การศึกษาผลการใช้ตัวส่งสัญญาณค้นหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่อไตจากการใช้ทีโนโฟเวียร์ ไดโซโพรซิล ฟูมาเรต
คำสำคัญ:
การเกิดพิษต่อไต, ทีโนโฟเวียร์, ตัวส่งสัญญาณ, การค้นหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบและประเมินประสิทธิภาพของตัวส่งสัญญาณในการค้นหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่อไตจากทีโนโฟเวียร์
วิธีวิจัย: ช่วงที่ 1 เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนช่วงเดือนมกราคม 2563 ถึงธันวาคม 2564 เพื่อประเมินประสิทธิภาพของตัวส่งสัญญาณด้วยค่าความไว ค่าความจำเพาะ ค่าการทำนายบวก ค่าการทำนายลบ และค่าความแม่นยำ ช่วงที่ 2 เก็บข้อมูลผลฉันทามติต่อการปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติงานจากการสนทนากลุ่มสหวิชาชีพในคลินิก HIV
ผลการวิจัย: การเกิดพิษต่อไตจากทีโนโฟเวียร์ พบร้อยละ 6.98 จากการเข้ารับบริการ 1,059 ครั้ง ตัวส่งสัญญาณที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ ระดับฟอสเฟตในเลือด โดยเมื่อใช้เป็นตัวส่งสัญญาณหลักร่วมกับ ค่าประมาณอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส และการตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ จะเพิ่มประสิทธิภาพเป็นร้อยละ 100 ผลการสนทนากลุ่มทำให้พัฒนาแนวทางการติดตามระดับฟอสเฟตในเลือดผู้ป่วยทุกรายที่ตรวจพบน้ำตาลหรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ
สรุปผล: การใช้ระดับฟอสเฟตในเลือดร่วมกับค่าประมาณอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส และการตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ สามารถค้นหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่อไตจากการใช้ทีโนโฟเวียร์ได้ดี สหวิชาชีพมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการติดตามความปลอดภัยจากการใช้ยาที่เข้าใจง่ายและมีประสิทธิภาพ
References
UNAIDS. Global HIV & AIDS statistics - fact sheet 2020 [Internet]. Geneva: The Joint United Nations Programme on HIV/AIDS (UNAIDS); 2020 [cited 2022 Jun 30]. Available from: http://www.unaids.org/en/resources/fact-sheet
กรมควบคุมโรค. กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. สรุปสถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์และการติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย 2564 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2565 [สืบค้นเมื่อ 30 ต.ค. 2565]. สืบค้นจาก: https://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php
Grim SA, Romanelli F. Tenofovir disoproxil fumarate. Ann Pharmacother. 2003;37(6):849-59. doi: 10.1345/aph.1C388.
Gallant JE, Pham PA. Tenofovir disoproxil fumarate (Viread®) for the treatment of HIV infection. Expert Rev Anti Infect Ther. 2003;1(3):415-22. doi: 10.1586/14787210.1.3.415.
เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, เพลินจันทร์ เชษฐ์โชติศักดิ์, สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์, ศศิโสภิณ เกีรติบูรณกุล, โอภาส พุทธเจริญ, และคณะ. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564/2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค; 2565 [สืบค้นเมื่อ 30 มิ.ย. 2565]. สืบค้นจาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1281020220531045539.pdf
Eggleton JS, Nagalli S. Highly active antiretroviral therapy (HAART). 2022 Jul 4. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2023. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK554533/
DeJesus E, Haas B, Segal-Maurer S, Ramgopal MN, Mills A, Margot N, et al. Superior efficacy and improved renal and bone safety after switching from a tenofovir disoproxil fumarate- to a tenofovir alafenamide-based regimen through 96 weeks of treatment. AIDS Res Hum Retroviruses. 2018;34(4):337-42. doi: 10.1089/AID.2017.0203.
Hall AM, Hendry BM, Nitsch D, Connolly JO. Tenofovir-associated kidney toxicity in HIV-infected patients: a review of the evidence. Am J Kidney Dis. 2011;57(5):773-80. doi: 10.1053/j.ajkd.2011.01.022.
European AIDS Clinical Society. EACS guidelines version 11.0 October 2021 [Internet]. Brussels: European AIDS Clinical Society (EACS); 2021 [cited 2022 Jun 25]. Available from: https://www.eacsociety.org/media/final2021eacsguidelinesv11.0_oct2021.pdf
Rozich JD, Haraden CR, Resar RK. Adverse drug event trigger tool: a practical methodology for measuring medication related harm. Qual Saf Health Care. 2003;12(3):194-200. doi: 10.1136/qhc.12.3.194.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 [อินเทอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน); 2565 [สืบค้นเมื่อ 31 ส.ค. 2565]. 256 หน้า. สืบค้นจาก: https://www.ha.or.th/TH/Posts/หนังสือการพัฒนาคุณภาพ/Details/132#
Scherzer R, Estrella M, Li Y, Choi AI, Deeks SG, Grunfeld C, et al. Association of tenofovir exposure with kidney disease risk in HIV infection. AIDS 2012;26(7):867–75. doi: 10.1097/QAD.0b013e328351f68f.
Chaisiri K, Bowonwatanuwong C, Kasettratat N, Kiertiburanakul S. Incidence and risk factors for tenofovir-associated renal function decline among Thai HIV-infected patients with low-body weight. Curr HIV Res 2010;8:504–9. doi: 10.2174/157016210793499259.
Papaleo A, Warszawski J, Salomon R, Jullien V, Veber F, Dechaux M, et al. Increased beta-2 microglobulinuria in human immunodeficiency virus-1-infected children and adolescents treated with tenofovir. Pediatr Infect Dis J. 2007;26(10):949-51. doi: 10.1097/INF.0b013e3181256570.
พสุเพ็ญ สุขเกษม, รัตนาภรณ์ อาวิพันธ์, นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์. การพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยยาทีโนโฟเวียร์ ไดโซโพรซิล ฟูมาเรต สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในโรงพยาบาลคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2562;15(3):33-44. doi: 10.14456/ijps.2019.31.
ภูริต ทรงธนนิตย,จินตนา ขาวทับ,วิสุทธิ์ กังวานตระกูล,ศิริพร ปรุงวิทยา, ลิ่มทอง พรหมดี. ผลเปรียบเทียบคาประมาณอัตรากรองของไตระหวางสูตร MDRD และ CG ที่ 60 ml/min เทียบกับคายูเรียไนโตรเจน ครีอะตินีน และอัลบูมินในปสสาวะในผูปวยเบาหวานชนิดที่2. ศรีนครินทร์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 30 มิ.ย. 2565];30(1):19-25. สืบค้นจาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/33577
Rutter DR, Bunce DJ. The theory of reasoned action of Fishbein and Ajzen: a test of Towriss's amended procedure for measuring beliefs. Br J Soc Psychol. 1989;28(1):39-46. doi: 10.1111/j.2044-8309.1989.tb00844.x.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ