พิษวิทยาของต้นลำโพง
คำสำคัญ:
ลำโพง, ลำโพงขาว, ลำโพงกาสลัก, พิษ, รักษาบทคัดย่อ
ต้นลำโพงเป็นไม้ล้มลุกที่มีลักษณะคล้ายต้นมะเขือพวง พบได้ในหลายทวีปทั่วโลกในเขตร้อน และเขตกึ่งร้อน สปีชีส์ที่พบในประเทศไทย คือ Datura metel L. มี 2 สายพันธุ์หลัก คือ ลำโพงขาว และลำโพงกาสลัก ลำโพงมีสารสำคัญกลุ่มแอลคาลอยด์ คือ hyoscine, atropine และ hyoscyamine โดยพบ hyoscine ในปริมาณสูงสุดในเมล็ด สารเหล่านี้ออกฤทธิ์เป็น anticholinergic agent มีการนำส่วนประกอบของต้นลำโพงมาใช้ประโยชน์ทางยา ได้แก่ รักษาแผลและฝี ลดอาการปวดอักเสบ และบรรเทาอาการของโรคหืด อย่างไรก็ตาม การใช้ลำโพงที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดพิษและเกิดอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ผิวแห้ง ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ประสาทหลอน ชัก ชีพจรเต้นเร็ว สับสน มึนงง ตื่นเต้น ตาพร่า ม่านตาขยาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน หายใจช้าและขัด ปัสสาวะคั่ง ท้องผูก และอาการเพ้อ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงแก่ชีวิต ยาต้านพิษ คือ physostigmine แต่ไม่มีในประเทศไทย การรักษาที่แนะนำ คือ การรักษาตามอาการ ควรสังเกตอาการผู้ป่วยนานอย่างน้อย 24-36 ชั่วโมง
References
Integrated taxonomic information system (ITIS). Report Datura metel L. Taxonomic serial no: 821259. [Internet]. [cited 2022 August 22]. Available from: https://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?search_topic=TSN&search_value=821259#null
Passos ID, Mironidou-Tzouveleki M. Chapter 71. Hallucinogenic plants in the Mediterranean countries. In: Preedy VR, editor. Neuropathology of drug addictions and substance misuse Volume 2 [Internet]. n.p.: Academic Press – Elsevier; 2016 [cited 2022 August 22]. p. 761-72. Available from: https://doi.org/10.1016/B978-0-12-800212-4.00071-6
Koulapur V V, Jirli P S, Honnungar R S, Pujar S S, Patil S. Poisoning due to Datura-A rare case report. Indian J Forensic Community Med [Internet]. 2015 [cited 2022 August 22];2(1):64-6. Available from: https://www.ijfcm.org/article-details/350
Pillay VV, Sasidharan A. Oleander and Datura poisoning: an update. Indian J Crit Care Med. 2019;23(Suppl 4):S250-5. doi: 10.5005/jp-journals-10071-23302.
พิชานันท์ ลีแก้ว. ลำโพง:ไม้ประดับมีพิษ [อินเตอร์เน็ต].กรุงเทพมหานคร: สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558 [สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2565]. สืบค้นจาก: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/297/ดอกลำโพง-ไม้ประดับมีพิษ/service-knowledge-article.php
Datiles M J, Acevedo-Rodríguez P. Datura metel (Hindu datura). In: Invasive species CABI compendium [Internet]. Wallingford: CABI digital library, CABI International; 2014 Aug 27 [cited 2022 Aug 22]. Available from: https://www.cabi.org/isc/datasheet/18005 doi: 10.1079/cabicompendium.18005.
เมดไทย. ลําโพง สรรพคุณและประโยชน์ของต้นลำโพงขาว 35 ข้อ ! [อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ท.: Medthai; ปรับปรุงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2020 [สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2565]. สืบค้นจาก: https://medthai.com/ลำโพงขาว/
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ลำโพง [อินเตอร์เน็ต]. อุบลราชธานี: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2553 [สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2565]. สืบค้นจาก: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=105
Sharma M, Dhaliwal I, Rana K, Delta AK, Kaushik P. Phytochemistry, pharmacology, and toxicology of Datura species-a review. Antioxidants (Basel). 2021;10(8):1291. doi: 10.3390/antiox10081291.
Sriapha C, Tongpoo A, Wongvisavakorn S, Rittilert P, Trakulsrichai S, Srisuma S, et al. Plant poisoning in Thailand: a 10-year analysis from Ramathibodi poison center. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2015;46(6):1063-76. PMID: 26867365.
Naudé T W. Chapter 70 – Datura spp. and other related plants. In: Gupta R C, editor. Veterinary toxicology. London: Academic Press; 2007. p. 892-906.
Mutebi RR, Ario AR, Nabatanzi M, Kyamwine IB, Wibabara Y, Muwereza P, et al. Large outbreak of Jimsonweed (Datura stramonium) poisoning due to consumption of contaminated humanitarian relief food: Uganda, March-April 2019. BMC Public Health. 2022;22(1):623. doi: 10.1186/s12889-022-12854-1.
เมษญา ชาติกุล, จุฬธิดา โฉมฉาย. พืชกลุ่มแอลคาลอยด์อโทรปีนและกลุ่มเห็ดโอสถลวงจิต. ใน: สัมมน โฉมฉาย, จุฬธิดา โฉมฉาย, บรรณาธิการ. ภาวะพิษจากสารเสพเพื่อผ่อนคลายในวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา; 2560. หน้า 163-72.
Garcia E. Anticholinergics. In: Olson KR, Smollin CG, editors. Poisoning & drug overdose. 8th ed. San-Francisco: McGraw-Hill; 2022. p. 98-9.
Massachusetts and Rhode Island poison control system. Clinical toxicology review: Datura plant poisoning [Internet]. Boston: Regional Center for Poison Control and Prevention Serving Massachusetts & Rhode Island; 2001 [cited 2022 August 22]. Available from: http://www.maripoisoncenter.com/assets/images/pdfs/ctrs/CTR%20Datura%20Plant%20Poisoning.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ