ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำทิศทางองค์กรไปปฏิบัติงานของบุคลากร โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ภิญญาพัชญ์ เพียงแก้ว โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี
  • พรใจ เชียงสาพันธ์ โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี
  • พวงผกา อินทร์เอี่ยม สาขาการพยาบาลเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • คณิศร จันทร์พาณิชย์ สาขาการพยาบาลเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ทิศทางองค์กร, การนำทิศทางองค์กรไปปฏิบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำทิศทางองค์กรไปปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี จำนวน 264 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ทิศทางการดำเนินงานขององค์กร และแบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำทิศทางองค์กรไปปฏิบัติงาน ตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และนำไปทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยได้ค่า CVI=0.85 และ 0.86 ตามลำดับ หาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.97 และ 0.98  ตามลำดับ ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำทิศทางองค์กรไปปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี (p-value<0.05) ได้แก่ การรับรู้ทิศทางขององค์กร สามารถอธิบายการนำทิศทางองค์กรไปปฏิบัติได้ ร้อยละ 61.8 (R=0.789, R2=0.618) และอายุ สามารถอธิบายการนำทิศทางองค์กรไปปฏิบัติได้ ร้อยละ 62.6 (R=0.791, R2=0.626) ดังนั้น บุคลากรควรได้รับการส่งเสริมให้รับรู้ทิศทางขององค์กร และบุคลากรที่มีอายุมากควรมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการปฏิบัติงานขององค์กรได้

Author Biographies

ภิญญาพัชญ์ เพียงแก้ว, โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

พรใจ เชียงสาพันธ์, โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

พวงผกา อินทร์เอี่ยม, สาขาการพยาบาลเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

อาจารย์

คณิศร จันทร์พาณิชย์, สาขาการพยาบาลเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

อาจารย์

References

โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. ประวัติ [ออนไลน์]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://www.udch.go.th/index.php/aboutus/about

โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. โครงสร้างองค์กร [ออนไลน์]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 15]. เข้าถึงได้จาก: https://www.udch.go.th/index.php/aboutus/about

ทิฆัมพร วาสิทธิ์. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ [ออนไลน์]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/site/krutikamporn/home/bth-thi-7/7-1-karna-klyuthth-pi-ptibati

Burns KL. Perceived Organizational Support and Perceived Supervisor Support as Antecedents of Work Engagement. [Master’s Thesis]. San José, CA: San José State University; 2016.

Eisenberger R, Stinglhamber F, Vandenberghe C, Sucharski IL, Rhoades L. Perceived supervisor support: contributions to perceived organizational support and employee retention. J Appl Psychol. 2002 Jun;87(3):565-73. doi: 10.1037/0021-9010.87.3.565.

นฤมล ล้อมทอง. แนวทางการสร้างการรับรู้ของเยาวชนต่อยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร; 2561.

วรางคณา ผลประเสริฐ. หน่วยที่ 9 การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2549.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. การศึกษาการรับรู้ทิศทางองค์การของ บุคลากรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. สมุทรปราการ: ซัมธิง อโบฟ; 2562.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2558.

พัฒนา แสงมณีกรโคตร. หลักการของการบริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์ยุคใหม่. Journal of Modern Learning Development. 2018;3(2):1-15.

มาริสา อินทรเกิด, วิโรจน์ เจาฎาลักษณ์. การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 2559;8(2):129-44.

อัครเดช ไม้จันทร์. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต] สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-13