การพยาบาลภาวะพิบัติภัย : สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับพยาบาลไทย
Keywords:
การพยาบาลภาวะพิบัติภัย, สมรรถนะ, พยาบาล, Disaster nursing, Competency, NurseAbstract
ภาวะพิบัติภัย เป็นปัญหาสากลที่ทุกประเทศต้องเตรียมความพร้อมรับกับภาวะนี้ พยาบาลเป็นบุคลากรทีมสุขภาพทตอบสนองต่อภาวะพิบัติภัยในหลายบทบาทและในระยะต่างๆ ของการเกิดภาวะพิบัติภัย การเตรียมความพร้อมให้พยาบาลมีสมรรถนะที่เหมาะสมในการจัดการกับภาวะพิบัติภัยจึงมีความสำคัญยิ่ง สภาการพยาบาลสากล (International Council of Nurses: ICN) ได้พัฒนากรอบสมรรถนะด้านการพยาบาลภาวะพิบัติภัย ใน 4 ระยะ คือ 1) ระยะการ ป้องกัน/การบรรเทาทุกข์ 2) ระยะการเตรียมความพร้อมรับภาวะพิบัติภัย 3) ระยะการ รับมือพิบัติภัย 4) ระยะการพักฟื้น/ฟื้นคืนสภาพของบุคคล/ครอบครัวและชุมชน ในประเทศไทยบทบาทพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ประสบพิบัติภัยยังไม่มีความชัดเจน พยาบาลบางส่วนใช้ประสบการณ์และสัญชาตญาณในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย พยาบาล ยังมีความยากลำบากในการปฏิบัติงาน และบางส่วนเป็นผู้ประสบภาวะพิบัติภัยด้วย ด้านการศึกษาพยาบาล หลักสูตรที่มีอยู่มีเนื้อหาสาระและการฝึกปฏิบัติยังไม่เพียงพอต่อ การทำงานในภาวะพิบัติภัย ไม่มีการฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะทางและการเปิดสอนหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษาด้านการพยาบาลภาวะพิบัติภัยอย่างชัดเจน พยาบาลไทยยังต้องการ การเตรียมความพร้อมด้านสมรรถนะการพยาบาลภาวะพิบัติภัยและในการจัดการดูแล จึงมีข้อเสนอแนะให้สถาบันการศึกษา สถาบันบริการสุขภาพ และองค์กรวิชาชีพ ใช้กรอบ สมรรถนะการพยาบาลภาวะพิบัติภัยของ ICN เป็นแนวทางการพัฒนาสมรรถนะฯ พยาบาล ไทยให้สามารถปฏิบัติงานในภาวะพิบัติภัยระยะต่างๆ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับสากลอย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ: การพยาบาลภาวะพิบัติภัย สมรรถนะ พยาบาล