ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนรายวิชาโครงการพัฒนาสุขภาพ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Authors

  • เรมวล นันท์ศุภวัฒน์ และคณะ

Keywords:

การประเมินผล การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน, โครงการพัฒนาสุขภาพ, นักศึกษาพยาบาล, evaluation, project-based teaching and learning, health development project, nursing students

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อประเมินผลการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน ประเมินสมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล และวิเคราะห์ปัญหา/อุปสรรคและปัจจัยความสำเร็จเกี่ยวกับการเรียนการสอนการออกแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณาการดำเนินการวิจัย: กลุ่มประชากร คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 183 คน และคณาจารย์ผู้สอน จำนวน 10 คน เครื่องมือในการศึกษา คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินผลการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน 3) แบบวัดสมรรถนะสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล 4) แนวคำถามเกี่ยวกับ ปัญหา อุปสรรค และปัจจัยความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัย 1. การประเมินผลการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน พบว่า 1) ผลการศึกษา เป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 20 ชิ้นงาน 2) นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 3) นักศึกษาพยาบาลทุกกลุ่มมีคะแนนผลสัมฤทธิ์โดยเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 80 และอยู่ในระดับ เกรด A จำนวน 172 คน (ร้อยละ 93.99) 2. สมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพ ก่อนการเรียน ทั้งรายด้านและรายข้อ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง แต่หลังการเรียนอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 3. ปัญหา/อุปสรรคของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐานมีดังนี้ 1) ประสบการณ์ของผู้สอนบางท่านมีน้อยส่งผลต่อการให้คำชี้แนะ 2) การทำโครงการของนักศึกษามีเวลาจำกัด 3) การทำงานกลุ่มของนักศึกษาบางกลุ่มยังช่วยเหลือกันน้อย 4) การเผยแพร่ผลงานของนักศึกษามีข้อจำกัดทั้งเวลาและสถานที่ ส่วนปัจจัยความสำเร็จจากทีมคณาจารย์เกี่ยวกับการเรียนการสอน คือ 1) อาจารย์ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและกลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพ และการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน การสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง 2) อาจารย์ต้องร่วมวางแผนการสร้างนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพกับนักศึกษาแต่ละกลุ่ม 3) อาจารย์ต้องทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา กระตุ้น ให้กำลังใจ กำกับ ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะ: อาจารย์ผู้สอนและผู้เรียนควรได้รับการเตรียมความรู้เกี่ยวกับการสอนแบบใช้โครงการเป็นฐาน การสร้างนวัตกรรม และความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและกลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพ ผู้บริหารควรให้การสนับสนุนงบประมาณในการทำโครงการและการเสนอผล

คำสำคัญ: การประเมินผล การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน โครงการพัฒนาสุขภาพ นักศึกษาพยาบาล

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
นันท์ศุภวัฒน์ และคณะ เ. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนรายวิชาโครงการพัฒนาสุขภาพ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2013 Sep. 14 [cited 2024 Dec. 23];27:102-13. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/11635