ผลการฝึกการทรงตัวแบบดั้งเดิมและการฝึกการทรงตัว โดยใช้ Visual Biofeedback ต่อความสามารถด้านการทรงตัว ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมอง, การฝึกทรงตัว, Visual biofeedbackบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง รูปแบบการศึกษาคือ Single blinded randomized control trial การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกการทรงตัวแบบดั้งเดิมและการฝึกการทรงตัวโดยใช้ Visual biofeedback ต่อความสามารถด้านการทรงตัวในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ศึกษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 28 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 14 คน และกลุ่มทดลอง 14 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมการฝึกการทรงตัวแบบดั้งเดิม และกลุ่มทดลองได้รับการให้โปรแกรมการฝึกการทรงตัวแบบดั้งเดิมร่วมกับการใช้ Visual Biofeedback ครั้งละ 45 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยมีตัวแปรในการศึกษาคือ แบบประเมินการทรงตัว Berg Balance Scale ความเร็วในการเดิน 10 Meter walk และแบบประเมินความสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Barthel index) ประเมินเปรียบเทียบคะแนนที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการทดลอง ผลของการศึกษาพบว่าการฝึกการทรงตัวร่วมกับการใช้ Visual biofeedback ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าประเมินการทรงตัว Berg Balance Scale และความสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่เพิ่มขึ้นแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยคะแนนความต่าง 7.28 (95%CI 0.16-14.41) และ 2 (95%CI 0.59-3.41) ตามลำดับ แต่มีค่าความเร็วในการเดิน (10MWT) ไม่แตกต่างกัน จึงสรุปได้ว่าการฝึกการทรงตัวโดยใช้ Visual biofeedback เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ทำให้ผู้ป่วยมีการทรงตัวที่ดีขึ้น มากกว่าการทำกายภาพบำบัดแบบดั้งเดิมเพียงอย่างเดียว
References
เทพฤทธิ์ บัวภา, พิชิต โนนตูม, ภานุพงศ์ ภู่ตระกูล, ดวงแก้ว ปัญญาภู, มณฑกา ธีรชัยสกุล, กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์. ตัวแปรและแบบประเมินที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2564;5(10):76-86.
Tyson SF, Hanley M, Chillala J, Selley A, Tallis RC. Balance disability after stroke. Phys Ther. 2006 Jan;86(1):30-8. doi: 10.1093/ptj/86.1.30. Erratum in: Phys Ther. 2006 Mar;86(3):463.
กิ่งแก้ว ปาจรีย์. บรรณาธิการ. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพ: งานตำราวารสารวิชาการและสิ่งพิมพ์ สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทย์ศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2547.
วุฒิชัย เพิ่มศิริวาณิชย์, ดารณี สุวพันธ์. บรรณาธิการ. Update on Poststroke Management ก้าวทันการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2551.
Sihvonen SE, Sipilä S, Era PA. Changes in postural balance in frail elderly women during a 4-week visual feedback training: a randomized controlled trial. Gerontology. 2004 Mar-Apr;50(2):87-95. doi: 10.1159/000075559.
Eastman C, Marzillier JS. Theoretical and methodological difficulties in Bandura’s self-efficacy theory. Cogn Ther Res. 1984;8(3):213-29.
Yang DJ, Uhm YH. Effects of Biofeedback Postural Control Training on Weight distribution rate and Functional Ability in Stroke. Int J Contents. 2013;9(4):67-71.
Newstead AH, Hinman MR, Tomberlin JA. Reliability of the Berg Balance Scale and balance master limits of stability tests for individuals with brain injury. J Neurol Phys Ther. 2005 Mar;29(1):18-23. doi: 10.1097/01.npt.0000282258.74325.cf.
Maeda N, Kato J, Shimada T. Predicting the probability for fall incidence in stroke patients using the Berg Balance Scale. J Int Med Res. 2009 May-Jun;37(3):697-704. doi: 10.1177/147323000903700313.
Jonsdottir J, Cattaneo D. Reliability and validity of the dynamic gait index in persons with chronic stroke. Arch Phys Med Rehabil. 2007 Nov;88(11):1410-5. doi: 10.1016/j.apmr.2007.08.109.
Flansbjer UB, Holmbäck AM, Downham D, Patten C, Lexell J. Reliability of gait performance tests in men and women with hemiparesis after stroke. J Rehabil Med. 2005 Mar;37(2):75-82. doi: 10.1080/16501970410017215.
Sulter G, Steen C, De Keyser J. Use of the Barthel index and modified Rankin scale in acute stroke trials. Stroke. 1999 Aug;30(8):1538-41. doi: 10.1161/01.str.30.8.1538.
Loewen SC, Anderson BA. Reliability of the Modified Motor Assessment Scale and the Barthel Index. Phys Ther. 1988 Jul;68(7):1077-81. doi: 10.1093/ptj/68.7.1077.
Murphy TH, Corbett D. Plasticity during stroke recovery: from synapse to behaviour. Nat Rev Neurosci. 2009 Dec;10(12):861-72. doi: 10.1038/nrn2735.
Srivastava A, Taly AB, Gupta A, Kumar S, Murali T. Post-stroke balance training: role of force platform with visual feedback technique. J Neurol Sci. 2009 Dec 15;287(1-2):89-93. doi: 10.1016/j.jns.2009.08.051.
Noh HJ, Lee SH, Bang DH. Three-Dimensional Balance Training Using Visual Feedback on Balance and Walking Ability in Subacute Stroke Patients: A Single-Blinded Randomized Controlled Pilot Trial. J Stroke Cerebrovasc Dis. 2019 Apr;28(4):994-1000. doi: 10.1016/j.jstrokecerebrovasdis.2018.12.016.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9