ความร่วมมือในการใช้ยาและอาการไม่พึงประสงค์จากฟาวิพิราเวียร์ ในผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รุนแรงน้อยในระบบ Self-Isolation

ผู้แต่ง

  • สราวุธ กิตติเกษมสุข กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • ศุภรัตน์ ชั้นประเสริฐ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

คำสำคัญ:

favipiravir, self-isolation, การบริบาลเภสัชกรรมทางไกล, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาต้านไวรัสที่ประเทศไทยนำมารักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เนื่องจากเป็นยาใหม่ วิธีการรับประทานยาซับซ้อน จึงต้องติดตามในผู้ป่วยที่ได้รับยา

วัตถุประสงค์: ติดตามความร่วมมือในการใช้ยาและอาการไม่พึงประสงค์จากฟาวิพิราเวียร์

วิธีวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้รับฟาวิพิราเวียร์ และเข้าระบบ Self-Isolation ผู้ป่วยจะได้รับบัตรบันทึกรับประทานยา, QR code แบบสอบถาม google form (G-form), Add LINE กลุ่มงานเภสัชกรรม การติดตามใช้รูปแบบผสมผสาน โดยการตอบ G-form ร่วมกับการบริบาลเภสัชกรรมทางไกล รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย วัคซีน โรคประจำตัว จากฐานข้อมูลโรงพยาบาลและข้อมูลการติดตามในรูปแบบผสมผสาน

ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่ติดตามได้จำนวน 354 ราย (ร้อยละ 86.3) จาก 410 ราย อายุเฉลี่ย 36.9±16.1 ปี เพศหญิง 215 ราย (ร้อยละ 60.7) กลุ่ม 608 ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 24 ราย (ร้อยละ 6.8) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง 10 ราย (ร้อยละ 2.8) โรคหัวใจและหลอดเลือด 3 ราย (ร้อยละ 0.9) โรคอ้วน (ดัชนีมวลกาย >30 กก./ตร.ม.) 70 ราย (ร้อยละ 19.8) โรคมะเร็ง 2 ราย (ร้อยละ 0.6) และโรคเบาหวาน 10 ราย (ร้อยละ 2.8) ผลการติดตาม ผู้ป่วยร่วมมือในการใช้ยาดี 308 ราย (ร้อยละ 87) ไม่ร่วมมือในการใช้ยา 46 ราย (ร้อยละ 13) อาการไม่พึงประสงค์พบบ่อย ได้แก่ คลื่นไส้ 20 ราย (ร้อยละ 5.6) เบื่ออาหาร 20 ราย (ร้อยละ 5.6) ท้องเสีย 19 ราย (ร้อยละ 5.4) ผู้ป่วยเกิดผื่นต้องหยุดยา 4 ราย

บทสรุป: การติดตามการใช้ฟาวิพิราเวียร์รูปแบบผสมผสาน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้สามารถประเมินและจัดการอาการไม่พึงประสงค์ได้รวดเร็ว

Author Biographies

สราวุธ กิตติเกษมสุข, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ภ.บ.

ศุภรัตน์ ชั้นประเสริฐ, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ภ.บ., ภ.ม.

References

คณะทำงานด้านการรักษาพยาบาลและการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ (คณะกรรมการกำกับดูแลรักษาโควิด-19). แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 22 มีนาคม 2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2565 [สืบค้นเมื่อ 30 เม.ย. 2565]. สืบค้นจาก: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=164

Mohiuddin AK. Patient compliance: fact of fiction?. Innov Pharm. 2020;11(1):10.24926/iip.v11i1.3941. doi:10.24926/iip.v11i1.3941.

สภาเภสัชกรรม. ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 56/2563 เรื่อง การกำหนดมาตรฐานและขั้นตอนการ ให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy) ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สภาเภสัชกรรม; 2563 [สืบค้นเมื่อ 30 เม.ย. 2565]. สืบค้นจาก: https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail&menuid=68&itemid=1846&catid=0

Wang D, Liu Y, Zeng F, Shi C, Cheng F, Han Y, et al. Evaluation of the role and usefulness of clinical pharmacists at the Fangcang Hospital during COVID-19 outbreak. Int J Clin Pract. 2021;75(8):e14271. doi: 10.1111/ijcp.14271.

Ibrahim OM, Ibrahim RM, Abdel-Qader DH, Al Meslamani AZ, Al Mazrouei N. Evaluation of telepharmacy services in light of COVID-19. Telemed JE Health. 2021;27(6):649-56. doi: 10.1089/tmj.2020.0283.

Surapat B, Sungkanuparph S, Kirdlarp S, Lekpittaya N, Chunnguleum K. Role of clinical pharmacists in telemonitoring for patients with coronavirus disease 2019 (COVID-19). J Clin Pharm Ther. 2021;46(1):236–9. doi: 10.1111/jcpt.13293.

Ibrahim OM, Ibrahim RM, Al Meslamani AZ, Al Mazrouei N. Role of telepharmacy in pharmacist counselling to coronavirus disease 2019 patients and medication dispensing errors. J Telemed Telecare. 2023;29(1):18-27. doi: 10.1177/1357633X20964347.

Perez M, Masse M, Deldicque A, Beuscart JB, De Groote P, Desbordes J, et al. Analysis of clinical pharmacist interventions in the COVID-19 units of a French university hospital. Eur J Hosp Pharm. 2022;29(e1):e30-5. doi: 10.1136/ejhpharm-2020-002542.

Baldoni S, Amenta F, Ricci G. Telepharmacy services: present status and future perspectives: a review. Medicina (Kaunas). 2019;55(7):327. doi: 10.3390/medicina55070327.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คณะทำงานพัฒนาระบบบริการงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ. แนวทางการพัฒนาระบบงานเภสัชกรรมปฐมภูมิของเภสัชกรครอบครัว (Family Pharmacist) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2567 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2565 [สืบค้นเมื่อ 30 เม.ย. 2565]. สืบค้นจาก: https://dmsic.moph.go.th/index/detail/8895

กฤษฏิ์ วัฒนธรรม, ธีรพล ทิพย์พยอม, อัลจนา เฟื่องจันทร์. รูปแบบกิจกรรม และผลลัพธ์การให้บริการเภสัชกรรมทางไกล: บทความปริทัศน์. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2564;17(3):1-15. doi: 10.14456/ijps.2021.13.

Strand LM, Morley PC, Cipolle RJ, Ramsey R, Lamsam GD. Drug related problems: their structure and function. DICP. 1990;24(11):1093-7. doi: 10.1177/106002809002401114.

Cipolle RJ, Strand LM, Morley PC. Pharmaceutical care practice: the patient-centered approach to medication management. New York: McGraw-Hill Professional; 2012.

Taisho Toyama Pharmaceutical Co Ltd. Avigan (favipiravir) tablets 200 mg [Internet]. Tokyo: Taisho Toyama Pharmaceutical Co Ltd.; 2017 [cited 2021 Jan 5]. Available from: https://www.cdc.gov.tw/Uploads/9401abe5-274f-4090-a67e-70d76d9d425c.pdf

Ergür FÖ, Yıldız M, Şener MU, Kavurgacı S, Ozturk A. Adverse effects associated with favipiravir in patients with COVID-19 pneumonia: a retrospective study. Sao Paulo Med J. 2022;140(3):372-7. doi: 10.1590/1516-3180.2021.0489.R1.13082021.

Hung DT, Ghula S, Aziz JMA, Makram AM, Tawfik GM, Abozaid AAF, et al. The efficacy and adverse effects of favipiravir on patients with COVID-19: a systemic review and meta-analysis of published clinical trials and observational studies. Int J Infect Dis. 2022;120:217-27. doi: 10.1016/j.ijid.2022.04.035.

Sungsana W, Nakaranurack C, Weeraphon B, Charoenwaiyachet W, Chanprasert S, Torvorapanit P, et al. Telepharmacy during home isolation: drug-related problems and pharmaceutical care in COVID-19 patients receiving antiviral therapy in Thailand. J Pharm Policy Pract. 2023;16(1):29. doi: 10.1186/s40545-023-00538-z.

Li H, Peng YY, Lu JP. Investigation and analysis of 108 cases of home isolated patients with mild COVID-19. Disaster Med Public Health Prep. 2021;15(6):e8–11. doi: 10.1017/dmp.2020.296.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-08-2023