การจัดการความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย: การวิจัยเชิงคุณภาพ
คำสำคัญ:
การจัดการความเจ็บปวด, โรคมะเร็งระยะท้าย, ผู้ป่วยมะเร็งบทคัดย่อ
ความเจ็บปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมาน การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ ศึกษาการจัดการความเจ็บปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต และการสัมภาษณ์เชิงลึก ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยการตรวจสอบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการวินิจฉัยระยะท้าย จำนวน 12 ราย อายุระหว่าง 54-78 ปี ผลการวิจัยพบว่า การจัดการความเจ็บปวด มี 4 วิธี คือ การใช้ยา ได้แก่ มอร์ฟีนน้ำ มอร์ฟีนเม็ด การนวดบรรเทาอาการ น้ำมันกัญชา และอยู่นิ่งๆ ไม่ทำอะไร ผู้ให้ข้อมูลประสบปัญหา 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านร่างกาย คือ มีปัญหาเรื่องอาการปวด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ถ่ายลำบาก ด้านจิตใจ คือ หดหู่ กลัวตาย หงุดหงิด-อารมณ์ไม่ดี และน้อยเนื้อต่ำใจ ด้านเศรษฐกิจ และความต้องการ 2 ประเด็น คือช่วยเหลือเรื่องอุปกรณ์ เช่น อุปกรณ์รองรับอุจจาระ ได้แก่ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ กระโถนสำหรับถ่ายข้างเตียง เตียงปรับระดับได้ และรถรับส่งไปโรงพยาบาล ปัจจัยเงื่อนไขที่สนับสนุนการจัดการความเจ็บปวด คือนโยบายด้านการดูแลผู้ป่วยมะเร็งด้านการให้ยา การดูแลที่บ้าน และการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลแบบประคับประคอง จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะในการให้บริการสุขภาพควรมีส่วนร่วมของครอบครัว ผู้ดูแล และส่งเสริมการเข้าถึงผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวด และแนวทางการบรรเทาการเจ็บปวดที่ถูกต้องสำหรับครอบครัว และการช่วยเหลือเรื่องอุปกรณ์ เช่น ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ กระโถน เตียงปรับระดับได้ เป็นต้น
References
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2564 กลุ่มงานดิจิทัลการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรุงเทพฯ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th/e_book/hosbased_2564/index.html
พุทธพร แก้วมีศรี, ลัดดาวัลย์ เส็งกันไพร. การแพร่กระจายของมะเร็ง และเป้าหมายสำหรับการรักษา. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2562;34(2):211-6.
กรมการแพทย์. คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย สำหรับบุคลากรทางการแพทย์. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2563.
ปริพนธ์ พิชยพาณิชย์, ชวลิต ชยางศุ. ปวดจากมะเร็ง สำหรับนักศึกษาแพทย์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป และบุคคลที่สนใจ. วารสารแพทย์โรงพยาบาลสีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2564;36(2):475-84.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. การปรับหลักเกณฑ์การจัดสรรงบกองทุนการให้ยามอร์ฟีนสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายปีงบประมาณ 2554 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2553 [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/storage/files/shares/PDF/fund_other12.pdf
นิตยา ทรัพย์วงศ์เจริญ, ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล. บทบาทพยาบาลในการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2563;21(1):26-34.
สำนักการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ต.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://cache-igetweb-v2.mt108.info/uploads/images-cache/429/filemanager/ba0d99e7bad6f51659b7020c3b1f2bf3.pdf
ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2559.
ภาวดี วิมลพันธุ์, พรทิวา คำวรรณ, นลินี แข็งสาริกิจ, กัตติกา พิงกะสั่น. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้ป่วยมะเร็ง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2555; 5(3):2-15.
โรส ภักดีโต. บทบาทพยาบาลในการจัดการความปวด กรณีศึกษาผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็ง. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2563;12(2):464-70.
แวฮาลีเม๊าะ หะยีเจ๊ะเต๊ะ. ประสิทธิผลของน้ำมันกัญชาสูตรหมอเดชาต่อการนอนหลับในผู้ป่วยที่รับบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์โรงพยาบาลโคกโพธิ์. วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข. 2563;2(1):1-16.
ผจงศิริ อุดมสินกุล. พุทธบูรณาการการกำหนดรู้เวทนาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยโรคมะเร็ง. วารสารบัณฑิตปริทรรศน์. 2562;15(3):154-66.
ฉัตรกมล เจริญวิภาดา. กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ต่อเนื่องจากสถานพยาบาลไปยังบ้านและชุมชนในบริบทของศูนย์การดูแลแบบประคับประคอง หน่วยงานให้คำปรึกษา กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลคลองท่อม. กระบี่เวชสาร. 2561;1(1):11-21.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9