ผลของการใช้แอปพลิเคชันไลน์ “COVID Check” ต่อความรู้ เรื่องโรคติดเชื้อโควิด-19 ในนักเรียนจ่าอากาศ ปีการศึกษา 2565

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ เปาโรหิตย์ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ
  • ชญาพัฒน์ ทองปากน้ำ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ
  • อนุกูล บำรุงวงค์ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ
  • ประไพศรี ศุภางค์ภร วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ
  • เถกิงศักดิ์ จันมาทอง โรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองทัพอากาศ

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชันไลน์, โรคติดเชื้อโควิด-19, ความรู้, นักเรียนจ่าอากาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แอปพลิเคชันไลน์ “COVID Check” ต่อความรู้ เรื่องโรคติดเชื้อโควิด-19 ของนักเรียนจ่าอากาศ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 60 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง (n=30) ได้รับความรู้จากแอปพลิเคชันไลน์ “COVID Check” ครั้งละ 20 นาที วันละครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุม (n=30) ได้รับข้อมูลความรู้จากข่าวสารประจำวันจากการประกาศตามปกติครั้งละ 20 นาทีต่อวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย คือ แอปพลิเคชันไลน์ “COVID Check” ในการให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อโควิด-19 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความรู้เรื่องโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านการตรวจสอบดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content validity index) มีค่า 0.98 มีค่าความเชื่อมั่น 0.82 ดำเนินการทดลองในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t ชนิดเป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) และสถิติทดสอบ t ชนิดไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent t-test)

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคติดเชื้อโควิด-19 หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\bar{X}=24.77, SD=0.57, =18.97, SD=3.15, t=6.26, p-value<0.05) และกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\bar{X}=24.77, SD=0.57, =19.13, SD=1.07, t=3.07, p-value<0.05) แสดงว่าการใช้แอปพลิเคชันไลน์ “COVID Check” มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของความรู้เรื่องโรคติดเชื้อโควิด-19 ในนักเรียนจ่าอากาศ  

Author Biographies

วัชราภรณ์ เปาโรหิตย์, วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ

อาจารย์

ชญาพัฒน์ ทองปากน้ำ, วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ

อาจารย์

อนุกูล บำรุงวงค์, วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ

อาจารย์

ประไพศรี ศุภางค์ภร, วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ

อาจารย์

เถกิงศักดิ์ จันมาทอง, โรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองทัพอากาศ

พยาบาลวิชาชีพ

References

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

Kamps BS, Hoffman C. COVID Reference. Hamburg: Infektionsmedizinisches Centrum; 2021.

World Health Organization. WHO Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard [Internet]. 2020 [cited 2022 July 3]. Available from: https://covid13.who.int/

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2565 ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565. (2565, 20 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139.

ธีรพร สิริวันต์. การศึกษาพฤติกรรมการใช้ไลน์ แอปพลิเคชั่น (Line application) เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารการปฏิบัติงานในองค์กร [สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

กฤษณี เสือใหญ่. พฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ ความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์ของคนในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2558.

บุษบา ทาธง, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์, บุษกร แก้วเขียว. ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ต่อผลลัพธ์การเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ในรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2562;11(1):155-68.

สุจิตรา ภรณ์ทับครอง, เพ็ญรุ่ง นวลแจ่ม, นิตยา วิโรจนะ, พาจนา ดวงจันทร์. ผลของการใช้สื่อสุขภาพรูปแบบ แอปพลิเคชั่นไลน์ต่อความรู้และความเข้าใจโรคเบาหวานของบุคลากรในสถานศึกษา. Journal of Nursing, Siam University. 2561;19(36):78-87.

Miner MA, Mallow J, Theeke L, Barnes E. Using Gagne's 9 events of instruction to enhance student performance and course evaluations in undergraduate nursing course. Nurse educator. 2015;40(3):152-4.

ชนิดาภา ขอสุข, สุภาพักตร์ หาญกล้า, วรนุช ไชยวาน. ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้วิธีการแข่งขันทีมเกมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาความรู้รวบยอดทางการพยาบาลมารดาและทารกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4. สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สำนักงานสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2562:216-25

Fisher JD, Fisher WA, Bryan AD, Misovich SJ. Information-motivation-behavioral skills model-based HIV risk behavior change intervention for inner-city high school youth. Health Psychology. 2002;21(2):177-186.

เพ็ญจันทร์ มีแก้ว, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, นิสากร กรุงไกรเพชร. การติดตามประเมินสมรรถนะและการปฏิบัติบทบาทการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสาร คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพา. 2558;26(3):12-22.

กิติยาพร สังฆศรีสมบัติ, ชรินทร์พร มะชะรา, มนัสนันท์ พรมศรี, นิรันดร ผานิจ. การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชัน ไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคานท์ สำหรับมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2022;16(2):623-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08