ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของทารกที่เกิดจากการผ่าตัดคลอด
คำสำคัญ:
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, ทารกแรกเกิด, การผ่าตัดคลอดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของทารกแรกเกิดที่ได้รับการผ่าตัดคลอด
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยแบบ Retrospective case-control study
การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ทารกที่มารดาได้รับการผ่าตัดคลอดที่เข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี และโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 260 ราย แบ่งเป็นกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 130 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนด้วยแบบบันทึกข้อมูลปัจจัยทำนายการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ logistic regression
ผลการวิจัย: ดัชนีมวลกาย ระยะเวลาการงดน้ำและอาหาร ชนิดของสารน้ำที่มารดาได้รับ และน้ำหนักแรกเกิดที่ไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ สามารถร่วมกันทำนายการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของทารกแรกเกิดได้ร้อยละ 74.3 (p < .01) โดยทารกที่มารดามีค่าดัชนีมวลกาย ≥ 25 กก./ม.2 มีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็น 7.88 เท่าของทารกที่มารดามีค่าดัชนีมวลกาย < 25 กก./ม.2 (95%CI: 3.23-19.18) ทารกที่มารดาได้รับการงดน้ำและอาหาร ≥ 6 ชั่วโมง มีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็น 26.41 เท่าของทารกที่มารดาได้รับการงดน้ำและอาหาร < 6 ชั่วโมง (95%CI: 8.32-83.77) ทารกที่มารดาได้รับสารน้ำชนิดไม่มีกลูโคส มีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็น 5.13 เท่าของทารกที่มารดาได้รับสารน้ำชนิดมีกลูโคส (95%CI: 2.19-12.02) ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าอายุครรภ์(SGA) และทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดมากกว่าอายุครรภ์ (LGA) มีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็น 12.97 และ 64.06 เท่าของทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดสัมพันธ์กับอายุครรภ์ (AGA)(95%CI: 1.20-139.55;95%CI: 14.42-284.43) ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ: สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลการเฝ้าระวังภาวะดัชนีมวลกายเกิน และภาวะน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์ไม่เหมาะสมกับอายุครรภ์ในระยะตั้งครรภ์ และในระยะรอคลอดควรเฝ้าระวัง การงดน้ำงดอาหารให้ < 6 ชั่วโมง และดูแลให้มารดารอคลอดได้รับสารน้ำที่มีกลูโคส เพื่อป้องกันการเกิด ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิดที่ได้รับการผ่าตัดคลอด รวมทั้งตรวจคัดกรองทารกทุกรายที่ผ่าตัด คลอดและมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว
Downloads
References
from the pediatric endocrine society for evaluation and management of persistent hypoglycemia in
neonates, infants, and children. J Pediatr. 2015;167(2):238-45.
2. Schaefer-Graf UM, Rossi R, Buhrer C, Siebert G, Kjos SL, Dudenhausen JW, et al. Rate and risk factors of hypoglycemia in large for gestational age newborn infants of nondiabetic mothers. Am J Obstet Gynecol. 2015;187(4):912-17.
3. Hay WW, Raju TN, Higgins RD, Kalhan M, Devaskar S. Knowledge gaps and research needs for understanding and treating neonatal hypoglycemia. J Pediatr. 2009;155(5):1-12.
4. Blackburn ST. Maternal, fetal, & neonate physiology. Maryland Heights, MO: Elsevier; 2013.
5. Rozance PJ. Update on neonatal hypoglycemia.Curr Opin in Endocrinology Diabetes and Obes. 2014;21(1):45-50.
6. Tam EWY, Haeusslein LA, Bonifacio SL, Glass HC, Rogers EE, Jeremy RJ, et al. Hypoglycemia is
associated with increased risk for brain injury and adverse neurodevelopmental outcome in neonates at risk for encephalopathy. J Pediatr. 2011;161(1):88-99.
7. Sirijinda B. Fluid-electrolytes and acid-base. Text book of surgery. Bangkok: CU Eco Print; 2011.
p. 39-61.(in Thai)
8. Fukuda I, Matsuda H, Sugahara S, Kazama T. The effect of intravenous glucose solution on neonatal blood glucose levels after cesarean delivery. J Anesth. 2013;27:180-5
9. Bhurayanontachai R. Glycemic control in critically ill patients. Songklanagarind Medical Journal. 2006;24(4):333-45.(in Thai)
10. Hussein SM, Salih Y, Rayis DA, Bilal J, Adam I. Low neonatal blood glucose levels in cesarean delivered term newborns at Khartoum Hospital Sudan. Diagn Pathol. 2014;9:1-4.
11. Marom R, Dollberg S, Mimouni FB, Berger I, Mordechayev N, Ochshorn Y, et al. Neonatal blood glucose concentration in cesarean and vaginally delivered term infants. ACTA Pediatrica. 2010;99:1474-7.
12. Pitasawat T, Junhong K. Prediction of neonatal blood suger level from mother blood sugar level at Banpong
hospital, Ratchaburi province. Journal of Health Science. 2008;17(6):983-94.(in Thai)
13. Garcia-Patteson A, Aulinas A, Maria MA, Ubeda J, Orellana I, Ginovart G, et al. Maternal body mass
index is a predictor of neonatal hypoglycemia in g e s t a t i o n a l d i a b e t e s m e l l i t u s . J C E M .2012;97(5):1623-8.
14.Harper LM, Renth A, Todd W, Colvin R, Macones GA, Cahill AG. Impact of obesity on maternal and
neonatal outcomes in insulin-resistant pregnancy.Am J Perinatol. 2014;31(5):383-8.
15. Marshall NE, Guild C, Cheng YW, Caughey AB, Halloran DR. The effect of maternal body mass index on perinatal outcomes in women with diabetes. Am J Perinatol. 2014;31(3):249-56.
16. Achoki R, Opiyo N, English M. Mini-review: Management of hypoglycemia in children aged 0–59 months. J Pediatr. 2010;56(4):227-34.
17. Akin Y, Comert S, Turan C, Picak A, Agzikuru T,Telatar B. Macrosomic newborns: A 3-year review.Turk J Pediatr. 2010;52:378-83.73
18. Brenner AW, Simchal MJ, Zilberberg E, Kalter A, Weiaz B, Achiron R, et al. Maternal and neonatal
outcomes of macrosomic pregnancies. Med Sci Monit. 2012;18(9):77-81.
19. Cyna AM, Andrew M, Emmett RS, Middleton P, Simmons SW. Techniques for preventing hypotension during spinal anaesthesia for caesarean section. Cochrane Database Syst Rev. 2010;4(2):1-3.
20. Schaefer-Graf UM, Rossi R, Buhrer C, Siebert G, Kjos SL, Dudenhausen JW, et al. Rate and risk factors
of hypoglycemia in large for gestational age newborn infants of nondiabetic mothers. Am J Obstetrics Gynecol. 2015;187(4):912-7.
21. Lertsakasiri M. Concepts and nursing of pregnant women with complications. Bangkok: Assumption Printing House; 2017. p. 97-113(in Thai)