การพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยการตรวจค้นหาไวรัส HPV ด้วยวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเอง ของสตรีกลุ่มเสี่ยง ในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี
คำสำคัญ:
โปรแกรมการให้ความรู้, เจตคติ, ความตั้งใจรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, การตรวจค้นหาไวรัส HPV ด้วยวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเอง, ไวรัส HPVบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้เพื่อรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการตรวจค้นหาไวรัส HPV ด้วยวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเองของสตรีกลุ่มเสี่ยง การดำเนินงานแบ่งออกเป็น ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การให้บริการในสตรีที่มีรายงานผลการตรวจว่าการเก็บไม่สมบูรณ์ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน และสนทนากลุ่มกับพยาบาลวิชาชีพผู้ที่มีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำ จำนวน 10 คน ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้ ระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมการให้ความรู้ และใช้แบบวัดความรู้ เจตคติ และความตั้งใจในการมารับบริการฯ มีการพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้ตามทฤษฎีการรับรู้และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของเบคเกอร์ เก็บข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม 2566 ถึง เมษายน 2566 กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีกลุ่มเสี่ยง อายุ 30-60 ปี จำนวน 368 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า โปรแกรมการให้ความรู้การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการตรวจค้นหาไวรัส HPV วยวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเอง ด้านรายละเอียดโปรแกรมภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.61) ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก มีความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 47.83 ด้านเจตคติอยู่ในระดับมาก (=4.19) และด้านความตั้งใจอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 64.13 ผลการตรวจที่รายงานว่าการเก็บไม่สมบูรณ์ก่อนใช้โปรแกรม ร้อยละ 23.26 หลังจากใช้โปรแกรมฯเหลือ ร้อยละ 0.0382
References
World Health Organization. Switzerland: Cervical cancer [Internet]. 2020 [cited 2023 Oct 5]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cervical-cancer.
Rojanamatin J, Ukranun W, Supaattagorn P, Chaiwiriyabunya I, Wongsena M, Chaiwerawattana A, et al. Cancer in Thailand Volume X 2016 - 2018 [internet]. Bangkok: National cancer institute ministry of public health; 2021 [cited 2023 Oct 5]. Available from: https://www.nci.go.th/e_book/cit_x/index.html
จรัสศรี อินทรสมหวัง, กาญจนา ศรีสวัสด์. สมรรถนะของพยาบาลในการดูแลสตรีมะเร็งปากมดลูก. วารสารเกษมบัณฑิต. 2562;20(1):146-54.
กีรติยา พิทยะปรีชากุล, กวีวัชร์ ตันติเศรณี, ปิยะพงษ์ ศรีสวัสดิ์, เบญจมาส มั่นอยู่. ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกและการเปรียบเทียบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดย 2 วิธี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย. 2565;4(2):87-94.
ชุรีรัตน์ สาระรัตน์. รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการของขวัญปีใหม่ โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. อุดรธานี: เอกสารอัดสำเนา; 2565.
Auvinen E, Nieminen P, Pellinen J, Dillner J, Tarkkanen J, Virtanen A. Human papillomavirus self-sampling with mRNA testing benefits routine screening. Int J Cancer. 2022 Dec 1;151(11):1989-1996. doi: 10.1002/ijc.34170.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2560.
Kuder GF, Richardson MW. The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika [Internet]. 1937; 2(3):151-60. doi:10.1007/BF02288391.
วันเพ็ญ บุญรอด. การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนให้สตรีมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน: กรณีศึกษาตำบลบางหัก อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารราชนครินทร์. 2558;12(1):153-160.
ศศิประภา จําปาหวาย. การพัฒนาระบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลแห่งหนึ่งของอําเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2557; 32(2):190-6.
Rezaei MB, Seydi S, Alizadeh SM. Effects of 2 educational methods on the knowledge, attitude, and practice of women high school teachers in prevention of cervical cancer. Cancer Nurs. 2004 Sep-Oct;27(5):364-9. doi: 10.1097/00002820-200409000-00005.
อุไรวรรณ์ สัมมุตถี, สมเดช พินิจสุนทร. ความตั้งใจไปรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน. 2558;3(4):529-46.
Greimel ER, Gappmayer-Löcker E, Girardi FL, Huber HP. Increasing women's knowledge and satisfaction with cervical cancer screening. J Psychosom Obstet Gynaecol. 1997 Dec;18(4):273-9. doi: 10.3109/01674829709080699.
ศิริลักษณ์ วรไวย์, เรือน สมณะ, ธีรยุทธ อุดมพร. การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี ตําบลกุดใส้จ่อ อําเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2558; 8(2):173-81.
สุรียา สะมะแอ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, เบญฑิรา รัชตพันธนากร. ผลของโปรแกรมการสอนแบบสร้างแรงจูงใจต่อการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกกรณีศึกษา: ตําบลกาวะ อําเภอสุไหงปาดีจังหวัดนราธิวาส. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559;3(1):31-45.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9