กรณีศึกษาการเกิดภาวะบวมที่ริมฝีปากและลิ้นจากยา alteplase
คำสำคัญ:
ภาวะบวมที่ริมฝีปากและลิ้น, alteplase, หลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน, หลอดเลือดสมองผิดปกติบทคัดย่อ
Alteplase เป็นยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งเป็นยาทางเลือกหลักสำหรับรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบแบบเฉียบพลัน โดยยามีประสิทธิภาพลดความพิการ อย่างไรก็ตามยังพบอาการไม่พึงประสงค์ โดยอาการที่พบบ่อย คือ เลือดออกในสมอง (ร้อยละ 6.4) และอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้น้อย คือ การเกิดภาวะบวมที่ริมฝีปากและลิ้น (ร้อยละ 1.5) โดยอาการไม่พึงประสงค์นี้พบได้น้อย แต่มีความสำคัญซึ่งส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตอย่างรวดเร็วได้
กรณีศึกษาผู้ป่วยชาย อายุ 55 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงเมื่อ 1 ปีก่อนแต่ยังไม่ได้เริ่มการรักษาด้วยยา เมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน ผู้ป่วยกลืนลำบากจึงเข้าโรงพยาบาลและได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งหลอดอาหาร ขณะที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยได้รับ enalapril แล้วมีอาการแขนขาซ้ายอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด อย่างทันที แพทย์ตรวจร่างกายพบมีความผิดปกติทางด้านระบบประสาท และผลการตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ พบ hypodensity lesion at left lentiform nucleus แพทย์วินิจฉัยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจึงได้รับ alteplase ซึ่งเป็นยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ ในขนาด 48.6 มิลลิกรัม (0.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) แบ่งให้ 4.86 มิลลิกรัม ใน 1 นาที ส่วนที่เหลือ 43.74 มิลลิกรัม ให้ทางหลอดเลือดดำจนหมดใน 1 ชั่วโมง ภายหลังได้รับยาครบผู้ป่วยเริ่มมีอาการตึง บวม บริเวณริมฝีปากล่าง โดยอาการไม่พึงประสงค์นี้เข้าได้กับภาวะบวมที่ริมฝีปากและลิ้นที่สัมพันธ์กับการใช้ alteplase
จากกรณีศึกษาตรวจพบการเกิดอาการไม่พึงประสงค์เมื่อเวลาผ่านไปถึง 11 ชั่วโมง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ผู้ป่วยทุกคนจึงต้องใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้ขาดการสังเกตอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวในเวลาที่เหมาะสม ผู้ป่วยรายนี้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ในระดับรุนแรงต่ำ จึงไม่ส่งผลให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิต จากกรณีศึกษานี้จึงควรมีการติดตามผู้ป่วยเกี่ยวกับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มรับ alteplase จนครบ 2 ชั่วโมงภายหลังจากได้รับยา รวมถึงให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยในการสังเกตอาการไม่พึงประสงค์นี้
References
Powers WJ, Rabinstein AA, Ackerson T, Adeoye OM, Bambakidis NC, Becker K, et al. Guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke: 2019 update to the 2018 guidelines for the early management of acute ischemic stroke: a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke. 2019;50(12):e344-e418. doi: 10.1161/STR.0000000000000211.
Neurological Institute of Thailand. Clinical practice guidelines for ischemic stroke. 1st ed. Bangkok: Tanapress Publishers; 2019.
Haire WD. Pharmacology of fibrinolysis. Chest. 1992;101(4 Suppl):91S-7S.
Bivard A, Lin L, Parsonsb MW. Review of stroke thrombolytics. J Stroke. 2013;15(2):90-8.
National Institute of Neurological Disorders and Stroke rt-PA Stroke Study Group. Tissue plasminogen activator for acute ischemic stroke. N Engl J Med. 1995;333(24):1581-7.
Hacke W, Kaste M, Bluhmki E, Brozman M, Davalos A, Guidetti D, et al. Thrombolysis with alteplase 3 to 4.5 hours after acute ischemic stroke. N Engl J Med. 2008;359(13):1317-29.
Correia AS, Matias G, Calado S, Lourenco A, Viana-Baptista M. Orolingual angiodema associated with alteplase treatment of acute stroke: a reappraisal. J Stroke Cerebrovasc Dis. 2015;24(1):31-40.
Hill MD, Barber PA, Takahashi J, Demchuk AM, Feasby TE, Buchan AM. Anaphylactoid reactions and angioedema during alteplase treatment of acute ischemic stroke. CMAJ. 2000;162(9):1281.
Shirazy M, Chaari A, Hakim K, Bousselmi K, Kauts V. A case of oropharyngeal angioedema following intravenous recombinant tissue plasminogen activator (rt-PA) and mechanical thrombectomy. Drug Saf Case Rep. 2019;6(1):10.
Lang DM, Aberer W, Bernstein JA, Chng HH, Grumach AS, Hide M, et al. International consensus on hereditary and acquired angioedema. Ann Allergy Asthma Immunol. 2012;109(6):395-402.
Wang YX, Li YQ, Chen Y, Zhang CH, Dong Z, Wang Z, et al. Analysis of related factors of orolingual angioedema after rt-PA intravenous thrombolytic therapy. Eur Rev Med Pharmacol Sci. 2018;22(5):1478-84.
Reed BR, Chen AB, Tanswell P, Prince WS, Wert RM, Jr., Glaesle-Schwarz L, et al. Low incidence of antibodies to recombinant human tissue-type plasminogen activator in treated patients. Thromb Haemost. 1990;64(2):276-80.
Tom B, Dendorfer A, de Vries R, Saxena PR, Jan Danser AH. Bradykinin potentiation by ACE inhibitors: a matter of metabolism. Br J Pharmacol. 2002;137(2):276-84.
Hill MD, Lye T, Moss H, Barber PA, Demchuk AM, Newcommon NJ, et al. Hemi-orolingual angioedema and ACE inhibition after alteplase treatment of stroke. Neurology. 2003;60(9):1525-7.
Siragy HM, de Gasparo M, El-Kersh M, Carey RM. Angiotensin-converting enzyme inhibition potentiates angiotensin II type 1 receptor effects on renal bradykinin and cGMP. Hypertension. 2001;38(2):183-6.
Groger M, Lebesgue D, Pruneau D, Relton J, Kim SW, Nussberger J, et al. Release of bradykinin and expression of kinin B2 receptors in the brain: role for cell death and brain edema formation after focal cerebral ischemia in mice. J Cereb Blood Flow Metab. 2005;25(8):978-89.
Myslimi F, Caparros F, Dequatre-Ponchelle N, Moulin S, Gautier S, Girardie P, et al. Orolingual angioedema during or after thrombolysis for cerebral ischemia. Stroke. 2016;47(7):1825-30.
Narjes M, Sana K, Neveen F, Bashir I, Hani K, Hassen M, et al. Bradykinic mediated angioedema related to alteplase successfully treated by frozen fresh plasma (FFP) in Saudi Arabia: a first case report and literature review. J Neurol Neurosci. 2021;12:1-3.
Lewis LM, Graffeo C, Crosley P, Klausner HA, Clark CL, Frank A, et al. Ecallantide for the acute treatment of angiotensin-converting enzyme inhibitor-induced angioedema: a multicenter, randomized, controlled trial. Ann Emerg Med. 2015;65(2):204-13.
Pahs L, Droege C, Kneale H, Pancioli A. A novel approach to the treatment of orolingual angioedema after tissue plasminogen activator administration. Ann Emerg Med. 2016;68(3):345-8.
Cheong E, Dodd L, Smith W, Kleinig T. Icatibant as a potential treatment of life-threatening alteplase-induced angioedema. J Stroke Cerebrovasc Dis. 2018;27(2):e36-7. doi: 10.1016/j.jstrokecerebrovasdis.2017.09.039.
Riha HM, Summers BB, Rivera JV, Van Berkel MA. Novel therapies for angiotensin-converting enzyme inhibitor-induced angioedema: a systematic review of current evidence. J Emerg Med. 2017;53(5):662-79.
De Los Rios La Rosa F, Starosciak AK, Wolf B. Thrombolysis of a stroke patient with history of rtPA-associated angioedema. Neurol Clin Pract. 2017;7(6):541-3.
Sanchez-Borges M, Gonzalez-Aveledo LA. Angiotensin-converting enzyme inhibitors and angioedema. Allergy Asthma Immunol Res. 2010;2(3):195-8.
Brown T, Gonzalez J, Monteleone C. Angiotensin-converting enzyme inhibitor-induced angioedema: a review of the literature. J Clin Hypertens (Greenwich). 2017;19(12):1377-82.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ