erratum in: Dement Geriatr Cogn Disord. 2021;50(3):304. PMID: 34325427.
ศุภมาศ อำพล, นิตยา เพ็ญศิรินภา, พรทิพย์ กีระพงษ์. การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการบริการตรวจวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมในงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;7(2):62-71.
สายชล บุญวิสุทธานนท์, ปัทมา สุพรรณกุล. Mobile Application กับการฝึกกระตุ้นการทำงานของสมองในภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อยก่อนวัยสูงอายุ. พุทธชินราชเวชสาร. 2562;36(1),77-85.
Charalambous AP, Pye A, Yeung WK, Leroi I, Neil M, Thodi C, Dawes P. Tools for App- and Web-Based Self-Testing of Cognitive Impairment: Systematic Search and Evaluation. J Med Internet Res. 2020 Jan 17;22(1):e14551. doi: 10.2196/14551.
Guner H, Acarturk C. The use and acceptance of ICT by senior citizens: a comparison of technology acceptance model (TAM) for elderly and young adults. Univers Access Inf Soc. 2020:311-330. Available from: https://hdl.handle.net/11511/30760
Zorluoglu G, Kamasak ME, Tavacioglu L, Ozanar PO. A mobile application for cognitive screening of dementia. Comput Methods Programs Biomed. 2015 Feb;118(2):252-62. doi: 10.1016/j.cmpb.2014.11.004.
Yousaf K, Mehmood Z, Saba T, Rehman A, Munshi AM, Alharbey R, Rashid M. Mobile-Health Applications for the Efficient Delivery of Health Care Facility to People with Dementia (PwD) and Support to Their Carers: A Survey. Biomed Res Int. 2019 Mar 27;2019:7151475. doi: 10.1155/2019/7151475.
Koo BM, Vizer LM. Mobile Technology for Cognitive Assessment of Older Adults: A Scoping Review. Innov Aging. 2019 Jan 1;3(1):igy038. doi: 10.1093/geroni/igy038.
Quintana M, Anderberg P, Sanmartin Berglund J, Frögren J, Cano N, Cellek S, Zhang J, Garolera M. Feasibility-Usability Study of a Tablet App Adapted Specifically for Persons with Cognitive Impairment-SMART4MD (Support Monitoring and Reminder Technology for Mild Dementia). Int J Environ Res Public Health. 2020 Sep 18;17(18):6816. doi: 10.3390/ijerph17186816.
Erickson KI, Hillman C, Stillman CM, Ballard RM, Bloodgood B, Conroy DE, Macko R, Marquez DX, Petruzzello SJ, Powell KE; FOR 2018 PHYSICAL ACTIVITY GUIDELINES ADVISORY COMMITTEE*. Physical Activity, Cognition, and Brain Outcomes: A Review of the 2018 Physical Activity Guidelines. Med Sci Sports Exerc. 2019 Jun;51(6):1242-1251. doi: 10.1249/MSS.0000000000001936.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9