ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2;Factors Predicting Self-Management Behaviour of Elderly Type 2 Diabetes Patients

Authors

  • กมลพร สิริคุตจตุพร นักศึกษาปริญญาโท คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นารีรัตน์ จิตรมนตรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, การกำกับตนเอง, การสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2, perceived self-efficacy, self-regulation, social support, self-management behavior, older persons with type2 diabetes mellitus

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัย : เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของความรู้เรื่องโรคเบาหวาน
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การกำกับตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม ต่อพฤติกรรม
การจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยแบบหาอำนาจการทำนาย
วิธีการดำเนินการวิจัย: การวิจัยนี้ใช้กรอบแนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบ
ผสมผสานของ Ryan กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อายุ 60 ปีขึ้นไปคัดเลือก
ตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 132 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย
สถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการจัดการตนเองโดยรวมอยู่ในระดับ
ปานกลาง ( = 5.59, SD. = 0.87) ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การ
กำกับตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเอง
ได้ร้อยละ 81.2 (R2= .812, F = 142.59, p < .01) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสามารถ
ทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองได้สูงสุด (β = .597, p < .01)
ข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน
ชนิดที่ 2 ครอบครัว เพื่อนหรือเพื่อนบ้าน และบุคลากรทางการแพทย์ ควรมีส่วนร่วมในการใช้
หลักอาหารแลกเปลี่ยนและการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
สุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และผลการวิจัยสามารถนำไปพัฒนาโปรแกรม
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานต่อไป

Objective: To study elderly type 2 diabetes patients’ knowledge
of diabetes,perception of self-effcacy, self-regulation and social
support as predictive factors in the patients’ self-management
behaviour.
Design: Predictive research.
Procedure: This study, based on Ryan’s Integrated Theory of Health
Behavior Change, was conducted on 132 purposively sampled
type 2 diabetes patients aged 60 and older. Data were collected by
means of a questionnaire and analysed using descriptive
statistics, Pearson correlation coeffcient and stepwise multiple
regression coeffcient analysis.

Results: The experimental group displayed a medium degree of
self-management behaviour ( = 5.59, S.D. = 0.87).
The combined factors of knowledge of diabetes, perception of
self-effcacy, self-regulation and social support were capable of predicting
81.2% of the participants’ self-management behaviour
(R2 = .812, F = 142.59, p < .01), whilst the perception of
self-effcacy was the most powerful predictive factor
(β = .597, p < .01).
Recommendations: The fndings of this study offer basic information
on caring for elderly type 2 diabetes patients. Based on the study,
it is recommended that such patients be accompanied by their family
members during meals and physical exercise,
as such companionship could enhance the patients’ health-care
behaviour. In addition, the fndings could be applied to further
developing a self-management programme for elderly type 2
diabetes patients.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-06-08

How to Cite

1.
สิริคุตจตุพร ก, วิโรจน์รัตน์ ว, จิตรมนตรี น. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2;Factors Predicting Self-Management Behaviour of Elderly Type 2 Diabetes Patients. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2017 Jun. 8 [cited 2024 Dec. 23];32(1):81-93. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/82615