ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจ หอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ, การสอดท่อช่วยหายใจซ้ำ, วันนอนในโรงพยาบาล, โปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ที่พัฒนาขึ้น เป็นการวิจัยแบบ Intervention research รูปแบบ Historical control design เก็บข้อมูลแบบ Retrospective data collection ในผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจล้มเหลวที่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ และสามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ระหว่างปี 2565-2566 เก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปทางคลินิกของผู้ป่วย เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ วัดผลลัพธ์หลัก คือการสอดท่อช่วยหายใจซ้ำ เปรียบเทียบทั้ง 2 กลุ่มด้วย Risk difference regression
ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้โปรแกรมหย่าเครื่องช่วยหายใจ 146 ราย เป็นกลุ่มที่ใช้โปรแกรม Weaning แบบเดิม 61 ราย กลุ่มที่ใช้โปรแกรม Weaning แบบใหม่ 85 ราย มีอายุเฉลี่ย 59.29 (±14.58) ปี และ 62.54 (±16.82) ปี SOS score แรกรับเฉลี่ย 5.25 (±1.21) และ 4.56 (±1.61) ตามลำดับ ระยะเวลาของการสอดท่อช่วยหายใจ ระยะเวลาหย่าเครื่องช่วยหายใจ และวันนอนโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤตภายในทั้งสองกลุ่มไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การสอดท่อช่วยหายใจซ้ำในกลุ่มที่ใช้โปรแกรม Weaning แบบเดิม 8 ราย (13.11%) กลุ่มที่ใช้โปรแกรม Weaning แบบใหม่ 2 ราย(2.35%) เมื่อปรับอิทธิพลของตัวแปรกวน และ Weight ด้วยคะแนนความโน้มเอียง (Propensity score) แล้ว พบว่าโปรแกรม Weaning แบบใหม่สามารถลดการสอดท่อช่วยหายใจซ้ำได้ 20% (95% CI, 0.05-0.82) (p=0.025) ผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมหย่าเครื่องช่วยหายใจแบบใหม่สามารถใช้เป็นแนวปฏิบัติในการดูแลและร่วมวางแผนการหย่าเครื่องช่วยหายใจกับแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อส่งเสริมการหย่าเครื่องช่วยหายใจอย่างมีประสิทธิภาพได้
References
ยุพา วงศ์รสไตร, อรสา พันธ์ภักดี, สุปรีดา มั่นคง. แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2551;14(3):347-65.
Peñuelas O, Keough E, López-Rodríguez L, Carriedo D, Gonçalves G, Barreiro E, Lorente JÁ. Ventilator-induced diaphragm dysfunction: translational mechanisms lead to therapeutical alternatives in the critically ill. Intensive Care Med Exp. 2019 Jul 25;7(Suppl 1):48. doi: 10.1186/s40635-019-0259-9.
Jeyakumar P, Puri VK. Weaning from mechanical ventilation in adult respiratory distress syndrome. Indian J Anaesth. 2003;47(1):33-6.
Henneman EA. Liberating patients from mechanical ventilation: a team approach. Crit Care Nurse. 2001 Jun;21(3):25, 27-33.
อรอุมา ชัยวัฒน์. KEEP MOVING FORWARD/Extubation. วารสารสมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่ง ประเทศไทย. 2565;24:245-53.
Trudzinski FC, Neetz B, Bornitz F, Müller M, Weis A, Kronsteiner D, et al. Risk Factors for Prolonged Mechanical Ventilation and Weaning Failure: A Systematic Review. Respiration. 2022;101(10):959-969. doi: 10.1159/000525604.
Crocker C. The patient requiring complex weaning from mechanical ventilation. In Bench S, Brown K (eds.). Critical care nursing: Learning from practice. New Delhi: John Wiley & Sons; 2011.
Hirzallah FM, Alkaissi A, do Céu Barbieri-Figueiredo M. A systematic review of nurse-led weaning protocol for mechanically ventilated adult patients. Nurs Crit Care. 2019 Mar;24(2):89-96. doi: 10.1111/nicc.12404.
Lu S. Nurse-Led Mechanical Ventilation Weaning and Spontaneous Breathing Trial Protocols: A Literature Review [Online]. 2021 [cited 2023 Aug 15]. Available from: https://cdr.lib.unc.edu/concern/honors_theses/rn301975g
Ghanbari A, Mohammad Ebrahimzadeh A, Paryad E, Atrkar Roshan Z, Kazem Mohammadi M, Mokhtari Lakeh N. Comparison between a nurse-led weaning protocol and a weaning protocol based on physician's clinical judgment in ICU patients. Heart Lung. 2020 May-Jun;49(3):296-300. doi: 10.1016/j.hrtlng.2020.01.003.
Danckers M, Grosu H, Jean R, Cruz RB, Fidellaga A, Han Q, et al. Nurse-driven, protocol-directed weaning from mechanical ventilation improves clinical outcomes and is well accepted by intensive care unit physicians. J Crit Care. 2013 Aug;28(4):433-41. doi: 10.1016/j.jcrc.2012.10.012.
Oliveira SMR, Novais RMF, Carvalho AAS. Impact of a ventilatory weaning protocol in an intensive care unit for adults. Texto Contexto Enferm. 2019;28:e20180287.
Girard TD, Alhazzani W, Kress JP, Ouellette DR, Schmidt GA, Truwit JD, et al. An Official American Thoracic Society/American College of Chest Physicians Clinical Practice Guideline: Liberation from Mechanical Ventilation in Critically Ill Adults. Rehabilitation Protocols, Ventilator Liberation Protocols, and Cuff Leak Tests. Am J Respir Crit Care Med. 2017 Jan 1;195(1):120-133. doi: 10.1164/rccm.201610-2075ST.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9