ความสัมพันธ์ของยากล่มุ fluoroquinolones กับการเกิดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองหรือฉีกขาด

ผู้แต่ง

  • พิชญ์ภา พยุงพันธ์ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กนกกร เกิดผล ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด, โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง, aortic aneurysms, aortic dissection, fluoroquinolones

บทคัดย่อ

ยากลุ่ม fluoroquinolones เป็นยาต้านจุลชีพที่มีบทบาทมากในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวก และชนิดแกรมลบ ยากลุ่มนี้ดูดซึมได้ดี มีการกระจายสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ได้ดี และมีระยะครึ่งชีวิตค่อนข้างนาน ในปี ค.ศ. 2018 องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเตือนเกี่ยวกับการเกิดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองหรือฉีกขาดจากการใช้ยากลุ่มนี้ ซึ่งเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงแต่พบไม่บ่อย จากการรวบรวมผลงานวิจัยต่างๆ พบว่าทุกงานวิจัยแสดงผลไปในทิศทางเดียวกันคือ พบความเสี่ยงในการเกิดโรคเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่มีประวัติใช้ยาในกลุ่ม fluoroquinolones อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระยะเวลาในการเกิดโรค มักเกิดหลังจากได้รับยาภายใน 60 วัน นอกจากนี้ยังพบว่าระยะเวลาในการใช้ยา ยิ่งนานยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมากขึ้นด้วย ดังนั้นควรแนะนำให้ผู้ป่วยทราบถึงอาการแสดงที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองหรือฉีกขาดโดยเฉพาะในช่วง 60 วันหลังได้รับยา และในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าวร่วมด้วย เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น อีกทั้งควรแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดยาทันที และมาพบแพทย์หากผู้ป่วยมีอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองหรือฉีกขาด

Author Biographies

พิชญ์ภา พยุงพันธ์, ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ภ.บ.

กนกกร เกิดผล, ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ภ.บ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-11-2020