ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพมารดาในสตรีตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • สินีนาท วราโภค นักศึกษาหลีกสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เอมพร รตินธร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพมารดา, ระยะตั้งครรภ์, สุขภาพมารดา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์ของการวิจัย : เพื่อศึกษาอิทธิพลของอายุ ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัวลำดับของการตั้งครรภ์ การสนับสนุนทางสังคม จำนวนครั้งของการฝากครรภ์ และจำนวนครั้งของการได้รับคำแนะนำด้านสุขภาพรายกลุ่มในระยะตั้งครรภ์ ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพมารดาใน
สตรีตั้งครรภ์
การออกแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงทำนายแบบตัดขวาง
การดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์ ≥ 37 สัปดาห์ จำนวน 211 ราย จากหน่วยฝากครรภ์ โรงพยาบาลศิริราช เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพมารดา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย : อายุ ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัว ลำดับของการตั้งครรภ์ การสนับสนุนทางสังคม จำนวนครั้งของการฝากครรภ์ และจำนวนครั้งของการได้รับคำแนะนำด้านสุขภาพรายกลุ่มในระยะตั้งครรภ์ สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของความรอบรู้ด้านสุขภาพมารดาได้
ร้อยละ 35.40 (R2 = .354, F = 15.920,p < .0001) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพมารดา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม (β = .534, p < .0001) รายได้ครอบครัว (β = .172, p = .005) ลำดับของการตั้งครรภ์ (β = .151, p = .016) และ
จำนวนครั้งของการได้รับคำแนะนำด้านสุขภาพรายกลุ่มในระยะตั้งครรภ์ (β = .131,p = .024)
ข้อเสนอแนะ : พยาบาลควรให้ข้อมูลการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพหรือความต้องการแก่สตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้น้อยและตั้งครรภ์ครั้งแรก และควรให้คำแนะนำด้านสุขภาพรายกลุ่มอย่างน้อย 2 ครั้ง นอกจากนี้ควรให้คำแนะนำด้านสุขภาพแก่สามีและ
สมาชิกในครอบครัวเพื่อช่วยส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพมารดาในสตรีตั้งครรภ์

Downloads

Download data is not yet available.

References

References
1. Renkert S, Nutbeam D. Opportunities to improve maternal health literacy through antenatal education:
an exploratory study. Health Promot Int 2001;16(4): 381-8.
2. Endres LK, Sharp LK, Haney E, Dooley SL. Health literacy and pregnancy preparedness in pregestational diabetes. Diabetes care 2004;27(2):331-4.
3. Mancuso JM. Health literacy: a concept/dimensional analysis. Nurs Health Sci 2008;10(3):248-55.
4. Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med 2008;67(12):2072-8.
5. Nutbeam D. Defning, measuring and improving health literacy. HEP 2015;42(4):450-6.
6. Guttersrud O, Naigaga MD, Pettersen KS. Measuring maternal health literacy in adolescents attending antenatal care in Uganda: exploring the dimensionality of the health literacy concept studying a composite scale. J Nurs Meas 2015;23(2):e50-66.
7. Ferguson B. Health literacy and health disparities: the role they play in maternal and child health. NWH
2008;12(4):286-98.
8. Sorensen K, Van den Broucke S, Fullam J, Doyle G, Pelikan J, Slonska Z, et al. Health literacy and public
health: a systematic review and integration of defnitions and models. BMC Public Health 2012;12(1):80.
9. Naigaga MD, Guttersrud O, Pettersen KS. Measuring maternal health literacy in adolescents attending
antenatal care in a developing country - the impact of selected demographic characteristics. JCN 2015;
24(17-18):2402-9.
10. Poorman E, Gazmararian J, Elon L, Parker R. Is health literacy related to health behaviors and cell
phone usage patterns among the text4baby target population?. Arch Public Health 2014;72(1):13.
11. Tachasuksri T, Siriarunrat S, Suppasri P, Suppaseemanont W, Boonnate N, Kwannate C. Causal model for quality
of life among pregnant women. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2560; 4(1):28-46. (in Thai)
12. Venturelli N, Kalia I, Reed T, Pagaduan M, Riggs E, Merwin J, et al. Could group prenatal care work
by improving maternal health literacy. J Community Health 2016;41:1027–1032.
13. Cohen J. Multiple regression and correlation analysis. 2nd ed. New York: Academic Press; 1988.
14. Nualyong A, Athaseri S, Phancharoenworakul K, Chandaragga Y. The relationship among perception
of disease, social support, and self-care behavior in pregnancy induced hypertension patients [Thesis].
Bangkok: Mahidol University; 1992. (in Thai)
15. House JS. Work stress and social support. Philippines: Addison-Wesley; 1981
16. Health Education Division, Ministry of Public Health. Health literacy/health behavior [Internet].
2017 [cited 2019 mar 12]. Available from: URL: https://www.hed.go.th/linkHed/321
(in Thai)
17. Polit DF, Beck CT. Nursing research principles and methods. 7th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2003.
18. Lee J-Y, Murry N, Ko J, Kim MT. Exploring the relationship between maternal health literacy, parenting self-effcacy,
and early parenting practices among low-income mothers with infants. JHCPU 2018; 29(4): 1455-71.
19. Squiers L, Peinado S, Berkman N, Boudewyns V, McCormack L. The health literacy skills framework. J Health Commun 2012;17(Suppl 3):30-54.
20. Gazmararian JA, Yang B, Elon L, Graham M, Parker R. Successful enrollment in Text4Baby more
likely with higher health literacy. J Health Commun 2012;17(Suppl 3):303-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-09