ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานกลุ่มใหม่ในการรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำ

ผู้แต่ง

  • กันต์ศักดิ์ บุญภัทรฐิติ ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • มัณฑนา วิจิตขะจี ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธีรพล ทิพย์พะยอม ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ปัทมวรรณ โกสุมา ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน, ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ขา, ลิ่มเลือดอุดตันที่บริเวณปอด, ภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำ

บทคัดย่อ

ยากลุ่ม direct oral anticoagulants (DOAC) เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ factor ที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดโดยตรง โดยยากลุ่มนี้ถูกพัฒนามาเพื่อลดข้อจำกัดของยา warfarin ที่ต้องมีการติดตามค่า international normalized ratio โดยหนึ่งในข้อบ่งใช้หลักของยากลุ่ม DOAC คือ การใช้รักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำ (venous thromboembolism, VTE) ที่มีสาเหตุมาจากการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ การไหลเวียนเลือดที่ช้าลง หรือความเสียหายของเยื่อบุหลอดเลือด โดยภาวะ VTE แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ขา (deep vein thrombosis) และลิ่มเลือดอุดตันที่บริเวณปอด (pulmonary embolism) ยา DOAC ทุกตัวจะมีระยะเวลาในการดูดซึมจนความเข้มข้นของยาในกระแสเลือดอยู่ในระดับสูงสุด 1-6 ชั่วโมง มีการเมแทบอลิซึมที่ตับแล้วขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ ในการใช้ยา DOAC ต้องมีการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยา เช่น ภาวะเลือดออก รวมถึงต้องติดตามการทำงานของไต เนื่องจากต้องทำการปรับขนาดยากลุ่ม DOAC ในผู้ที่มีการทำงานของไตบกพร่อง การเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยากลุ่ม DOAC ในการรักษาผู้ป่วย VTE พบว่า DOAC ลดการเกิด recurrence VTE, major blee–ding และ clinically relevant non-major bleeding ได้ไม่แตกต่างจาก warfarin อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาผลของ DOAC แต่ละชนิดพบว่า apixaban และ riva–roxaban สามารถลดความเสี่ยงการเกิด major bleeding ได้ ยากลุ่ม DOAC ที่ขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ได้แก่ apixaban, dabigatran, edoxaban และ rivaroxaban โดยยาทุกชนิดในกลุ่มนี้จัดเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ทั้งนี้ แนวทางการรักษา VTE ของประเทศไทย ได้แนะนำให้ใช้ยา heparin และ warfarin โดยไม่มีการกล่าวถึงการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดอื่น

Author Biographies

กันต์ศักดิ์ บุญภัทรฐิติ, ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภ.บ.

มัณฑนา วิจิตขะจี, ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภ.บ.

ธีรพล ทิพย์พะยอม, ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภ.บ., Ph.D.

ปัทมวรรณ โกสุมา, ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภ.บ., ว.ภ. (เภสัชบำบัด), BCPS

References

Daniel MW, Nathan PC, Sara RV. Venous thromboembolism. In: Joseph TD, Robert LT, Gary CY, Gary RM, Barbara GW, Michael PL (eds). Pharmacotherapy: a pathophysiological approach. 10th ed. New York: McGraw-Hill Education, 2017. p. 231-60.

ยิ่งยง ชินธรรมมิตร์. การหาสาเหตุของภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดในผู้ใหญ่. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 2560;27(4):433-7.

Wendelboe AM, Raskob GE. Global burden of thrombosis. Circ Res. 2016;118(9):1340-7.

Yeh CH, Hogg K, Weitz JI. Overview of the new oral anticoagulants: opportunities and challenges. Arterioscler Thromb Vasc Biol. 2015;35(5):1056-65.

Garmo C, Bajwa T, Burns B. Physiology, clotting mechanism. 2020. [cited 2020 July 11]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK507795/.

Ann KW, Edith AN. Thrombosis. In: Koda-Kimble MA, Alldredge BK, editors. Applied therapeutics: the clinical use of drugs. 10th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins, 2013. p. 345-76.

Micromedex® (electronic version). Truven Health Analytics, Inc. Greenwood Village, Colorado, USA. [cited 2020 July 9]. Available from: https://www.micromedexsolutions.com.

Diane MFS, Jonathan MZ. Apixaban: Drug information. [cited 2020 June 30]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/apixaban-drug-information?search=Apixaban&source=panel_search_result&selectedTitle=1~149&usage_type=panel&kp_tab=drug_general&display_rank=1.

Diane MFS, Jonathan MZ. Edoxaban: Drug information. [cited 2020 June 30]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/edoxaban-drug-information?search=edoxaban%20drug%20information&source=panel_search_result&selectedTitle=1~102&usage_type=panel&kp_tab=drug_general&display_rank=1.

Diane MFS, Jonathan MZ. Rivaroxaban: Drug information. [cited 2020 June 30]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/rivaroxaban-drug-information?search=rivaroxaban%20drug%20information&source=panel_search_result&selectedTitle=1~148&usage_type=panel&kp_tab=drug_general&display_rank=1.

Diane MFS, Jonathan MZ. Dabigatran: Drug information.[cited 2020 June 30]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/dabigatran-drug-information?search=dabigatran%20drug%20information&source=panel_search_result&selectedTitle=1~143&usage_type=panel&kp_tab=drug_general&display_rank=1.

Di Minno A, Frigerio B, Spadarella G, Ravani A, Sansaro D, Amato M, et al. Old and new oral anticoagulants: food, herbal medicines and drug interactions. Blood Rev. 2017;31(4):193-203.

Steffel J, Verhamme P, Potpara TS, Albaladejo P, Antz M, Desteghe L, et al. The 2018 European Heart Rhythm Association practical guide on the use of non-vitamin K antagonist oral anticoagulants in patients with atrial fibrillation. Eur Heart J. 2018;39:1330-93.

Kearon C, Akl EA, Ornelas J, Blaivas A, Jimenez D, Bounameaux H, et al. Antithrombotic therapy for VTE disease: CHEST guideline and expert panel report. Chest. 2016;149(2):315-52.

Mazzolai L, Aboyans V, Ageno W, Agnelli G, Alatri A, Bauersachs R, et al. Diagnosis and management of acute deep vein thrombosis: a joint consensus document from the European Society of Cardiology working groups of aorta and peripheral vascular diseases and pulmonary circulation and right ventricular function. Eur Heart J. 2017;39(47):4208-18.

Konstantinides SV, Meyer G, Becattini C, Bueno H, Geersing GJ, Harjola VP, et al. 2019 ESC guidelines for the diagnosis and management of acute pulmonary embolism developed in collaboration with the European Respiratory Society (ERS): the task force for the diagnosis and management of acute pulmonary embolism of the European Society of Cardiology (ESC). Eur Heart J. 2019;41(4):543-603.

Elsebaie MAT, van Es N, Langston A, Büller HR, Gaddh M. Direct oral anticoagulants in patients with venous thromboembolism and thrombophilia: a systematic review and meta-analysis. J Thromb Haemost. 2019;17(4):645-56.

Elshafei MN, Mohamed MFH, El-Bardissy A, Ahmed MB, Abdallah I, Elewa H, et al. Comparative effectiveness and safety of direct oral anticoagulants compared to warfarin in morbidly obese patients with acute venous thromboembolism: systematic review and a meta-analysis. J Thromb Thrombolysis. 2021;51(2):388-96.

Sterne JA, Bodalia PN, Bryden PA, Davies PA, López-López JA, Okoli GN, et al. Oral anticoagulants for primary prevention, treatment and secondary prevention of venous thromboembolic disease, and for prevention of stroke in atrial fibrillation: systematic review, network meta-analysis and cost-effectiveness analysis. Health Technol Assess. 2017;21(9):1-386.

สำนักคณะกรรมการอาหารและยา. ตรวจสอบการอนุญาต. [สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2563]. สืบค้นจาก: http://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx.

คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรม–การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563]. สืบค้นจาก: http://dmsic.moph.go.th/index/dataservice/97/0.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-08-2021

ฉบับ

บท

การศึกษาต่อเนื่อง