การพัฒนาเครื่องมือติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยารักษาวัณโรคด้วย LINE Official Account

ผู้แต่ง

  • นาฏระพี จันทร์หงวน นิสิตปริญญาโท หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชกรรมชุมชน) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ผศ.ดร.ภญ.ชวนชม ธนานิธิศักดิ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

อาการไม่พึงประสงค์, ยารักษาวัณโรค, ติดตามอาการไม่พึงประสงค์, LINE Official Account

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: อาการไม่พึงประสงค์จากยารักษาวัณโรคพบได้บ่อย เป็นสาเหตุความไม่ร่วมมือในการใช้ยานำไปสู่ปัญหาดื้อยา ระบบติดตามที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารช่วยให้สามารถค้นพบและแก้ไขปัญหาได้ทัน

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและทดสอบเครื่องมือติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยารักษาวัณโรคด้วย LINE Official Account (LINE OA)

วิธีวิจัย: งานวิจัยพัฒนาโดยใช้ ADDIE model พัฒนาระบบ ดังนี้ 1) วิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะจำเป็น 2) ออกแบบบัญชีทางการ LINE “ติดตามยารักษ์ปอด” 3) ประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 6 ท่าน นำต้นแบบทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่างระบบต้นแบบ 5 ราย และปรับปรุง 4) ศึกษาผลการใช้งานติดตามอาการไม่พึงประสงค์วันที่ 3, 7 และ 14 ในผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 15 ราย 5) ประเมินผลคุณภาพและความพึงพอใจ และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย: ต้นแบบที่พัฒนามีคุณลักษณะคือสนทนากับเจ้าหน้าที่ได้ทันที มีริชเมนู เชื่อมโยงลิงก์ทำแบบประเมินอาการไม่พึงประสงค์ ตามกำหนด ผลการประเมินคุณภาพโดยรวม ผู้เชี่ยวชาญให้ระดับคุณภาพดี กลุ่มตัวอย่างระบบต้นแบบให้ระดับดีมาก คะแนนเฉลี่ย 4.50±0.77 และ 4.82±0.39 ตามลำดับ หลังปรับปรุงและทดสอบการใช้งานในผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 4.44±0.56 สามารถติดตามอาการไม่พึงประสงค์ผ่านช่องทาง LINE 13 ราย (ร้อยละ 86.67) โดยพบรายงานสารคัดหลั่งเปลี่ยนสีมากที่สุด 35 ครั้ง (ร้อยละ 36.46) ผู้ป่วยได้รับความช่วยเหลือรวดเร็วที่สุดภายใน 5 นาที 4 ครั้ง (ร้อยละ 40.00) และพบว่าทำให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อเนื่อง 30 ครั้ง (ร้อยละ 93.75)

สรุปผล: เครื่องมือติดตามนี้มีคุณภาพช่วยให้ค้นพบและแก้ไขปัญหาได้เร็ว เป็นเครื่องมือในการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ฯได้

Author Biographies

นาฏระพี จันทร์หงวน, นิสิตปริญญาโท หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชกรรมชุมชน) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภ.บ.(บริบาลเภสัชกรรม)

ผศ.ดร.ภญ.ชวนชม ธนานิธิศักดิ์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภ.บ.(บริบาลเภสัชกรรม), วท.ด.(เภสัชศาสตร์)

References

World Health Organization. Tuberculosis [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2023 [cited 2023 Dec 19]. Available from: https://www.who.int/health-topics/tuberculosis#tab=tab_1

World Health Organization. Global tuberculosis report 2023 [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2023 [cited 2023 Dec 19]. Available from: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/373828/9789240083851-eng.pdf?sequence=1

สำนักวัณโรค. แผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570). [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560 [สืบค้นเมื่อ 19 ธ.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://www.tbthailand.org/download/Manual/AW_thai%20แผนปฏิบัติการระดับชาติ.pdf

สำนักวัณโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561 National tuberculosis control programme guideline, Thailand, 2018 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561 [สืบค้นเมื่อ 24 เม.ย. 2564]. สืบค้นจาก: https://www.tbthailand.org/download/Manual/NTP2018.pdf

World Health Organization. WHO operational handbook on tuberculosis. Module 5: management of tuberculosis in children and adolescents [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2022 [cited 2024 Dec 3]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240046832

พรพิมล ใช้สงวน. การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2557.

ภาวินี แสงจันทร์. การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับให้บริการเลิกบุหรี่โดยเภสัชกรชุมชน [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2560.

เบญจา ทรงแสงฤทธิ์, มนตรี ยาสุด. การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับโปรแกรมการบริหารข้อไหล่ในผู้ป่วยภายหลังทำการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องจัดการจังหวะการเต้นของหัวใจ. ศรีนครินทร์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 4 มิ.ย. 2564];33(6):572-9. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/smnj/article/view/5811

Faulkner L. Beyond the five-user assumption: benefits of increased sample sizes in usability testing. Behav Res Methods Instrum Comput. 2003;35(3):379-83. doi: 10.3758/bf03195514.

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. ไลน์รูปแบบการสื่อสารบนความสร้างสรรค์ของสมาร์ทโฟน: ข้อดีและข้อจำกัดของแอปพลิเคชัน. วารสารนักบริหาร [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [สืบค้นเมื่อ 13 ต.ค. 2564];33(4):42-54. สืบค้นจาก: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/article/view/80877

วรวัต นิ่มอนงค์. ADDIE model กับการออกแบบสื่อให้ปังกว่าเดิม [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: insKru; 2564 [สืบค้นเมื่อ 1 พ.ย. 2564]. สืบค้นจาก: https://inskru.com/idea/-MLCRe1sMhuZj-0jOYMU

นิสารัตน์ คำด้วง. ผลของการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยวัณโรคปอดของโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 9 ก.ย. 2564];10(2):345-55. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/171140

กฤติมา โภชนสมบูรณ์. ผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยวัณโรค ในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 9 ก.ย. 2564];60(3):171-80. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/VMED/article/view/192640

อำภา เลิศมงคลสมุทร, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, กนกพร นทีธนสมบัติ. ผลของโปรแกรมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายด้วยการเยี่ยมบ้านและการใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 13 ต.ค. 2564];35(1):48-58. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/189170

นิอร สิริมงคลเลิศกุล, ชมพุนุท สิงห์มณี, ธัญพร รัตนวิชัย, ศราวุธ พงษ์ลี้รัตน์. การพัฒนาแอปพลิเคชันติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน. เวชสารแพทย์ทหารบก [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 13 ต.ค.2564];73(3):141-50. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rtamedj/article/view/246186

นันทลักษณ์ สถาพรนานนท์. ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา (medication non adherence). วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์. 2555;7(1):23-39. doi: 10.69598/tbps.7.1.23-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

1.
จันทร์หงวน น, ธนานิธิศักดิ์ ช. การพัฒนาเครื่องมือติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยารักษาวัณโรคด้วย LINE Official Account. Thai J Hosp Pharm [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 7 เมษายน 2025];34(3):285-9. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/268630