กรดกัดแก้ว

ผู้แต่ง

  • ธนพล นิ่มสมบูรณ์ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นันทนา นิ่มสมบูรณ์ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

กรดกัดแก้ว, กรดไฮโดรฟลูออริก, แคลเซียมกลูโคเนต

บทคัดย่อ

กรดกัดแก้วหรือกรดไฮโดรฟลูออริก เป็นกรดอ่อนที่มีความเป็นพิษที่รุนแรง ผู้ป่วยสัมผัสกรดกัดแก้วได้หลายช่องทาง ได้แก่ ทางผิวหนัง ทางดวงตา ทางทวารหนัก การสูดดม และการรับประทาน พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่สัมผัสกรดกัดแก้วทางผิวหนัง โดยกรดกัดแก้วจะดูดซึมเข้าไปภายในเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนัง และแตกตัวออกเป็น ไฮโดรเจนไอออน และ ฟลูออไรด์ไอออน ต่อมา ฟลูออไรด์ไอออนจะจับกับแคลเซียมไอออนในเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ และผู้ป่วยจะมีอาการปวดอย่างรุนแรง กรณีที่สัมผัสกรดกัดแก้วที่มีความเข้มข้นมากกว่าร้อยละ 20 เป็นบริเวณกว้างมากกว่าร้อยละ 2.5 ของพื้นที่ผิวกาย อาจเกิดอาการพิษต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายซึ่งมีความรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ยาที่ใช้เป็นยาต้านพิษ คือ แคลเซียมกลูโคเนต ซึ่งสามารถนำมาเตรียมเป็นแคลเซียมกลูโคเนตที่มีรูปแบบและความแรงที่เหมาะสมในการรักษาผู้ป่วยที่สัมผัสกรดกัดแก้วผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจดูลักษณะรอยโรค การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจระดับอิเล็กโทรไลต์ในเลือด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่รับประทานกรดกัดแก้ว หรือ ผู้ป่วยที่สัมผัสกรดกัดแก้วที่ผิวหนังเป็นบริเวณกว้าง หรือ ผู้ป่วยที่สูดดมก๊าซไฮโดรเจนฟลูออไรด์ หรือไอระเหยของกรดกัดแก้วเป็นเวลานาน หากมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติควรให้การรักษาโดยให้แคลเซียมกลูโคเนตทางหลอดเลือดดำทันที โดยไม่ต้องรอผลการตรวจระดับอิเล็กโทรไลต์ในเลือด

Author Biographies

ธนพล นิ่มสมบูรณ์, ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ภ.บ., ภ.ม.(เภสัชกรรมชุมชน)

นันทนา นิ่มสมบูรณ์, ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ภ.บ., ภ.ม.(เภสัชกรรมชุมชน)

References

Richard HL, Larry W. Chemical of the month: Fluorine. J Chem Educ. 1983;60(9):759-61.

Su MK. Mushrooms. In: Nelson LS, Howland MA, Lewin NA, Smith SW, Goldfrank LR Hoffman RS, editors. Goldfrank’s toxicologic emergencies.11th ed. New York: McGraw-Hill Education; 2019. p. 1397-402.

สัมมน โฉมฉาย. ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ และ Hydrofluoric acid. ใน: ธีระศิษฎ์ เฉินบำรุง, อมรรัตน์ สุขปั้น, บรรณาธิการ. การรักษาภาวะพิษสารเคมี 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: วี พลัส กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด; 2559. หน้า 54-62.

Anthony JS, Carolyn MB. Hydrofluoric acid and other fluorides. In: Michael WS, Stephen WB, Michael JB, editors. Haddad and Winchester’s clinical management of poisoning and drug overdose. 4th ed. Philadelphia: Saunders/Elsevier; 2007. p. 1323-34.

MICROMEDEX®, POISINDEX® System. Hydrofluoric acid [Database on the internet]. Colorado: Thomson Reuters (Healthcare); c1974-2020. [cited 2021 Sep 16]. Available from: https://www.micromedexsolutions.com

Bajraktarova-Valjakova E, Korunoska-Stevkovska V, Georgieva S, Ivanovski K, Bajraktarova-Misevska C, Mijoska A, et al. Hydrofluoric acid: Burns and systemic toxicity, protective measures, immediate and hospital medical treatment. Maced J Med Sci. 2018;6(11):2257-69.

Gad SE, Sullivan DW. Hydrofluoric acid. In: Philip W, editor. Encyclopedia of toxicology. 3rd ed. Academic Press; 2014. p. 964-6.

Gad SE. Hydrofluoric acid. In: Philip W, editor. Encyclopedia of toxicology. 2nd ed. Academic Press; 2005. p. 542-3.

Public Health England. Hydrogen fluoride and hydrofluoric acid (HF) toxicological overview [Internet]. [cited 2021 Sep 15]. Available from: https://assets.publishing.service.gov.uk/government/uploads/system/uploads/attachment_data/file/761014/Hydrogen_fluoride_toxicological_overview.pdf

ชลัย ศรีสุข. อันตรายจากกรดกัดแก้ว. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ. 2544;49(156):15-6.

ศูนย์ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ข้อแนะนำในการทำงานกับกรดไฮโดรฟลูออริก (กรดกัดแก้ว) [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2564]. สืบค้นจาก: https://www.shecu.chula.ac.th/home/content.asp?Cnt=604

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2022