ผลของการประสานรายการยา ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
การประสานรายการยา, ความคลาดเคลื่อนทางยาบทคัดย่อ
ความเป็นมา: การประสานรายการยาเป็นกระบวนการเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา และเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา และค้นหาจุดแข็ง ปัญหา และข้อเสนอแนะสำหรับการประสานรายการยา
วิธีวิจัย: การวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงระหว่างตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงมกราคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และความสัมพันธ์ด้วย Fisher’s exact test สัมภาษณ์บุคลากรผู้ปฏิบัติงานจำนวน 15 คน วิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ
ผลการวิจัย: ผู้ป่วย 166 คน มีการประสานรายการยาทั้งหมด 2,301 รายการ พบความคลาดเคลื่อนทางยา 33 รายการ คิดเป็นร้อยละ 1.43 เกิดขึ้นในขณะแรกรับร้อยละ 0.26 และในขณะจำหน่ายร้อยละ 1.17 ของจำนวนรายการยาทั้งหมด ประเภทของความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบมากที่สุด คือ ผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่สมควรจะได้รับ (ร้อยละ 84.85) ปัจจัยด้านกลุ่มของจำนวนรายการยากลับบ้านมีความสัมพันธ์กับการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.032) การประสานรายการยามีจุดแข็ง คือ มีแบบฟอร์มการประสานรายการยารูปแบบใหม่ มีการสื่อสารนโยบาย มีแนวทางปฏิบัติชัดเจน และมีความร่วมมือของสหวิชาชีพ แต่มีปัญหาด้านแหล่งข้อมูลและด้านผู้ปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะ คือ ควรพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูล สื่อสารให้ผู้ป่วยนำยาเดิมมาทุกครั้ง และส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ
สรุปผล: ความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบจากการประสานรายการยาเกิดในระหว่างแรกรับน้อยกว่าในขณะจำหน่ายผู้ป่วย ถึงแม้ว่าการประสานรายการยาจะมีจุดแข็งหลายประการแต่ยังคงต้องพัฒนากระบวนการประสานรายการยา
References
Anderson JG, Abrahamson K. Your health care may kill you: medical errors. Stud Health Technol Inform. 2017;234:13-7. PMID: 28186008.
Rozich JD, Howard RJ, Justeson JM, Macken PD, Lindsay ME, Resar RK. Standardization as a mechanism to improve safety in health care. Jt Comm J Qual Saf. 2004;30(1):5–14. doi: 10.1016/s1549-3741(04)30001-8.
Gleason KM, Groszek JM, Sullivan C, Rooney D, Barnard C, Noskin GA. Reconciliation of discrepancies in medication histories and admission orders of newly hospitalized patients. Am J Health Syst Pharm. 2004;61(16):1689–95. doi: 10.1093/ajhp/61.16.1689.
จันทร์จารึก รัตนเดชสกุล, ภาสกร รัตนเดชสกุล. ความคลาดเคลื่อนทางยา (medication error) กับการใช้ประโยชน์ในระบบการจัดการด้านยา.[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม; 2560. [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ค. 2565]. สืบค้นจาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=303
Al-Rashoud I, Al-Ammari M, Al-Jadhey H, Alkatheri A, Poff G, Aldebasi T, et al. Medication discrepancies identified during medication reconciliation among medical patients at a tertiary care hospital. Saudi Pharm J. 2017;25(7):1082–5. doi: 10.1016/j.jsps.2017.05.004.
Abu Farha R, Yousef A, Gharaibeh L, Alkhalaileh W, Mukattash T, Alefishat E. Medication discrepancies among hospitalized patients with hypertension: assessment of prevalence and risk factors. BMC Health Serv Res. 2021;21(1):438-51. doi: 10.1186/s12913-021-07349-5.
ธิดา นิงสานนท์. Medication reconciliation. ใน: ธิดา นิงสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล, สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล, บรรณาธิการ. Medication reconciliation. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเภสัชกรรม โรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2551. หน้า 1-25.
Barnsteiner JH. Chapter 38. Medication reconciliation. In: Hughes RG, editor. Patient safety and quality: an evidence-based handbook for nurses [Internet]. Rockville (MD): Agency for Healthcare Research and Quality (US); 2008. [cited 2022 Jul 20]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK2648/
อภิฤดี เหมะจุฑา, ฉันทิกา ซื่อตรง. การประสานรายการยา medication reconciliation อีกหนึ่ง มาตรการ เพิ่มความปลอดภัยในระบบยา [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม; 2559 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ค. 2565]. สืบค้นจาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=174
สุภางค์ จันทวานิช. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
จันทนี ฉัตรวิริยาวงศ์, สุรพงษ์ ตุลาพันธุ์. ผลของกระบวนการประสานรายการยาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ค. 2565];15(3):95-102. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/6071
ฉัตราภรณ์ พรมโคตร, มณีรัตน์ รัตนาพัทธนะ. การพัฒนาและประเมินผลกระบวนการตรวจสอบความสอดคล้องของการสั่งใช้ยาในโรงพยาบาล: กรณีศึกษาผู้ป่วยเบาหวาน ณ หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2560;13(3):49-58. doi: 10.14456/ijps.2017.19.
Stuijt CCM, Van Den Bemt B F, Boerlage VE, Janssen MJA, Taxis K, Karapinar-Çarkit F. Differences in medication reconciliation interventions between six hospitals: a mixed method study. BMC Health Serv Res. 2022;22(1):1-12. doi: 10.1016/s1549-3741(04)30001-8.
พรศรี อิงเจริญสุนทร, เบญจวรรณ ทับทิมแสน, วริศรา ศรีสระหลวง, ศรัณยา นิตินันทพงศ์. การพัฒนาระบบประสานรายการยาในผู้ป่วยเด็กโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ณ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. วารสารกรมการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 20 ต.ค. 2565];47(3):32-41. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/254476
นงนภัส ขันแก้ว, พีระพัฒน์ สิงห์ขันธ์. ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการประสานรายการยากลับบ้านที่ดำเนินการโดยเภสัชกร. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 30 ก.ค. 2565];31(3):209-20. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/251747
อมรรัตน์ เต็มวงษ์, สุรัชดา ชนโสภณ, สายทิพย์ สุทธิรักษา. ผลการพัฒนากระบวนการประสานรายการยา ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างโรงพยาบาลและหน่วยบริการปฐมภูมิ ณ อำเภอภูหลวง. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ค. 2565];14(1):140-53. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/249326
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ