การแปลเครื่องมือเพื่อใช้ในงานวิจัยข้ามวัฒนธรรม: เทคนิคและประเด็นที่ต้องพิจารณา

Authors

  • นันทกา สวัสดิพานิช
  • สุจิตรา เทียนสวัสดิ์

Abstract

การแปลเครื่องมือวิจัยเพื่อใช้ในงานวิจัยข้ามวัฒนธรรมมีเป้าหมายเพื่อให้ได้เครื่องมือวิจัยฉบับแปลที่มีความเหมือนหรือเทียบเท่ากันเชิงวัฒนธรรม ปัจจุบันมีเครื่องมือวิจัยที่พัฒนาขึ้นในต่างประเทศหลายฉบับที่ผ่านการแปลและถูกนำมาใช้ในงานวิจัยทางการพยาบาลของไทยซึ่งมีความแตกต่างทางด้านภาษาและวัฒนธรรม แต่ไม่มีการนำเสนอปัญหาที่พบจากการแปลหรือประเด็นที่ต้องพิจารณาในการแปลเครื่องมือวิจัยภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทย นอกจากนี้ผู้แปลเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาลยังใช้เทคนิคการแปลที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามการแปลแบบแปลย้อนกลับเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเนื่องจากมีการตรวจสอบคุณภาพของการแปล ดังนั้นบทความนี้จึงนำเสนอขั้นตอนของการแปลย้อนกลับ เกณฑ์ในการพิจารณาความเหมือนหรือเทียบเท่ากันเชิงวัฒนธรรม การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาอื่น รวมทั้งข้อเสนอแนะในการแปลเครื่องมือวิจัยเพื่อให้ได้เครื่องมือฉบับแปลที่คงไว้ซึ่งความหมายของเครื่องมือต้นฉบับและสอดคล้องเหมาะสมที่จะนำมาศึกษาในวัฒนธรรมไทย

คำสำคัญ: การแปลเครื่องมือวิจัย การวิจัยข้ามวัฒนธรรม คุณภาพของเครื่องมือ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-09-13

How to Cite

1.
สวัสดิพานิช น, เทียนสวัสดิ์ ส. การแปลเครื่องมือเพื่อใช้ในงานวิจัยข้ามวัฒนธรรม: เทคนิคและประเด็นที่ต้องพิจารณา. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 13 [cited 2024 Nov. 22];26(1):19. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2652