การพัฒนารูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยจากการบริหารยาความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ปฤษณา เปล่งอารมณ์ วท.ม., โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

คำสำคัญ:

การพัฒนา, รูปแบบการจัดการทางการพยาบาล, การบริหารยาความเสี่ยงสูง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยจากการบริหารยาความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

วิธีการศึกษา: การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารยาความเสี่ยงสูงจากในหน่วยบริการของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จำนวน 308 คน และแฟ้มประวัติผู้ป่วยที่ได้รับการบริหารยาความเสี่ยงสูงโดยพยาบาลวิชาชีพ จากหอผู้ป่วยใน จำนวน 325 แฟ้ม ที่คัดเลือกแบบเจาะจง และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม - ตุลาคม 2563  โดยแบ่งเป็น 5 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ ศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหา ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ระยะที่ 3 ดำเนินการทดลองใช้รูปแบบ ระยะที่ 4 พัฒนาและขยายประสิทธิผลรูปแบบ และระยะที่ 5 ประเมินประสิทธิผลรูปแบบ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบสังเกตการณ์การใช้กระบวนการพยาบาลในการบริหารยาความเสี่ยงสูง และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยจากการบริหารยาความเสี่ยงสูงของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ และคำนวณค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .906  และ .982 ตามลำดับ สำหรับแบบรายงานอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนจากการบริหารยาความเสี่ยงสูง มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .96  ผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired sample t test และ independent sample t test

ผลการศึกษา: ระยะที่ 1 พบว่า บริบทวัฒนธรรมและนโยบายด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารยาความเสี่ยงสูงสำหรับพยาบาลยังไม่เป็นรูปธรรม ไม่มีความชัดเจน ประกอบกับการสื่อสารที่ไม่ครอบคลุมและไม่ชัดเจน เนื่องจากภาระงานมาก/สถานการณ์รบกวนสมาธิขณะบริหารยาความเสี่ยงสูง และอุปกรณ์ เครื่องมือ ไม่เพียงพอ ไม่พร้อมใช้ ระยะที่ 2 ร่างรูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยจากการบริหารยาความเสี่ยงสูงโดยใช้กระบวนการพยาบาลในการบริหารยาความเสี่ยงสูง ระยะที่ 3 ดำเนินการทดลองใช้รูปแบบใน 4 หน่วยงานนำร่อง ระยะที่ 4 พัฒนาและขยายประสิทธิผลรูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยจากการบริหารยาความเสี่ยงสูง ซึ่งมีองค์ประกอบของรูปแบบ 2 ส่วน คือ 1) กระบวนการพยาบาลในการบริหารยาความเสี่ยงสูง 2) การออกแบบแผนการนิเทศทางคลินิก พบว่า จำนวนอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาลดลง ระยะที่ 5 การประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยจากการบริหารยาความเสี่ยงสูง พบว่า ความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยจากการบริหารยาความเสี่ยงสูงของพยาบาลมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( = 4.29)

สรุป: รูปแบบการจัดการทางการพยาบาล เพื่อความปลอดภัยจากการบริหารยาความเสี่ยงสูง ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสามารถลดอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาได้ ควรนำไปใช้และขยายผลในโรงพยาบาลเครือข่ายสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี และเขตสุขภาพที่ 5 ที่พบปัญหาใกล้เคียงกัน

References

1. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ.2561 Patient Safety Goals: SIMPLE Thailand 2018. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน); 2561.
2. ทรนง พิราลัย. HA UPDATE 2019. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน); 2562.
3. Robert A. Front line of defense the role of nurse in preventing Sentinel event. U.S.A.: Joint Commission; 2007.
4. ธิดา นิงสานนท์, สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล, และ ปรีชา มนทกานติกุล. การบริหารยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พิฆณีการพิมพ์; 2554.
5. เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, ดวงกมล วัตราดุล, และ บุปผาวัลย์ ศรีล้ำ. การพยาบาลเพื่อความปลอดภัย : สมรรถนะพยาบาล CVT. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์; 2556.
6. Cima L, Clarke S. The Nurse’s Role in medication safety. U.S.A. Joint Commission Resources; 2007.
7. U.S. Department of Health and Human Services. Implementation guide to reducing harm from high-alert medications [Internet]. 2012 [cited 2020 Jun 15]. Available from: http://www.usp.org/pdf/EN/patientsafety/medication use process.pdf
8. Kemmis S, Mc Taggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Waurn Ponds: Deakin University Press; 1988: 315-7.
9. Donabedian A. The end results of health care: Ernest Codman's contribution to quality assessment and beyond. Milbank Q. 1989; 67(2): 233‐256.
10. Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organizations. Preventing medication errors: Strategies for pharmacists. Oakbrook Terrace: Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organizations; 2001.
11. Moyet C, Juall L. Understanding the Nursing Process: Concept Mapping and Care Planning for Students. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2007.
12. Proctor, B. Co-operative exercise in accountability. In M. Marken, & M. Payne (Eds.), Enabling and ensuring: supervision in practice (pp. 21-23). Leicester: National Youth Agency; 1987.
13. ผ่องพรรณ อรุณศรี, ถูกถวิล พัวพานิช, และ พัชรี พงษ์พานิช. การเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนในการให้ยาของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร (รายงานผลวิจัย). ชัยนาท: โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร; 2559.
14. Moyet C, Juall L. Understanding the Nursing Process: Concept Mapping and Care Planning for Students. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2007.
15. Proctor B. Training for the Supervision Alliance: attitude, skills and intention. In Hyrkas K, Fowler J, Cutcliffe JR, Editors. Routledge handbook of clinical supervision: fundamental international themes. New York: Routledge; 2011. p. 23 - 34.
16. สุพัตรา เมฆพิรุณ. การพัฒนาระบบการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อความปลอดภัยในผู้ป่วย. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2556; 5(1): 24-42.
17. เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, จารุกัญญ์ พริกบุญจันทร์, บรรณาธิการ. การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ. ปทุมธานี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร; 2560.

เผยแพร่แล้ว

2021-03-24