การศึกษาความคงสภาพของยาฉีด morphine sulfate 1 mg/mL ใน polypropylene syringes

ผู้แต่ง

  • นันทิดา สุขศรีดาวเดือน กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลราชวิถี
  • วรสิทธิ์ วงศ์สุทธิเลิศ ภาควิชาอาหารเคมีและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • บดินทร์ ติวสุวรรณ ภาควิชาอาหารเคมีและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความคงสภาพ, ความปราศจากเชื้อ, มอร์ฟีน, กระบอกฉีดยาที่บรรจุยาพร้อมฉีด, prefilled syringe

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: มอร์ฟีน เป็นยาแก้ปวดชนิดโอปิออยด์ที่มีฤทธิ์แรง ปัจจุบันยังไม่มียารูปแบบกระบอกฉีดยาที่บรรจุยาพร้อมฉีด (prefilled syringe; PFS) จําหน่ายในประเทศไทย จึงจัดทำยาเตรียม morphine PFS เพื่อใช้ภายในโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์: ศึกษาความคงสภาพของยาเตรียม morphine PFS ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร

วิธีวิจัย: เตรียม morphine sulfate ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในน้ำเกลือปรกติ ขนาดบรรจุ 3 มิลลิลิตร บรรจุในกระบอกฉีดยาชนิด polypropylene ขนาด 5 mL ใส่ในซองปราศจากเชื้อชนิด peel pouch และบรรจุในซองซิปสีชา เก็บที่อุณหภูมิ 30±2 และ 40±2 องศาเซลเซียส (°C) ความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity; RH) 75±5% ทดสอบความคงสภาพทางกายภาพ เคมี และสภาพปราศจากเชื้อที่ เวลา 0, 30, 60, 90, 180 วัน หลังการเตรียมยา

ผลการวิจัย: ตลอดระยะเวลา 180 วันที่ทำการศึกษา morphine PFS ที่เตรียมได้มีลักษณะใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีตะกอน และมีลักษณะทางกายภาพไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 30±2°C/75±5%RH แต่สีของสารละลายมีการเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนเมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 40±2°C/75±5%RH นาน 180 วัน ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) อยู่ในช่วง 5.8-6.2 ผลการวิเคราะห์ปริมาณตัวยาสำคัญในตัวอย่างโดยใช้เทคนิค high performance liquid chromatography พบว่าทุกตัวอย่างมีปริมาณยาคงเหลือมากกว่าร้อยละ 90 เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาเริ่มต้น มีค่าเฉลี่ยร้อยละของปริมาณที่ระบุบนฉลากอยู่ในช่วง 93.3±0.5 ถึง 94.9±0.5 และมีความปราศจากเชื้อตลอดช่วง 180 วัน ทั้ง 2 สภาวะเก็บรักษา

สรุปผล: ยาเตรียม morphine sulfate PFS ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีความคงสภาพทางกายภาพ เคมี และมีความปราศจากเชื้อ 180 วัน เมื่อเก็บยาในสภาวะพ้นแสงที่อุณหภูมิ 30±2°C/75±5%RH

Author Biographies

นันทิดา สุขศรีดาวเดือน, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลราชวิถี

ภ.บ., ภ.ม. (อาหารเคมีและโภชนศาสตร์ทางการแพทย์)

วรสิทธิ์ วงศ์สุทธิเลิศ, ภาควิชาอาหารเคมีและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภ.บ., ปร.ด. (เภสัชศาสตร์และเภสัชวิทยา)

บดินทร์ ติวสุวรรณ, ภาควิชาอาหารเคมีและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภ.บ., ปร.ด. (เคมีทางการแพทย์)

References

พิสิษฐ์ ศรีอัคคโภคิน. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยากลุ่ม opioids ในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.); 2566 [สืบค้นเมื่อ 1 ธ.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://infocenter.nationalhealth.or.th/sites/default/files/กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยากลุ่ม%20Opioids.pdf

อนุสสรา ส่งทอง. การดูแลผู้ป่วยที่มีความปวดจากโรคมะเร็ง. วารสารสมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 22 ก.พ. 2566];20(2):41-9. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jtaro/article/view/224276

อภิฤดี เหมะจุฑา. ยาที่มีความเสี่ยงสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

American Society of Health-System Pharmacists (ASHP). Morphine (monograph) [Internet]. n.p.: Drugs.com; 2023 [cited 2023 Dec 10]. Available from: https://www.drugs.com/monograph/morphine.html

เอ็มแอนด์เอ็ช แมนูแฟคเจอริ่ง. Morphine sulfate 10 mg injection [เอกสารกำกับยา]. สมุทรปราการ: เอ็มแอนด์เอ็ช แมนูแฟคเจอริ่ง; 2561.

The United States Pharmacopeial Convention. Morphine sulfate injection. In: The United States Pharmacopeia and The National Formulary (USP 43-NF 38). Bethesda (Maryland): The United States Pharmacopeial Convention Inc.; 2018.

ศศิประภา ชิตรัตถา. ความคงสภาพของยา (drug stability) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม; 2561 [สืบค้นเมื่อ 22 ก.พ. 2564]. สืบค้นจาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=484

Trissel LA. Handbook on injectable drugs. 16th ed. Bethesda (Maryland): American Society of Health System Pharmacists; 2011. p.1101-20.

Vermeire A, Remon JP. Stability and compatibility of morphine. Int J Pharm. 1999;187(1):17-51. doi: 10.1016/s0378-5173(99)00181-7.

Anderson C, MacKay M. Stability of fentanyl citrate, hydromorphone hydrochloride, ketamine hydrochloride, midazolam, morphine sulfate, and pentobarbital sodium in polypropylene syringes. Pharmacy (Basel). 2015;3(4):379-85. doi: 10.3390/pharmacy3040379.

Strong ML, Schaaf LJ, Pankaskie MC, Robinson DH. Shelf-lives and factors affecting the stability of morphine sulphate and meperidine (pethidine) hydrochloride in plastic syringes for use in patient-controlled analgesic devices. J Clin Pharm Ther. 1994;19(6):361-9. doi: 10.1111/j.1365-2710.1994.tb00695.x.

Grassby PF, Hutchings L. Factors affecting the physical and chemical stability of morphine sulphate solutions stored in syringes. Int J Pharm Pract. 1993;2(1):39-43. doi: 10.1111/j.2042-7174.1993.tb00718.x.

เดชพล ปรีชากุล, ขนิษฐา ตันติศิรินทร์. การศึกษาความคงตัวระยะยาวของตำรับมอร์ฟีนชนิดฉีดที่ไม่มีสารกันเสีย. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2550;3(1)25-35. doi: 10.14456/ijps.2007.4.

สมชาย สวัสดี. ความคงสภาพและการกำหนดวันหมดอายุของยา [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม; 2560 [สืบค้นเมื่อ 22 ก.พ. 2564]. สืบค้นจาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=272

The Thai Pharmacopoeia Committee and Subcommittees. Sterility test. In: Thai Pharmacopoeia II. Nonthaburi: Bureau of Drug and Narcotic, Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health; 2011. Appendices 10.1: p.615-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-04-2024