การพัฒนาพลังสุขภาพจิตของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
พลังสุขภาพจิต, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, โรคโควิด 19, พื้นที่รับผิดชอบบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิต และประเมินผลการพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ ดำเนินการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2566 – เดือนพฤษภาคม 2566 แบ่ง 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การประเมินพลังสุขภาพจิตและวิเคราะห์ข้อมูล ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตโดยประยุกต์ใช้แนวคิดของ Groberg และกรมสุขภาพจิต และระยะที่ 3 การประเมินผล กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ที่มีพลังสุขภาพจิตต่ำกว่าเกณฑ์ 13 คน ใช้แบบประเมินพลังสุขภาพจิต แบบประเมินความเครียด แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของกรมสุขภาพจิต และใบกิจกรรม 4 สัปดาห์ของการสนทนากลุ่ม โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนพลังสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนและหลังการพัฒนาโปรแกรม มีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนามากกว่าก่อนการพัฒนา โดยภาพรวม ก่อนการพัฒนามีค่าคะแนนเฉลี่ย 52.0 และหลังการพัฒนามีค่าคะแนนเฉลี่ย 76.7 จากคะแนนเต็ม 80 คะแนน หลังการพัฒนาโปรแกรมค่าคะแนนอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 92.3 ในส่วนของความเครียด พบว่า เครียดน้อย ร้อยละ 92.31 และไม่พบภาวะซึมเศร้า ผลการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เมื่อเครียด โกรธ เสียใจ ผิดหวัง ดีใจ จัดการอารมณ์ด้วยการร้องเพลง ฟังเพลง ร้อยละ 61.5 เมื่อประสบปัญหาปรึกษาสามี ร้อยละ 69.2 การทำบัญชีครัวเรือนรายรับมากกว่ารายจ่าย ร้อยละ 76.9 ดังนั้นโปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตที่ได้ จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมพลังสุขภาพจิตในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. พลังสุขภาพจิต [อินเทอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 5]. เข้าถึงได้จาก: http://doh.hpc.go.th.
Groberg E. A Guide to Promoting Resilience in Children: Strengthening the human spirit. Netherland: The Bernard van Leer Foundation; 1995.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดีพลังสุขภาพจิต. นนทบุรี: สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
โสฬวรรณ อินทสิทธิ์, สิริกุล จุลคีรี. เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี RQ พลังสุขภาพจิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2563
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม. ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554:11
อ้อมใจ แต้เจริญวิริยะกุล, ปรินทร จำปาทอง, ชนัญญู มงคล, เนตรชนก ศิริเลิศรุ่งเรือง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา. 2562;20(2):82-91.
กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลแคนดง. แบบประเมินตนเอง Part II-9. กรุงเทพฯ: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล; 2565
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ [อินเทอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2565 ธ.ค. 27]. เข้าถึงได้จาก: http://odpc5.ddc.moph.go.th
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความเครียด (ST-5) [อินเทอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2565 ธ.ค. 27]. เข้าถึงได้จาก: http://env.anamai.moph.go.th.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า [อินเทอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2565 ธ.ค. 27]. เข้าถึงได้จาก: http://dmh.go.th.
กนกภรณ์ ทองคุ้ม, นริศรา พึ่งโพธิ์สภ, นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์. รูปแบบการสร้างเสริมพลังสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้าโดยบูรณาการทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565;31(5):838-50.
กชกร ฉายากุล. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตในนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2561;24(2):96-107.
ฐิติรัตน์ ดิลกคุณานนท์, วิภา แซ่เซี้ย, ประณีต ส่งวัฒนา. ความเครียดจากการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม และพลังสุขภาพจิตของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนใต้. วารสารสภาการพยาบาล. 2561;33(2):70-82.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9