ผลของการให้คำปรึกษาของเภสัชกรในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะตับ

ผู้แต่ง

  • พิชากานต์ กู้เมือง ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
  • จงกลณี แสนทอน ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ปัญหาการใช้ยา, ปลูกถ่ายอวัยวะตับ, การให้คำปรึกษาจากเภสัชกร, ความปลอดภัยผู้ป่วย, การประสานรายการยา

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะมีการปรับเปลี่ยนยากดภูมิคุ้มกันตามระดับยาในเลือด รวมถึงปรับเปลี่ยนยาอื่นๆ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับยาร่วมกันหลายรายการ และมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงปัญหาจากการใช้ยา

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ ที่เภสัชกรให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยก่อนพบแพทย์ เปรียบเทียบกับการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยก่อนและหลังพบแพทย์

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงสังเกต เก็บข้อมูลผู้ป่วยย้อนหลัง ณ คลินิกปลูกถ่ายอวัยวะตับ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยแบ่งเป็นเภสัชกรให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยก่อนพบแพทย์ในช่วงปี พ.ศ. 2564 ส่วนช่วงปี พ.ศ. 2565 เภสัชกรให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังพบแพทย์ เครื่องมือที่ใช้ประเมินปัญหาการใช้ยาคือ PCNE classification version 9.1 ข้อมูลถูกจัดกลุ่มเป็น ปัญหาที่สามารถป้องกันได้ และ ไม่สามารถป้องกันได้

ผลการศึกษา: ในช่วงปี พ.ศ. 2564 พบปัญหาจากการใช้ยาทั้งหมด 15 ปัญหา จากการให้คำปรึกษาก่อนพบแพทย์ 240 ครั้ง แบ่งปัญหาได้เป็น 4 กลุ่ม คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย 11 ครั้ง (ร้อยละ 73.3) อาการไม่พึงประสงค์ 2 ครั้ง (ร้อยละ 13.3) กระบวนการเกี่ยวกับยา 1 ครั้ง (ร้อยละ 6.7) และ การเลือกใช้ยา 1 ครั้ง (ร้อยละ 6.7) โดยจัดเป็นปัญหาจากการใช้ยาที่สามารถป้องกันได้ 13 ปัญหา (ร้อยละ 86.7) ในช่วงปี พ.ศ. 2565 พบปัญหาจากการใช้ยาทั้งหมด 19 ปัญหา จากการให้คำปรึกษาก่อนและหลังพบแพทย์ 314 ครั้ง แบ่งปัญหาได้เป็น 4 กลุ่ม คือ กระบวนการเกี่ยวกับยา 6 ครั้ง (ร้อยละ 31.6) อาการไม่พึงประสงค์ 6 ครั้ง (ร้อยละ 31.6) กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย 5 ครั้ง (ร้อยละ 26.3) และ การเลือกใช้ยา 2 ครั้ง (ร้อยละ 10.5) โดยจัดเป็นปัญหาจากการใช้ยาที่สามารถป้องกันได้ 13 ปัญหา (ร้อยละ 68.4)

สรุปผล: การให้คำปรึกษาทั้งก่อนและหลังพบแพทย์ ลดปัญหาปัจจัยจากผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีแนวโน้มลดความไม่ร่วมมือการใช้ยา เทียบกับให้คำปรึกษาก่อนพบแพทย์เพียงอย่างเดียว

Author Biographies

พิชากานต์ กู้เมือง, ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ภ.บ.

จงกลณี แสนทอน, ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ภ.บ.

References

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย. รายงานประจำปี พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย; 2565 [สืบค้นเมื่อ 5 ต.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://www.organdonate.in.th/assets/files/odc2565.pdf

Mulder MB, Doga B, Borgsteede SD, van den Burg AM, Metselaar HJ, den Hoed CM, et al. Evaluation of medication-related problems in liver transplant recipients with and without an outpatient medication consultation by a clinical pharmacist: a cohort study. Int J Clin Pharm. 2022;44(5):1114-22. doi: 10.1007/s11096-022-01423-6.

O'Carroll RE, McGregor LM, Swanson V, Masterton G, Hayes PC. Adherence to medication after liver transplantation in Scotland: a pilot study. Liver Transpl. 2006;12(12):1862-8. doi: 10.1002/lt.20828.

Stemer G, Lemmens-Gruber R. Clinical pharmacy services and solid organ transplantation: a literature review. Pharm World Sci. 2010;32(1):7-18. doi: 10.1007/s11096-009-9351-7.

Pharmaceutical Care Network Europe (PCNE). Classification for drug related problems: the PCNE classification V 9.1 [Internet]. n.p.: Pharmaceutical Care Network Europe Association; 2020 [cited Aug 2, 2022].Available from: https://www.pcne.org/upload/files/417_PCNE_classification_V9-1_final.pdf

Mulder MB, Borgsteede SD, Darwish Murad S, Landman CS, Metselaar HJ, Hunfeld NGM. Medication-related problems in liver transplant recipients in the outpatient setting: a Dutch cohort study. Front Pharmacol. 2021;12:637090. doi: 10.3389/fphar.2021.637090.

Flamme-Obry F, Belaiche S, Hazzan M, Ramdan N, Noël C, Odou P, et al. Clinical pharmacist and medication reconciliation in kidney transplantation. Nephrol Ther. 2018;14(2):91-8. doi: 10.1016/j.nephro.2017.04.004.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-04-2024