ผลของการจัดท่านอนทารกต่อค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน สัญญาณชีพ และ ระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในทารกเกิดก่อนกำหนดขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ

Authors

  • ศรีสุรีย์ สูนพยานนท์
  • ฟองคำ ติลกสกุลชัย
  • กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์
  • ดวงพร อัศวราชันย์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลของท่านอนตะแคง และท่านอนปกติต่อค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ และระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในทารกเกิดก่อนกำหนดขณะหย่าเครื่องหายใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์อยู่ในระหว่างหย่าเครื่องช่วยหายใจจำนวน 46 คน (กลุ่มควบคุม 23 คน และกลุ่มทดลอง 23 คน ) ในหออภิบาลทารกแรกเกิด (NICU) โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา คัดเลือกทารกตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บข้อมูลในกลุ่มควบคุมจากการทบทวนเวชระเบียนในรอบปีทีผ่าน และเก็บข้อมูลทารกในกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดท่านอนตะแคงตั้งแต่เดือน เมษายน ถึง พฤศจิกายน 2549 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ T-test  independent และ Repeated measure of ANOVA

ผลการศึกษาพบว่า ทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการจัดท่านอนตะแคงขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจมีค่าเฉลี่ยของค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน และอัตราการเต้นของหัวใจ ไม่แตกต่างจากทารกท่านอนปกติ (p> .05)  แต่อัตราการหายใจของทารกกลุ่มท่านอนตะแคงสูงกว่าท่านอนปกติ (p < .05) และระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจของทารกที่ได้รับการจัดท่านอนตะแคงจะมีค่าเฉลี่ยของความอิ่มตัวของออกซิเจน และอัตราการเต้นของหัวใจที่คงที่กว่าทารกกลุ่มท่านอนปกติ

คำสำคัญ : การจัดท่า ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน สัญญาณชีพ การหย่าเครื่องช่วยหายใจทารกเกิดก่อนกำหนด

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-09-05

How to Cite

1.
สูนพยานนท์ ศ, ติลกสกุลชัย ฟ, วิจิตรสุคนธ์ ก, อัศวราชันย์ ด. ผลของการจัดท่านอนทารกต่อค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน สัญญาณชีพ และ ระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในทารกเกิดก่อนกำหนดขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 5 [cited 2024 Dec. 23];22(4):64. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2463