ประสิทธิผลการพัฒนาระบบรายงานความคลาดเคลื่อนทางยาในโรงพยาบาลขนาดกลาง
คำสำคัญ:
รายงานความคลาดเคลื่อนทางยา, ระบบรายงานความคลาดเคลื่อนทางยา, ความถูกต้องของรายงานความคลาดเคลื่อนทางยาบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ระบบรายงานความคลาดเคลื่อนทางยาที่เหมาะสมจะช่วยส่งเสริมความถูกต้องในการรายงาน
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลภายหลังการปรับปรุงระบบการรายงานความคลาดเคลื่อนทางยา ณ โรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ
วิธีวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เปรียบเทียบอัตราความถูกต้องของรายงานความคลาดเคลื่อนทางยาก่อนการปรับปรุงระบบระหว่างตุลาคม 2562 ถึงพฤษภาคม 2563 และหลังการปรับปรุงระบบระหว่างกุมภาพันธ์ 2564 ถึงพฤษภาคม 2564 วิเคราะห์ผลโดยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบอัตราความถูกต้องก่อนและหลังการปรับปรุงระบบด้วยสถิติเชิงอนุมาน independent Chi-squared
ผลการวิจัย: จากรายงานความคลาดเคลื่อนทางยาก่อนและหลังการปรับปรุงระบบ จำนวน 624 และ 611 รายงานตามลำดับ พบว่าอัตราความถูกต้องของรายงานความคลาดเคลื่อนทางยาเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 84.94 เป็นร้อยละ 92.80 (p-value < 0.001) เมื่อจำแนกในแต่ละหัวข้อพบว่า อัตราความถูกต้องสูงขึ้นในด้าน “ชนิด” (ร้อยละ 94.23 เป็นร้อยละ 99.18; p-value < 0.001) และ “ความรุนแรง” (ร้อยละ 96.79 เป็นร้อยละ 99.02; p-value < 0.007) ในขณะที่ด้าน “ประเภท” ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 93.75 เป็นร้อยละ 94.27; p-value = 0.699) โดยเภสัชกรมีอัตราการรายงานที่ถูกต้องเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 92.98 เป็นร้อยละ 98.79 (p-value < 0.001) ในขณะที่อัตราการรายงานที่ถูกต้องโดยพยาบาลลดลงจากร้อยละ 71.96 เป็นร้อยละ 66.66 (p-value = 0.308) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้อัตราการรายงานถูกต้องภายหลังการปรับปรุงระบบในช่วงเวลาราชการสูงกว่านอกเวลาราชการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 93.79 เทียบกับร้อยละ 86.25; p-value = 0.015)
สรุปผล: การปรับปรุงระบบการรายงานความคลาดเคลื่อนทางยาของโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณสามารถช่วยเพิ่มอัตราความถูกต้องของการรายงานได้
References
จันทร์จารึก รัตนเดชสกุล, ภาสกร รัตนเดชสกุล. ความคลาดเคลื่อนทางยา (medication error) กับการใช้ประโยชน์ในระบบจัดการด้านยา [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม; 2560 [สืบค้นเมื่อ 24 ส.ค. 2562]. สืบค้นจาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=303
Rodziewicz TL, Houseman B, Hipskind JE. Medical error reduction and prevention. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2022 [cited 2022 Aug 24]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK499956/
เรวดี ศิรินคร. ประสบการณ์การเยี่ยมสำรวจเรื่องการบริหารยา. ใน: ธิดา นิงสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล, สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล, บรรณาธิการ. การบริหารยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2554. หน้า 27-32.
ปัญญฉัตร ซอสุขไพบูลย์. ระบบรายงานความคลาดเคลื่อนทางยาจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นในโรงพยาบาลขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2564];4(1):3-16. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169294
เพียงเพ็ญ ชนาเทพาพร. การพัฒนาโปรแกรมเพื่อรายงานผลความคลาดเคลื่อนการสั่งใช้ยาของโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2563];34(3):261-70. สืบค้นจาก: http://thaidj.org/index.php/SMNJ/article/view/6494.
Sharma SK, Mudgal SK, Thakur K, Gaur R. How to calculate sample size for observational and experimental nursing research studies? Natl J Physiol Pharm Pharmacol. 2020;10(1):1-8. doi: 10.5455/njppp.2020.10.0930717102019.
Alshaikh M, Mayet A, Aljadhey H. Medication error reporting in a university teaching hospital in Saudi Arabia. J Patient Saf. 2013;9(3):145-9. doi: 10.1097/PTS.0b013e3182845044.
เปรมวดี ศิริวิวัฒนานนท์, มณีรัตน์ รัตนามหัทธนะ. ความตั้งใจที่จะรายงานและเหตุผลที่ไม่รายงานความคลาดเคลื่อนทางยาของบุคลากรทางการแพทย์: กรณีศึกษาโรงพยาบาลประจำจังหวัดแห่งหนึ่งในประเทศไทย. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2556;9(3):43-52. doi: 10.14456/ijps.2013.19.
Rutledge DN, Retrosi T, Ostrowski G. Barriers to medication error reporting among hospital nurses. J Clin Nurs. 2018;27(9-10):1941-9. doi: 10.1111/jocn.14335.
Kim KS, Kwon SH, Kim JA, Cho S. Nurses' perceptions of medication errors and their contributing factors in South Korea. J Nurs Manag. 2011;19(3):346-53. doi: 10.1111/j.1365-2834.2011.01249.x.
Kim J, An K, Kim MK, Yoon SH. Nurses' perception of error reporting and patient safety culture in Korea. West J Nurs Res. 2007;29(7):827-44. doi: 10.1177/0193945906297370.
Aseeri M, Banasser G, Baduhduh O, Baksh S, Ghalibi N. Evaluation of medication error incident reports at a tertiary care hospital. Pharmacy (Basel). 2020;8(2):69. doi: 10.3390/pharmacy8020069.
Nguyen HT, Nguyen TD, van den Heuvel ER, Haaijer-Ruskamp FM, Taxis K. Medication errors in vietnamese hospitals: prevalence, potential outcome and associated factors. PLoS One. 2015;10(9):e0138284. doi: 10.1371/journal.pone.0138284.
Zeraatchi A, Talebian MT, Nejati A, Dashti-Khavidaki S. Frequency and types of the medication errors in an academic emergency department in Iran: the emergent need for clinical pharmacy services in emergency departments. J Res Pharm Pract. 2013;2(3):118-22. doi: 10.4103/2279-042X.122384.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ