การปรับปรุงระบบจ่ายยาผู้ป่วยในเพื่อลดความคลาดเคลื่อนด้านยา ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
ความคลาดเคลื่อนด้านยา, ระบบจ่ายยาผู้ป่วยในบทคัดย่อ
ความเป็นมา: มาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมสามารถลดความคลาดเคลื่อนด้านยาได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความคลาดเคลื่อนด้านยาภายหลังการปรับปรุงระบบการจ่ายยาผู้ป่วยใน
วิธีวิจัย: เป็นการศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบไปข้างหน้า เพื่อหาผลของการนำมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลมาปฏิบัติในกระบวนการจ่ายยาผู้ป่วยใน โดยทำการปรับปรุงระบบเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 ทำการศึกษาความคลาดเคลื่อนด้านยาของผู้ป่วยในตั้งแต่ ตุลาคม 2565 ถึง กันยายน 2566 (ปีงบประมาณ 2566) เปรียบเทียบกับ ความคลาดเคลื่อนด้านยาของผู้ป่วยใน ตั้งแต่ ตุลาคม 2564 ถึง กันยายน 2565 (ปีงบประมาณ 2565) และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย: ข้อมูลทั่วไปแสดงปริมาณงานในปีงบประมาณ 2566 เปรียบเทียบกับปีงบประมาณ 2565 พบว่าจำนวนใบสั่งยาเฉลี่ยต่อเดือน จำนวนรายการยาเฉลี่ยต่อเดือน และจำนวนใบสั่งยานอกเวลาเฉลี่ยต่อเดือน ไม่แตกต่างกัน แต่ จำนวนใบสั่งยากลับบ้านในเวลาราชการเฉลี่ยต่อเดือน และ จำนวนใบสั่งยาที่เภสัชกรคัดกรองเฉลี่ยต่อเดือน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่จำนวนใบสั่งยากลับบ้านนอกเวลาราชการเฉลี่ยต่อเดือน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) หลังจากทำกิจกรรมเพื่อลดความคลาดเคลื่อนด้านยา พบว่า อัตราความคลาดเคลื่อนในการสั่งยา และ อัตราความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาลดลง
สรุปผล: มาตรการที่ปฏิบัติสามารถลดความคลาดเคลื่อนด้านยาได้
References
de Araújo BC, de Melo RC, de Bortoli MC, Bonfim JRA, Toma TS. How to Prevent or Reduce Prescribing Errors: An Evidence Brief for Policy. Front Pharmacol. 2019;10:439. doi: 10.3389/fphar.2019.00439.
จันทร์จารึก รัตนเดชสกุล, ภาสกร รัตนเดชสกุล. ความคลาดเคลื่อนทางยา (medication error) กับการใช้ประโยชน์ในระบบจัดการด้านยา [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม; 2560 [สืบค้นเมื่อ 30 มิ.ย. 2566]. สืบค้นจาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=303
กรัณฑ์รัตน์ ทิวถนอม, ศุภลักษณ์ ธนานนท์นิวาส. ความคลาดเคลื่อนทางยาและแนวทางป้องกันเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. วารสาร Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ) [อินเทอร์เน็ต]. 2552 [สืบค้นเมื่อ 1 มิ.ย. 2566];2(1):195-217. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/6937
ใจภัส วัดอุดม. การพัฒนาระบบก่อนการจ่ายยาผู้ป่วยในเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา. วารสารเภสัชกรรมคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 1 มิ.ย. 2566];26(2):1-15. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/11592
ณฐมน สุคนนท์, วรางคณา สีมาพล, มนัสนันท์ วงษ์ครุธ, น้ำทิพย์ คงนิล, นิชาภา ทองศรี, ธีราพร สุภาพันธุ์. การพัฒนาระบบคัดกรองใบสั่งยาแผนกผู้ป่วยในเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2564;17(3):25-38. doi: 10.14456/ijps.2021.15.
บุญสุชิน ฉัตรไพบูลย์. การพัฒนาระบบการคัดกรองคำสั่งใช้ยาผู้ป่วยในโรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. หัวหินเวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 10 มิ.ย. 2566];1(3):23-37. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/hhsk/article/view/251056/
วิมลจิต จันทโชติกุล, ธิติ รัตนาคม. บทบาทของทีมสหวิชาชีพในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา. กระบี่เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 10 มิ.ย. 2566];3(1):61–76. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/KBJ/article/view/248046/
สุรีรัตน์ ลำเลา, ระพีพรรณ ฉลองสุข. การพัฒนาระบบก่อนการจ่ายยาผู้ป่วยในของโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร อุทิศ กรุงเทพมหานคร. วารสาร Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 10 มิ.ย. 2566];4(3):117-37. สืบค้นจาก: https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/VESTSU/article/view/91562/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ