ภาวะพิษจาก Digoxin
คำสำคัญ:
digoxin, ภาวะพิษจาก digoxin, digitalis Fab fragmentบทคัดย่อ
Digoxin เป็นยาที่ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว/วาย และภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ยาออกฤทธิ์ยับยั้ง sodium-potassium adenosine triphosphate pumps ทำให้ปริมาณ calcium ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจสูงขึ้นจึงสามารถเพิ่มแรงบีบของหัวใจได้ ยามีช่วงการรักษาแคบ เมื่อเกิดพิษจะมีอาการแสดง ได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ระดับอิเล็กโทรไลต์ที่ผิดปกติ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การมองเห็นที่ผิดปกติ เป็นต้น ลักษณะการเกิดพิษของ digoxin อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ภาวะพิษเฉียบพลันและภาวะพิษเรื้อรัง โดยภาวะพิษเฉียบพลันจะพบภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง และพบภาวะหัวใจเต้นช้าได้บ่อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับภาวะพิษเรื้อรัง การรักษาภาวะพิษโดยทั่วไปเป็นการรักษาตามอาการ ในกรณีที่เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง อาจพิจารณาให้ calcium gluconate หรือในกรณีที่มีภาวะหัวใจเต้นช้าและมีภาวะ heart block อาจพิจารณาให้ atropine ทั้งนี้หากไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วย atropine อาจต้องใช้ยาต้านพิษคือ digitalis Fab fragment ซึ่งไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย
References
Hack JB. Cardioactive steroids. In: Hoffman RS, Howland MA, Lewin NA, Nelson LS, Goldfrank LR, Flomenbaum N, editors. Goldfrank’s toxicologic emergencies. 11th ed. New York: McGraw-Hill Education; 2019: 969-76.
Goldberger AL. Cardiac arrhythmias due to digoxin toxicity. In: UpToDate [Database on the internet]. Waltham (MA): UpToDate,Inc.; 2023 [cited 2023 July 3]. Available from: https://www.uptodate.com
National Library of Medicine. Digitalis Toxicity [Internet]. Bethesda: NCBI; updated 2023 [cited 2023 Aug 31]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK459165/
สัมมน โฉมฉาย. ภาวะพิษจากดิจอกซิน. ใน: จารุวรรณ ศรีอาภา, บรรณาธิการ. ยาต้านพิษ 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมาคมพิษวิทยาคลินิก, 2555. หน้า 37-41.
Benowitz NL. Digoxin and other cardiac glycosides In: Olson KR (ed). Poisoning & Drug Overdose. 7th ed. San Francisco: McGraw-Hill, 2018: 222-24.
MICROMEDEX® [Database on the internet]. Colorado: Thomson Reuters (Healthcare); c1974-2020. POISINDEX® System, Cardiac Glycosides; [cited 2023 Aug 31]. Available from: https://www.micromedexsolutions.com. Subscription required to view.
BMJ Best Practice. Digoxin Toxicity [Internet]. London: BMJ Publishing group; updated 2023 [cited 2023 Aug 31]. Available from: https://bestpractice.bmj.com/topics/en-gb/3000257
Kearney TE. Digoxin-specific antibodies In: Olson KR (ed). Poisoning & Drug Overdose. 7th ed. San Francisco: McGraw-Hill, 2018: 542-4.
สัมมน โฉมฉาย. ดิจิทาลิส แฟบ แฟรคเมนท์. ใน: จารุวรรณ ศรีอาภา, บรรณาธิการ. ยาต้านพิษ 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมาคมพิษวิทยาคลินิก, 2555. หน้า 17-21.
Smith SW. and Howland MA. Digoxin-specific antibody fragments. In: Hoffman RS, Howland MA, Lewin NA, Nelson LS, Goldfrank LR, Flomenbaum N, editors. Goldfrank’s toxicologic emergencies. 11th ed. New York: McGraw-Hill Education; 2019: 977-84.
Collins SR. Digoxin immune FAB (ovine). In: Collins SR, editor. Elsevier’s 2023 intravenous medications. 39th ed. Missouri: Elsevier Inc; 2023. p. 431-3.
GlaxoSmithKline Manufacturing. Lanoxin [Package insert]. Bangkok: Invida (Thailand) Co., Ltd.; 2010.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ