การดูแลแบบประคับประคองอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้านในบริบทภาคใต้

ผู้แต่ง

  • กิตติกร นิลมานัต Faculty of Nursing,Prince of Songkla university,
  • มลธิรา อุดชุมพิสัย
  • ภัทรสิริ พจมานพงศ์
  • นิภา นิยมไทย

คำสำคัญ:

การดูแลแบบประคับประคอง, การดูแลอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้าน, บริบทภาคใต้

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์ 1) เพื่อบรรยายการบริการด้านการดูแลแบบประคับประคองอย่างต่อเนื่อง จากโรงพยาบาลสู่บ้านในบริบทภาคใต้ และ 2) เพื่อบรรยายปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคในการบริการด้านการดูแลแบบประคับประคองอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้านในบริบทภาคใต้
     การออกแบบวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาหลายกรณี
     การดำเนินการวิจัย คัดเลือกพื้นที่สำหรับการศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง กำหนดคุณสมบัติคือ เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิหรือโรงพยาบาลศูนย์ที่เป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายและมีระบบการดูแลแบบประคับประคองที่เชื่อมต่อกับโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ และหน่วยบริการปฐมภูมิหรือโรง
พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 4 โรงพยาบาล ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ป่วยระยะท้ายและผู้ดูแลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการให้บริการด้านการดูแลแบบประคับประคองอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้าน รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 92 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
      ผลการวิจัย การบริการด้านการดูแลแบบประคับประคองอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้านในบริบทภาคใต้ มี 3 รูปแบบ คือ การดูแลแบบประคับประคองโดยมีโรงพยาบาลเป็นฐาน การบูรณาการการดูแลแบบประคับประคองโดยมีชุมชนเป็นฐาน และจิตอาสาสนับสนุนการดูแลแบบประคับประคอง ปัจจัยสนับสนุนได้แก่ การทำงานด้วยจิตอาสา การสนับสนุนจากผู้บริหารขององค์กร และการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายในชุมชน อุปสรรคในการดำเนินงานประกอบด้วย ข้อจำกัดในการเข้าถึงและการใช้ยาระงับปวด การทำงานแบบแยกส่วน ขาดการประสานงาน การขาดความรู้และทักษะ ของบุคลากรสุขภาพ การขาดแคลนบุคลากรและภาระงานของบุคลากรที่รับผิดชอบด้านการดูแลแบบประคับประคอง และความไม่เพียงพอของอุปกรณ์ทางการแพทย์
      ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารองค์กรควรกำหนดนโยบายด้านการดูแลแบบประคับประคองเป็นส่วนหนึ่งของบริการสุขภาพของโรงพยาบาลและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสุขภาพด้านการดูแลแบบประคับประคองในทุกระดับและสาขาวิชาชีพ และการส่งเสริมการประสานงานโดยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อความต่อเนื่องด้านข้อมูล และพัฒนาระบบการจัดการด้านยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ในทุกระดับบริการเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับบริการอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่ออยู่บ้าน ควรมีการศึกษาถึงผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองที่มีรูปแบบการดูแลที่แตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. Ezer T, Lohman D, de Luca GB. Palliative care and human rights: a decade of evolution in standards. J
Pain Symptom Manage. 2018;55(2):S163-S9.
2. World Health Organization. Palliative care Geneva: World Health Organization; 2018 [cited 2018 Jan 9].
Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care.
3. Connor SR, Bermedo MCS, editors. Global atlas of palliative care at the end of Life. London: Worldwide
Hospice Palliative Care Alliance; 2014.
4. The Economist Intelligence Unit. The 2015 Quality of Death Index Ranking palliative care across the
world 2015 [cited 2018 Jan 9]. Available from: https://www.eiuperspectives.economist.com/healthcare/2015-quality-death-index.
5. National Health Security Offce. Management Manual for National Health Security Fund, Fiscal
Year 2016, Volume 1 Management of medical services,paid by head. Bangkok: Thanapress company; 2015.(in Thai)
6. Tasprasit T, Phimdee P, Mongkalchai S, Jullapan P,Puttatum Y. The development of the palliative care system for end of life patients at Udonthani hospital.Nursing Journal of The Ministry of Public Health. 2013;23(1):80-90. (in Thai)
7. Kumpol S. Holistic health care in terminally ill patients A participation through the Buddhist way under the Isan culture context: a case study of urban areas In Khon Kaen. Journal of Hunanities and Social Sciences Mahasarakham University. 2012;31(5):179-201.(in Thai)
8. Luvira V, Srikha D, Prirojkul S. Community-based palliative care by volunteers: perceptions of village health
volunteers in a community of Khon Kaen province. Srinagarind Medical Journal. 2013;28(2):199-204.(in Thai)
9. Sawasdeenarunat V, Taneerat A, Wisettham T. The development of a palliative care model for terminal cancer patients at Maharaj Nakhon Si Thammarat hospital. Nursing Journal of the Ministry of Public Health. 2015;25(1):144-56. (in Thai)
10. Morrakot P, Nilmanat K, Matchim Y. Impacts of an adaptation-promoting programme on the caregiving relatives of terminal chronic disease patients. Thai Journal of Nursing Council. 2015;30(2):33-45. (in Thai)93
11. Nilmanat K, Matchim Y, Manasurakarn J, Kongsuwan W, Meesunthorn K, Prompahakul C. Terminal patient care in a Muslim community: a case Study in a southern-Thai context. Thai Journal of Nursing Council. 2016;31(3):37-52. (in Thai)
12. D’Angelo D, Mastroianni C, Hammer JM, Piredda M, Vellone E, Alvaro R, et al. Continuity of care during end of life: an evolutionary concept analysis. Int J Nurs Knowl 2015;26(2):80-9.
13. Yin RK. Case study research design and methods. 5th ed. Thousand Oaks, CA: Sage; 2014.
14. Miles MB, Huberman AM. Qualitative data analysis. 2nd ed. Thousand Oaks, CA: Sage Publications; 1994.
15. Lincoln YS, Guba EG. Naturalistic inquiry. Beverly Hills, Calif: Sage Publication; 1985.
16. Elo S, Kyngäs H. The qualitative content analysis process. J Adv Nurs. 2008;62(1):107-15
17. Gamondi C, Larkin P, Payne S. Core competencies in palliative care: an EAPC white paper on palliative care education – part 1. Eur J Palliat Care. 2013;20(2):86-91.
18. Pokpalagon P. Palliative care model in Thailand. Nursing Journal of The Ministry of Public Health.2016;26(3):41-51. (in Thai)
19. Wangthong A, Wangthong A, watsen T, Suttarangsri W. Clients’ perspectives on humanized nursing care within
a multicultural context: a case study of Nongjik district,Pattani province. Nursing Journal of The Ministry of
Public Health 2013;23(3):35-44. (in Thai)
20. Sirisoparuk S, Oumtanee A. Experience of being a professional nurse providing humanized care for
patients. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2014;15(2):289-97. (in Thai)
21. Brito-Pons G, Librada-Flores S. Compassion in palliative care: a review. Curr Opin Support Palliat Care. 2018;12(4):472-9.
22. Callaway MV, Connor SR, Foley KM. World Health Organization public health model: a roadmap for
palliative care development. J Pain Symptom Manage.2018;55(2S):S6-13.
23. Sae-hlee D, Namtassnee S, Thipthungthae S, Sumamal T, Tunsuthepweravong C, Yana T, editors. District Health
System (DHS). Bangkok: Public Health Administration Offce, Offce of the Permanent Secretary for Public Health; 2014. (in Thai)
24. Lewis JM, DiGiacomo M, Luckett T, Davidson PM, Currow DC. A social capital framework for palliative
care: supporting health and well-being for people with life-limiting illness and their carers through social relations and networks. J Pain Symptom Manage.2013;45(1):92-103.
25. Phungrassami T, Thongkhamcharoen R, Atthakul N. Palliative care personnel and services: a national survey in Thailand 2012. J Palliat Care 2013;29(3):133-9.
26. Aldridge MD, Hasselaar J, Garralda E, Eerden Mvd, Stevenson D, McKendrick K, et al. Education, implementation, and policy barriers to greater integration of palliative care: a literature review.Palliat Med. 2016;30(3):224-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-23