การพัฒนารูปแบบการสร้างทักษะการเอาตัวรอดเมื่อต้องเผชิญภัยอันตราย และการเผชิญภาวะฉุกเฉินของครูพี่เลี้ยง สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง พื้นที่ตั้งจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, ทักษะการเอาตัวรอด, อันตรายและภาวะฉุกเฉิน, ครูพี่เลี้ยงเด็กบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบ ประเมินความรู้ และประเมินความพึงพอใจ การสร้างทักษะการเอาตัวรอดเมื่อต้องเผชิญภัยอันตรายและการเผชิญภาวะฉุกเฉิน ของครูพี่เลี้ยง สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง พื้นที่ตั้งจังหวัดนนทบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจและแบบสอบถามความรู้ของครูพี่เลี้ยง 35 คน ผู้ปกครองเด็ก 35 คน และผู้ใช้รูปแบบ 35 คน ซึ่งมีความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยมีค่าสัมประสิทธ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการศึกษาพบว่า ระยะที่ 1 ได้รูปแบบการพัฒนารูปแบบการสร้างทักษะการเอาตัวรอดเมื่อต้องเผชิญภัยอันตรายและการเผชิญภาวะฉุกเฉิน ส่วนระยะที่ 2 ก่อนการฝึกอบรมครูพี่เลี้ยงมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 46.32 แต่หลังการฝึกอบรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นเป็นร้อยละ 85.73 และความพึงพอใจของครูพี่เลี้ยงภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.39, SD=0.52) ส่วนผู้ปกครองมีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.64, SD=0.41) และผู้ใช้รูปแบบภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (=4.66, SD=0.44) ซึ่งโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.52, SD=0.48) ข้อเสนอแนะควรมีการอบรมรูปแบบการสร้างทักษะการเอาตัวรอดให้ครูพี่เลี้ยงเด็กปีละ 1 ครั้ง และนำแนวทางไปศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยหน่วยงานอื่น เพื่อปรับปรุงรูปแบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
นัทธี จิตสว่าง. ถอดบทเรียนจิตวิทยา กราดยิง ทางออก ป้องกันความรุนแรง [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/newsdmh/view.asp?id=30197
รัชดา คงขุนเทียน. หนี ซ่อน สู้ เอาชีวิตรอดปลอดภัยในเหตุกราดยิง [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ก.พ. 20]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ryt9.com/s/iq01/3344747
กาญจนา ศรีสวัสดิ์. รายงานการทบทวนสถานการณ์ ความรุนแรงจากการถูกทำร้าย 5 ปี (2558- 2562) [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ก.พ. 20]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1175720210909094610.pdf
เกศินี วุฒิวงศ์. แนวทางการเอาชีวิตรอดจากเหตุการณ์กราดยิงในพื้นที่สาธารณะ สำหรับพยาบาล. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 2563;26(2):116-27.
จิรฐา จรวงษ์. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครู เรื่อง กลยุทธ์การสอนทักษะการคิดสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.
พชรกมล กลั่นบุศย์. หลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรทักษะเอาตัวรอดได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน สำหรับนักเรียน หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ก.พ. 26]. เข้าถึงได้จาก: http://acad.vru.ac.th/about_acad/staff/fileup_Achievement/5.pdf
วิริณธิ์ กิตติพิชัย, อังศินันท อินทรกําแหง, จุฑามาศ แกวพิจิตร. การประเมินผลหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา (นบอ.) ตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารมหาวิทยาลัยใหม่. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 2553;16(1):56-70.
สุกัญญา พรน้อย, ณัฐกฤตา งามมีฤทธ, สมโภชน อเนกสุข. การพัฒนาตัวบ่งชี้ความปลอดภัยในโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 2553;10(3):733-43.
นภัสวรรณ พชรธนสาร, สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์. ความชุก ลักษณะ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของบุคลากรทางการแพทย์หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลภาครัฐในเขตบริการสุขภาพที่ 6. วารสารสมาคมเวช ศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2561 ;8(2):212-25.
สมบัติ นพรัก, สําราญ มีแจง, เทียมจันทร พานิชยผลินไชย, อมรรัตน วัฒนาธร, ชํานาญ ปาณาวงษ.รูปแบบการพัฒนาครูและผูบริหารสถานศึกษาแบบใชโรงเรียนเปนฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก: กรณีศึกษาของจังหวัดพิษณุโลก. วารสารศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2557;16(4):141-54.
เชาวรินทร์ แก้วพรม, จำเนียร พลหาญ, ชยากานต์ เรืองสุวรรณ. รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 2564 ;21(4):196-212.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9