การทดสอบประสิทธิภาพของแบบประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ “CHULA Home Modification Checklist for Older Person” และหาค่าคะแนนจุดตัดในการระบุบ้านที่เสี่ยงและควรได้รับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
บ้านผู้สูงอายุ, บ้านที่เสี่ยงต่อการหกล้ม, เครื่องมือคัดกรองบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพแบบประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ “CHULA Home Modification Checklist for Older Person” และหาค่าคะแนนจุดตัดและระบุบ้านที่เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
วิธีดำเนินการวิจัย งานวิจัยนี้เป็นแบบตัดขวาง ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและเข้ารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสระบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566 จำนวน 84 คน เก็บข้อมูลทั่วไป สุขภาพ ประวัติการพลัดตกหกล้มย้อนหลังหกเดือน และประเมินบ้านด้วยแบบประเมิน “CHULA Home Modification Checklist for Older Person” นำคะแนนเฉลี่ยของแบบประเมินมาหาความสัมพันธ์กับประวัติการพลัดตกหกล้มย้อนหลังหกเดือนด้วยวิธีหาพื้นที่ใต้กราฟของ ROC curveเพื่อทดสอบประสิทธิภาพและหาค่าจุดตัดที่เหมาะสมจากค่าความไว (Sensitivity) และค่าความจำเพาะ (Specificity)
ผลการวิจัย จำนวนผู้สูงอายุ 84 ราย พบว่ามีความชุกของการพลัดตกหกล้มย้อนหลังหกเดือน จำนวน 28 ราย คิดเป็นร้อยละ 33 และมีค่า Area under ROC curve คือ 0.5255 (95%CI 0.55-0.78) และค่าจุดตัดคะแนนเฉลี่ย 0.95 มีค่าความไวและค่าความจำเพาะ ร้อยละ 85 และ 19 ตามลำดับ
สรุปผล แบบประเมินนี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการคัดกรองบ้านที่เสี่ยงและควรได้รับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ โดยมีค่าจุดตัดคะแนนเฉลี่ยที่ 0.95
References
Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute (TGRI).Situation of the Thai Older Persons 2021.Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited; 2022.
กองป้องกันการบาดเจ็บ สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค ห่วงผู้สูงอายุพลัดตกหกล้มในช่วงฤดูฝน แนะสวมใส่รองเท้าที่พื้นมีดอกยาง และประเมินความเสี่ยงการหกล้มอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ส.ค. 18] เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/odpc7/news.php?news=26077&deptcode=odpc7
World Health Organization. Step safely: Strategies for preventing and managing falls across the life-course [Internet]. 2021 [cited 2022 May 16]; 2021(1):19-38. Available form: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/340962/9789240021914-eng.pdf?sequence=1
ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล. การปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ส.ค. 19] เข้าถึงได้จาก: https://pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=2638
สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ.กรุงเทพฯ: สินทวีการพิมพ์; 2562.
Gillespie LD, Robertson MC, Gillespie WJ, Sherrington C, Gates S, Clemson LM, Lamb SE. Interventions for preventing falls in older people living in the community. Cochrane Database Syst Rev. 2012 Sep 12;2012(9):CD007146. doi: 10.1002/14651858.CD007146.pub3.
ไตรรัตน์ จารุทัศน์, เวณิกา ธูปพลทัพ. CHULA Home modification Checklist for older person แบบประเมินที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 5] เข้าถึงได้จาก: https://mobile.facebook.com/361193317807223/posts/1146491669277380/?refsrc=deprecated&_rdr
อัศนัย เล่งอี้, พันธพัฒน์ บุญมา. สภาพแวดล้อมในบ้านของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม:กรณีศึกษา ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย. 2563; 19(3):43-60.
นฤมล สุดใจ. การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัย. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์ สุขภาพ. 2563;27(2):167-82.
พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ. การสำรวจและประเมินสภาพที่อยู่อาศัยเพื่อความผาสุก ปลอดภัยของผู้สูงอายุในครัวเรือน กรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ. 2558;2(2):1-14.
คณะกรรมการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: ณจันตา ครีเอชั่น; 2564
จิราพร เกศพิชญวัฒนา, ภัทรพร คงบุญ. รายงานการวิจัย โครงการศึกษานโยบายและการดําเนินงานการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2563 กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและการพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) [เข้าถึงเมื่อ 2565 ส.ค. 19] เข้าถึงได้จาก: https://thaitgri.org/?p=39585
Kojima G, Masud T, Kendrick D, Morris R, Gawler S, Treml J, Iliffe S. Does the timed up and go test predict future falls among British community-dwelling older people? Prospective cohort study nested within a randomised controlled trial. BMC Geriatr. 2015 Apr 3;15:38. doi: 10.1186/s12877-015-0039-7.
Hofheinz M, Mibs M. The Prognostic Validity of the Timed Up and Go Test With a Dual Task for Predicting the Risk of Falls in the Elderly. Gerontol Geriatr Med. 2016 Mar 16;2:2333721416637798. doi: 10.1177/2333721416637798.
กองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.คู่มือการดำเนินโครงการการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัยประจำปีงบประมาน พ.ศ. 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ต.ค. 18] เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1640744296-1032_0.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9