กรณีศึกษาภาวะพิษต่อระบบประสาทส่วนกลางจากวอริโคนาโซล
คำสำคัญ:
วอริโคนาโซล, พิษต่อระบบประสาท, อาการไม่พึงประสงค์จากยาบทคัดย่อ
ภาวะพิษต่อระบบประสาทส่วนกลางจากวอริโคนาโซลเป็นฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อย และมีความสัมพันธ์กับระดับวอริโคนาโซลในเลือดที่สูงเกินระดับปกติ ร่วมกับมีปัจจัยอื่นที่ทำให้มีการขจัดยาออกได้ลดลง ภาวะพิษนี้สามารถป้องกันได้โดยการเริ่มใช้ยาในขนาดที่แนะนำ (ขนาดยาตามน้ำหนักตัว) ตรวจติดตามการทำงานของตับ ตรวจวัดระดับวอริโคนาโซลในเลือด ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวสามารถหายได้โดยการหยุดยาหรือลดขนาดยา และแก้ไขปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุของภาวะพิษต่อระบบประสาทส่วนกลางจากวอริโคนาโซล บทความนี้เป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 40 ปี มีโรคประจำตัวเป็น B cell - acute lymphoblastic leukemia (B-ALL) ได้รับวอริโคนาโซลชนิดรับประทานขนาด 200 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง (4.7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) เพื่อรักษาการติดเชื้อราที่ปอด หลังได้รับยา 3 วัน ผู้ป่วยมีอาการสับสน พูดเรื่อยเปื่อย หูแว่ว (ได้ยินเสียงคนพูด) เห็นภาพหลอน (เห็นนางฟ้าปลายเตียง) แพทย์คาดว่าผู้ป่วยเป็นภาวะพิษต่อระบบประสาทส่วนกลางจากวอริโคนาโซล จึงส่งให้เภสัชกรประเมิน ซึ่งจากผลตรวจร่างกาย ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการและประวัติการรักษา พบว่าผู้ป่วยได้รับยาในขนาดที่สูงกว่าคำแนะนำเล็กน้อย และมีค่าการทำงานของตับที่ผิดปกติ ซึ่งสาเหตุดังกล่าว ทำให้ระดับวอริโคนาโซลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดภาวะพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง
จากกรณีศึกษาแสดงให้เห็นว่าการป้องกันพิษต่อระบบประสาทส่วนกลางจากวอริโคนาโซลมีความสำคัญ เภสัชกรสามารถมีบทบาทในการป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าว โดยการคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ทบทวนขนาดยาที่ได้รับ ยาอื่นที่ผู้ป่วยได้รับร่วมด้วย รวมถึงปฏิกิริยาระหว่างยา พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำในการตรวจติดตามค่าการทำงานของตับและการตรวจวัดระดับยาในเลือด รวมถึงช่วยสืบค้นสาเหตุและปัจจัยร่วมในการเกิดพิษต่อระบบประสาทส่วนกลางจากวอริโคนาโซล
References
Patterson TF, Thompson GR, Denning DW, Fishman JA, Hadley S, Herbrecht R, et al. Practice guidelines for the diagnosis and management of aspergillosis: 2016 update by the infectious diseases society of America. Clin Infect Dis. 2016;63:20-3.
Vfend™ [package insert]. Pfizer (Thailand) limited; 2016.
Ullmann AJ, Aguado JM, Arikan-Akdagli S, Denning DW, Groll AH, Lagrou K, et al. Diagnosis and management of Aspergillus diseases: executive summary of the 2017 ESCMID-ECMM-ERS guideline. Clin Microbiol Infect. 2018;24:e1-e38. doi: 10.1016/j.cmi.2018.01.002. PMID: 29544767.
Bayhan GI, Garipardic M, Karaman K, Akbayram S. Voriconazole-associated visual disturbances and hallucinations. Cutan Ocul Toxicol. 2015;35(1):80-2.
Demir SÖ, Atici S, Akkoç G, Yakut N, EkizoLlu NB, Eralp EE, et al. Neurologic adverse events associated with voriconazole therapy: report of two pediatric cases. Case Rep Infect Dis. 2016;2016:3989070. doi: 10.1155/2016/3989070. PMID: 27313918.
Levine MT, Chandrasekar PH. Adverse effects of voriconazole: over a decade of use. Clin transplant. 2016;30:1377-86.
Jansen JW, Sen SK, Moenster RP. Elevated voriconazole level associated with hallucinations and suicidal ideation: a case report. Open Forum Infect Dis. 2017;4(1):ofw215. doi: 10.1093/ofid/ofw215. PMID: 28480228.
Zonios DI, Banacloche JG, Childs R, Bennett JE. Hallucinations during voriconazole therapy. Clin infect dis. 2008;47(1):e7– e10.
Imhof A, Schaer DJ, Schneemann M, Laffer R, Schanz U. Neurological adverse events to voriconazole: evidence for therapeutic drug monitoring [Abstract]. Int J Infect Dis. 2006;10(s1):S62.
Perreault S, McManus D, Anderson A, Lin T, Ruggero M, Topal JE. Evaluating a voriconazole dose modification guideline to optimize dosing in patients with hematologic malignancies. J Oncol Pharm Practice. 2019;25(6):1305–11.
Moriyama B, Obeng AO, Barbarino J, Penzak SR, Henning S, Scot SA. Clinical pharmacogenetics implementation consortium (CPIC) guidelines for CYP2C19 and voriconazole therapy. Clin Pharmacol Ther. 2017;102(1);45-51.
อาภรณี ไชยาคำ, เด่นพงศ์ พัฒนเศรษฐานนท์, ศิริลักษณ์ ใจซื่อ, บรรณาธิการ. การประยุกต์เภสัชจลนศาสตร์ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2556.
Lin XB, Huang F, Tong L, Xia YZ, Wu JJ, Li J, et al. Pharmacokinetics of intravenous voriconazole in patients with liver dysfunction: A prospective study in the intensive care unit. Int J Infect Dis. 2020;93:345–52.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ