การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ “โบ๊ะโดงแตร็ยแนง” บนฐานทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากร บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
อาหารเพื่อสุขภาพ, โบ๊ะโดง, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน, การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน, วัฒนธรรมเขมรบทคัดย่อ
การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยประชาชนพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและยกระดับต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ โบ๊ะโดงแตร็ยแนง 2) ประเมินการยอมรับในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ โบ๊ะโดงแตร็ยแนง และ 3) วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพโบ๊ะโดงแตร็ยแนง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมร มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพรูปแบบน้ำพริกที่ใช้วัตถุดิบภายในชุนชนท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ โบ๊ะโดงแตร็ยแนง (ตำมะพร้าว/น้ำพริกมะพร้าว) ที่ปรับปรุงสูตรตามความต้องการชุมชน การทดสอบการยอมรับผลิตภัณฑ์ด้านรูปลักษณ์ สีสัน กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการยอมรับผลิตภัณฑ์โบ๊ะโดงแตร็ยแนง อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 86.7 ค่าเฉลี่ยการยอมรับผลิตภัณฑ์ในทุกคุณลักษณะที่ทดสอบอยู่ในระดับสูง โดยคุณลักษณะที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ กลิ่น (=8.27) คุณลักษณะที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ สีสัน (=7.63) ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ พบว่า โบ๊ะโดงแตร็ยแนง มีพลังงาน 4,529.80 แคลอรีต่อกรัม โดยมีส่วนประกอบของโปรตีน ไขมัน ใยอาหาร และเถ้า ปริมาณ 34.55, 26.44, 9.50 และ 11.20 กรัมต่อน้ำหนักอาหาร 100 กรัม ตามลำดับ ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมสนับสนุนการยกระดับคุณภาพโบ๊ะโดงแตร็ยแนงให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และผลักดันให้เป็นสินค้าเด่นระดับอำเภอและระดับจังหวัดต่อไป
References
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. อาหารพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์ 3 กลุ่มชาติพันธุ์. สุรินทร์: พีดีไซน์สุรินทร์; 2561.
สัมฤทธิ์ สุภามา, สมโชค คุณสนอง (บรรณาธิการ). วัฒนธรรมอาหารไทย: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556.
ทวีศักดิ์ แสวงสาย, ฤดีมาศ แสวงสาย. ภูมิปัญญาอาหารชาติพันธุ์เพื่อสุขภาพของชาวไทยเขมร ไทยกูยและไทยลาวในเขตอีสานใต้. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 2559;11(ฉบับพิเศษ):84-91.
อรวรรณ ปลอดภัย, ชาญเดช หมวดภักดี, ธีรนันท์ เขตต์รัตน์, จุฑารัตน์ มัคราช, อนุวัฒน์ คำสีสุข. การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อการแปรรูปผลผลิตและเพิ่มมูลค่าน้ำพริกนรกปลาดุก ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน. 2564;2(2):39-50.
รวีโรจน์ อนันตธนาชัย, ทิพย์วิมล กิตติวราพล, ชนินทร์ กุลเศรษฐัญชลี, นาฏลดา อ่อนวิมล, อรรถ ขันสี, กาญจนศักดิ์ จารุปาณ และคณะ. การพัฒนาสำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพ บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงและบริบทชุมชน. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2553;3(1):59-74.
วรารัตน์ สานนท์, กมลพร สวนทอง, นิลุบล คงเปรม. การศึกษาอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนจากอัตลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวเรียนรู้อาหารเชิงสุขภาพของภูมิภาคตะวันตก. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2563;5(2):179-95.
วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง, กอแก้ว จันทร์กิ่งทอง, นุษณา ณ พายัพ. ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดุกปักษ์ใต้จากเศษปลาดุกเหลือใช้ของชุมชนบ้านโงกน้ำ จังหวัดพัทลุง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14; 2566 พ.ค. 19; มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา; 2566.
สิริมา ชินสาร, กฤษณะ ชินสาร. การสกัดและใช้ประโยชน์เส้นใยอาหารและเซลลูโลสจากกากมะพร้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและการสร้างตัวแบบเพื่อการพยากรณ์การถ่ายเทมวลสารระหว่างการทอด [รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9