Del Nido Cardioplegia

ผู้แต่ง

  • ธนิต วิริยะธารากิจ ฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

del Nido cardioplegia, modified del Nido cardioplegia, lactated ringer’s solution, การผ่าตัดหัวใจ

บทคัดย่อ

การผ่าตัดหัวใจเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดเพื่อทำการแก้ไขพยาธิสภาพของหัวใจ ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดหัวใจแบบปิดและการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โดยการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดสามารถแก้ไขพยาธิสภาพและรักษาโรคหัวใจได้มากกว่า แต่การผ่าตัดหัวใจแบบเปิดจะต้องอาศัยระบบไหลเวียนเลือดภายนอกร่างกายผ่านเครื่องหัวใจและปอดเทียมเพื่อทำหน้าที่แทนหัวใจและปอด และมีการใช้เภสัชภัณฑ์ที่เรียกว่า “cardioplegia” ร่วมด้วย โดยทั่วไปเภสัชภัณฑ์นี้ประกอบด้วยโปแตสเซียมความเข้มข้นสูง เพื่อใช้หยุดการเต้นของหัวใจ ทำให้ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ในเภสัชภัณฑ์ดังกล่าวยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ช่วยปกป้องกล้ามเนื้อหัวใจขณะทำการผ่าตัด ช่วยจำกัดความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจขณะหัวใจหยุดเต้นและไม่มีเลือดมาเลี้ยง ทำให้หัวใจกลับมาทำงานได้ตามปกติภายหลังการผ่าตัดแล้วเสร็จ ลดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดหัวใจ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน cardioplegia ถูกพัฒนาออกมาหลากหลายสูตร มีส่วนประกอบที่แตกต่างกันไป หนึ่งในนั้น คือ del Nido cardioplegia ซึ่งมีข้อดี คือ สามารถหยุดการเต้นของหัวใจและปกป้องกล้ามเนื้อหัวใจได้นานเพียงพอกับระยะเวลาการผ่าตัดและให้ผลการผ่าตัดที่ดี โดยเภสัชกรโรงพยาบาลมีบทบาทในการเตรียมสูตรตำรับยาปราศจากเชื้อ เช่น del Nido cardioplegia ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการเตรียมยาปราศจากเชื้อ ถึงแม้ว่าในประเทศไทยจะไม่มีส่วนประกอบบางรายการในสูตรตำรับ แต่สามารถใช้สารอื่นทดแทนได้เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงยาของผู้ป่วย

Author Biography

ธนิต วิริยะธารากิจ, ฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ภ.บ.

References

World Health Organization. Cardiovascular diseases (CVDs) [Internet]. Geneva: World Health Organization; updated 2017 May 17 [cited 2020 Sep 30]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds)

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; กันยายน 2563 [สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564]. สืบค้นจาก: https://bps.moph.go.th/ new_bps/sites/default/files/statistic62.pdf

Myles PS. Meaningful outcome measures in cardiac surgery. J Extra Corpor Technol. 2014;46(1):23-7.

แพรวพรรณ สุวรรณกิจ. เครื่องหัวใจและปอดเทียม: หลักการและการปฏิบัติ Heart-Lung Machine: Principle and Practice. พิมพ์ครั้งที่ 1. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2561.

จรัญ สายะสถิตย์. ศัลยศาสตร์โรคหัวใจที่พบบ่อย = Common Cardiac Surgery. พิมพ์ครั้งที่ 1. พิษณุโลก: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2555.

ชวลิต อ่องจริต. ประวัติวิวัฒนาการศัลยกรรมหัวใจที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: The Society of Thoracic Surgeons of Thailand; [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2563]. สืบค้นจาก: http://thaists.org/history_detail.php?news_id=35

สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย. สถิติผ่าตัดหัวใจในปี พ.ศ. 2544-2562 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: The Society of Thoracic Surgeons of Thailand; [สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2564]. สืบค้นจาก: https://ststhai.org/en/stats/

พงศ์เสน่ห์ ดวงภักดี. เครื่องปอดและหัวใจเทียมสำหรับนักศึกษาแพทย์ (introduction to cardiopulmonary bypass for medical students) [อินเทอร์เน็ต]. สงขลา: แพทยศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2564 [สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2564]. สืบค้นจาก: https://meded.psu.ac.th/binla/class05/388_531/Cardiopulmonary_bypass/index2.html

Shiroishi MS. Myocardial protection: The rebirth of potassium-based cardioplegia. Tex Heart Inst J. 1999;26(1):71-86.

Dobson GP, Faggian G, Onorati F, Vinten-Johansen J. Hyperkalemic cardioplegia for adult and pediatric surgery: End of an era? Front Physiol. 2013;4:228.

Carvajal C, Goyal A, Tadi P. Cardioplegia [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; updated 2020 Jul 31 [cited 2020 Sep 30]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK554463/

กรองกาญจน์ ชูทิพย์. สรีรวิทยาระบบหัวใจร่วมหลอดเลือดกับการประยุกต์ใช้ทางเภสัชวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2560.

Sanetra K, Pawlak I, Cisowski M. Del Nido cardioplegia - what is the current evidence?. Kardiochir Torakochirurgia Pol. 2018;15(2):114-8.

Oliveira MA, Brandi AC, Santos CA, Botelho PH, Cortez JL, Braile DM. Modes of induced cardiac arrest: Hyperkalemia and hypocalcemia--literature review. Rev Bras Cir Cardiovasc. 2014;29(3):432-6.

Kim K, Ball C, Grady P, Mick S. Use of del Nido cardioplegia for adult cardiac surgery at the Cleveland Clinic: Perfusion implications. J Extra Corpor Technol. 2014;46(4):317-23.

Matte GS, del Nido PJ. History and use of del Nido cardioplegia solution at Boston Children's Hospital. J Extra Corpor Technol. 2012;44(3):98-103.

Kantathut N, Shaishana C, Thongcherd W, Sornprasit W, Jiraratkul S, Vilaikan S, et al. Experience in the use of del Nido cardioplegia in Ramathibodi Hospital. J Med Assoc Thai [Internet]. 2017 [cited 2020 Sep 30]; 100(11): 115. Available from: http://www.thaiscience.info/Journals/Article/JMAT/10988983.pdf

Kantathut N, Cherntanomwong P, Khajarern S, Leelayana P. Lactated Ringer's as a base solution for del Nido cardioplegia. J Extra Corpor Technol. 2019;51(3):153-9.

The United States Pharmacopeia Convention. USP general chapter <797> pharmaceutical compounding—sterile preparations [Internet]. Rockville, MD: USP42-NF37; 2019 May 1 [cited 2020 Sep 30]. Available from: https://www.usp.org/compounding/general-chapter-797

ลีณา สุนทรสุข, ชุติมา เพชรกระจ่าง, ปิยนุช โรจน์สง่า, สวรรยา บูรณะผลิน, เยาวสิเนห์ เพ็งผลา, จิตรลดา เหมินทราภรณ์. รายงานการตรวจวิเคราะห์ความคงสภาพของน้ำยาหยุดการเต้นของหัวใจชนิด del Nido (in use stability of del Nido cardioplegia). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021

ฉบับ

บท

การศึกษาต่อเนื่อง