ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของผู้ปกครอง เกี่ยวกับการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก
คำสำคัญ:
การล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก, ผู้ปกครอง, การป้องกันบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก
ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาวิจัยรูปแบบ Descriptive cross sectional study เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก ในกลุ่มผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กอายุ 3-6 ปี ที่มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จำนวน 119 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคสแควร์
ผลการศึกษา: ผู้ปกครองส่วนมากมีความรู้อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 79.8 ทัศนคติอยู่ในระดับดีร้อยละ 45.4 และการปฏิบัติอยู่ในระดับดีร้อยละ 67.2 เมื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่เกี่ยวข้องพบว่าระดับความรู้ของผู้ปกครองสัมพันธ์กับระดับการศึกษา (p<0.01) อาชีพ (p<0.01) และความสัมพันธ์ของผู้ปกครองกับเด็ก (p<0.01) ส่วนระดับทัศนคติของผู้ปกครองสัมพันธ์กับเพศของผู้ปกครอง (p<0.01) ช่วงอายุ (p<0.01) ระดับการศึกษา (p <0.01) อาชีพ (p<0.01) ความสัมพันธ์ของผู้ปกครองกับเด็ก (p<0.01) และเพศของเด็ก (p=0.02) และระดับการปฏิบัติของผู้ปกครองสัมพันธ์กับสถานภาพของผู้ปกครอง (p=0.03)
บทสรุป: ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีทัศนคติ และการปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก แต่ระดับความรู้ยังอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นการพัฒนารูปแบบกิจกรรมโดยเน้นการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเรื่องการสอนบุตรหลานเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศจึงมีความสำคัญโดยมีเป้าหมายสูงสุดในการป้องกันเด็กจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
References
WHO. Global status report on preventing violence against children 2020 [Internet]. 2020 [cited 2022 Sep 18]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240004191
Pereda N, Guilera G, Forns M, Gómez-Benito J. The prevalence of child sexual abuse in community and student samples: a meta-analysis. Clin Psychol Rev. 2009 Jun;29(4):328-38. doi: 10.1016/j.cpr.2009.02.007.
Snyder HN. Sexual assault of young children as reported to law enforcement: Victim, incident, and offender characteristics. A NIBRS statistical report [Internet]. 2000 [cited 2022 Sep 18]. Available from: http://files.eric.ed.gov/fulltext/ED446834.pdf
ศูนย์ช่วยเหลือสังคม. สถิติประจำปี ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 [อินเตอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ: 2565 ก.ย. 24]. เข้าถึงได้จาก: https://1300thailand.m-society.go.th/statyearly?page=2
Johnson CF. Child sexual abuse. Lancet. 2004 Jul 31-Aug 6;364(9432):462-70. doi: 10.1016/S0140-6736(04)16771-8.
Finkelhor D. Early and long-term effects of child sexual abuse: An update. Prof Psychol Res Pr. 1990;21(5):325-30.
Felitti VJ, Anda RF, Nordenberg D, Williamson DF, Spitz AM, Edwards V, Koss MP, Marks JS. Relationship of childhood abuse and household dysfunction to many of the leading causes of death in adults. The Adverse Childhood Experiences (ACE) Study. Am J Prev Med. 1998 May;14(4):245-58. doi: 10.1016/s0749-3797(98)00017-8.
Wurtele SK, Owens JS. Teaching personal safety skills to young children: an investigation of age and gender across five studies. Child Abuse Negl. 1997 Aug;21(8):805-14. doi: 10.1016/s0145-2134(97)00040-9.
Zhang W, Chen J, Feng Y, Li J, Zhao X, Luo X. Young children's knowledge and skills related to sexual abuse prevention: a pilot study in Beijing, China. Child Abuse Negl. 2013 Sep;37(9):623-30. doi: 10.1016/j.chiabu.2013.04.018.
Wurtele SK, Kast LC, Melzer AM. Sexual abuse prevention education for young children: a comparison of teachers and parents as instructors. Child Abuse Negl. 1992 Nov-Dec;16(6):865-76. doi: 10.1016/0145-2134(92)90088-9.
Scoglio AAJ, Kraus SW, Saczynski J, Jooma S, Molnar BE. Systematic review of risk and protective factors for revictimization after child sexual abuse. Trauma Violence Abuse. 2021;22(1):41-53.
พิมพิศา ศักดิ์สองเมือง, ชุติวรรณ ปุรินทราภิบาล, ปุญญาภา รุ่งปิตะรังสี, ฉัตรวารี แท่นสุวรรณ. ผลของกิจกรรมส่งเสริมการสื่อสารเรื่องเพศเชิงบวกต่อการรับรู้ความสามารถ ในการสื่อสารในครอบครัวของผู้ปกครองกับบุตรหลานวัยรุ่น. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง 2559;3(2):31-40.
ปัฐมาพร กลับทับลังค์, รุจา ภู่ไพบูลย์, ชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล. ปัจจัยทำนายการสื่อสารเรื่องเพศระหว่างผู้ปกครองและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ทหาวิทยาลัย 2559;28(2):108-21.
Marcello Pagano KG. Principles of biostatistics, 2nd ed. New York: Chapman and Hall/CRC; 2018.
Prikhidko A, Kenny MC. Examination of parents’ attitudes toward and efforts to discuss child sexual abuse prevention with their children. Child Youth Serv Rev. 2021;121(105810):105810.
Mlekwa FM, Nyamhanga T, Chalya PL, Urassa D. Knowledge, attitudes and practices of parents on child sexual abuse and its prevention in Shinyanga district, Tanzania. Tanzan J Health Res. 2016;18(4):1-9.
มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล. รายงานสถานการณ์ความรุนแรงในครัวครัว ปี 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2567 ม.ค. 7]. เข้าถึงได้จาก: https://www.wmp.or.th/blog/6544/รายงานสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว-ปี-2564-16-ปี-พรบคุ้มครองผู้ถูกกระทำฯ
อัมมาร สยามวาลา, นิพนธ์ พัวพงศกร, อมรเทพ จาวะลากร, และคณะ. ชีวิตคนไทยในสองทศวรรษของการพัฒนา: นัยยะต่อนโยบายสาธารณะเพื่ออนาคตที่ดีของครัวเรือนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.
Babatsikos G. Parents’ knowledge, attitudes and practices about preventing child sexual abuse: a literature review. Child Abuse Rev. 2010;19(2):107-29.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9