การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาความเสี่ยงสูงแบบมีส่วนร่วม ณ แผนกผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • อรอุมา บัวเบิก กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลยโสธร
  • รุจาภา โสมาบุตร กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

ยาความเสี่ยงสูง, อาการไม่พึงประสงค์/เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์, ระบบเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาความเสี่ยงสูง, เครื่องมือรายการตรวจสอบ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ระบบการเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาความเสี่ยงสูงที่ดำเนินการในปัจจุบันยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร หากนำการพัฒนางานแบบมีส่วนร่วมมาใช้อาจช่วยพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาความเสี่ยงสูงได้

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน และพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาความเสี่ยงสูงแบบมีส่วนร่วมในแผนกผู้ป่วยใน

วิธีวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในหอผู้ป่วยเป้าหมายจำนวน 3 หอที่มีการใช้ยาความเสี่ยงสูง 5 รายการในปริมาณสูง โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอนคือ (1) การศึกษาสถานการณ์ปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบฯ (2) การออกแบบระบบแบบมีส่วนร่วม และเตรียมพร้อมการนำระบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ (3) การนำระบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ และ (4) การประเมินผลการใช้งานระบบที่พัฒนาขึ้นโดยประเมินความรู้และความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบที่พัฒนาขึ้น

ผลการวิจัย:  จากการสัมภาษณ์พยาบาลในหอผู้ป่วยจำนวน 9 คนเพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน ได้ข้อสรุปว่าพยาบาลต้องการเครื่องมือแสดงรายการตรวจสอบ ใส่ลงในการลงบันทึกทางการพยาบาล จากนั้นทำการพัฒนาระบบแบบมีส่วนร่วม โดยมีพยาบาลที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 35 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 94.29 อายุเฉลี่ย+ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 37.20+10.30 ปี ระยะเวลาการทำงานเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 14.37+11.33 ปี มีผู้เข้าร่วมอบรมความรู้เกี่ยวกับยาความเสี่ยงสูงเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 91.43 ผลการประเมินความรู้ก่อนใช้ระบบ,  หลังอบรมให้ความรู้ทันที  และ หลังการนำระบบไปใช้ 1 เดือน ผู้เข้าร่วมอบรมมีคะแนนค่าเฉลี่ย+ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 6.13 + 3.30, 13.13+1.10 และ 12.75+1.93 คะแนน ตามลำดับ พบว่าดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนใช้ระบบ (p-value<0.001)  เมื่อเทียบกับหลังอบรมให้ความรู้ และ หลังการนำระบบไปใช้ 1 เดือน คะแนนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.255) เมื่อประเมินความพึงพอใจของการใช้เครื่องมือรายการตรวจสอบ จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 34 คน จาก 35 คน คิดเป็นร้อยละ 97.14  พบว่าระดับคะแนนความพึงพอใจในระดับมากขึ้นไป (คะแนนเฉลี่ย ≥ 4) คิดเป็นร้อยละ 85.71

สรุปผล:  ระบบการเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาแบบมีส่วนร่วม ช่วยให้ความรู้ของพยาบาลในเรื่องเกี่ยวกับยาความเสี่ยงสูงเพิ่มมากขึ้น พยาบาลส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อเครื่องมือรายการตรวจสอบที่พัฒนาขึ้นมาในระดับมากขึ้นไป

Author Biographies

อรอุมา บัวเบิก, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลยโสธร

ภ.บ.

รุจาภา โสมาบุตร, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลยโสธร

ภ.บ.

References

กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลยโสธร. คู่มือยาความเสี่ยงสูง [อินเทอร์เน็ต]. ยโสธร: คณะกรรมการยาความเสี่ยงสูง โรงพยาลยโสธร; 2564 [สืบค้นเมื่อ 30 ก.ย. 2566]. สืบค้นจาก: http://yasohospital.moph.go.th/datacenter/file/60dd310a97b3a.pdf

Rich DS. New JCAHO medication management standards for 2004. Am J Health-Syst Pharm. 2004;61(13):1349-58. doi.org/10.1093/ajhp/61.13.1349.

Hakkarainen KM, Hedna K, Petzold M, Hägg S. Percentage of patients with preventable adverse drug reactions and preventability of adverse drug reactions – a meta-analysis. PLoS One. 2012;7(3):e33236. doi: 10.1371/journal.pone.0033236.

คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด โรงพยาบาลศิริราช. คู่มือการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง High Alert Drug [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ย. 2566]. สืบค้นจาก: https://www2.si.mahidol.ac.th/km/cop/clinical/medicationsafety/highalertdrug/7684/

ปฤษณา เปล่งอารมณ์. การพัฒนารูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยจากการ บริหารยาความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารแพทย์ เขต 4-5 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค. 2566];40(1):137-50. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/250088

ชนม์พัฒน์ โรจนวิภาต, เกวลี สินขจร, กรองกนก อมรพันธุ์ศักดิ์. การพัฒนาเครื่องมือเพื่อเฝ้าระวังและติดตามอาการไม่พึงประสงค์ของยาที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับพยาบาล ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต]. ชลบุรี: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

จันทร์จารึก รัตนเดชสกุล, ภาสกร รัตนเดชสกุล. สร้างความปลอดภัยในระบบยาด้วยมาตรฐานสําคัญ: การจัดการ medication error & adverse drug event [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม; 2564 [สืบค้นเมื่อ 12 ก.ย. 2566]. สืบค้นจาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=1026

เพียงเพ็ญ ชนาเทพาพร. การพัฒนาระบบการติดตามและเฝ้าระวังการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 6 พ.ค. 2566];30(1):46-56. สืบค้นจาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/33581

ธนพรรณ พุทธวงศ์, นิตยา เพ็ญศิรินภา, พาณี สีตกะลิน. ผลของการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานด้านการใช้ยาความเสี่ยงสูง แบบมีส่วนร่วมในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 6; 25 พ.ย. 2559; มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพมหานคร: 2559. หน้า 1-16.

สุรภีย์ อี๊ธงชัย,อรวรรณ สมบูรณ์จันทร์, เมธารัตน์ เยาวะ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสารกองการพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 24 เม.ย. 2566];47(1):25-38. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/242526

สุพัตรา เมฆพิรุณ. การพัฒนาระบบการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อความปลอดภัยในผู้ป่วย. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 27 เม.ย. 2566];5(1):24-42. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169332

Esfahani AK, Varzaneh FR, Changiz T. The effect of clinical supervision model on high alert medication safety in intensive care units nurses. Iran J Nurs Midwifery Res. 2016; 21(5):482–6. doi: 10.4103/1735-9066.193394.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024