การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนเพื่อปรับปรุงกระบวนการให้บริการคลินิกโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นฤมล ไชยวารีย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • บุญพิชชา จิตต์ภักดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

แนวคิดลีน, กระบวนการให้บริการ, คลินิกโรคหัวใจและหลอดเลือด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อปรับปรุงกระบวนการให้บริการคลินิกโรคหัวใจและหลอดเลือดโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดลีน

การออกแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพัฒนา

การดำเนินการวิจัย: ประชากรในการศึกษาคือบุคลากรจำนวน 13 คนในคลินิกโรคหัวใจและ หลอดเลือด แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ก่อนการพัฒนา ระยะที่ 2 การพัฒนา และระยะที่ 3 หลังการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ จำนวนครั้งของการสังเกตกิจกรรมย่อยของกระบวนการให้บริการพยาบาลที่คำนวณโดยใช้เวลามาตรฐาน จำนวน 20 - 74 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) ตารางอธิบายลักษณะกิจกรรมในกระบวนการให้บริการ 2) แผนภูมิกระบวนการไหลของงาน 3) แบบวิเคราะห์คุณค่าของกิจกรรม 4) แบบบันทึกปริมาณเวลาที่ใช้ในกิจกรรม 5) แนวคำถามในการสัมภาษณ์กลุ่มเกี่ยวกับอุปสรรคและข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนากระบวนการบริการ เครื่องมือเหล่านี้ได้ผ่านการตรวจสอบความเป็นปรนัยจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ผลการตรวจสอบพบว่า เครื่องมือมีความชัดเจน มีความเข้าใจของเนื้อหาตรงกัน และมีความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และพิสัย ส่วนปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มเนื้อหา

ผลการวิจัย: กระบวนการให้บริการที่ปรับปรุงโดยใช้แนวคิดลีนประกอบด้วย 4 กระบวนการหลักและ 19 กิจกรรมย่อย ลดลงจากก่อนปรับปรุง 3 กิจกรรมย่อย ระยะเวลามาตรฐานที่ใช้ในกระบวนการให้บริการ 93.59 นาที ซึ่งลดลงจากก่อนปรับปรุง 36.07 นาที ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกระบวนการ คือ 1) การบริหารจัดการ 2) บุคลากร 3) การสื่อสาร 4) วัสดุอุปกรณ์

ข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจนำแนวคิดลีนไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพระบบบริการของหน่วยงานอื่นในองค์การได้

Downloads

Author Biographies

ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ , คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บุญพิชชา จิตต์ภักดี , คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  กลุ่มวิชาการบริหารทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

References

Rotter T, Plishka C, Lawal A, Harrison L, Sari N, Goodridge D, et al. What is lean management in health care development of an operational definition for a Cochrane systematic review. J Educ Eval Health Prof 2018; 20(10): 1-25.

Chung S, Johns N, Zhao B, Romanelli R, Pu J, Palaniappan LP, et al. Clocks moving at different

speeds. Medical Care 2016; 54(3): 269-76.

Skeldon SC, Simmons A, Hersey K, Finelli A, Jewett MA, Zlotta AR , et al. Lean methodology improves efficiency in outpatient academic uro-oncology clinics. Urology 2014; 83(5): 992-8.

Gjolaj LN, Campos GG, Olier-Pino AI, Fernandez GL. Delivering patient value by using process improvement tools to decrease patient wait time in an outpatient oncology infusion unit. JCO Oncol Pract 2015; 12(1): 95-100.

Almomani I, AlSarheed A. Enhancing outpatient clinics management software by reducing patients’ waiting time. J Infect Public Health 2016; 9(6): 734-43.

Naidoo L, Mahomed OH. Impact of Lean on patient cycle and waiting times at a rural district hospital in KwaZulu-Natal. Afr. J. Prim. Health Care Fam 2016; 8(1): 1-9.

Radnor Z, Boaden R. Lean in public services-panacea or paradox. Public Money & Management 2008; 2: 3-7.

Lawal A K, Rotter T, Kinsman L, Sari N , Harrison L, Jeffery C, et al. Lean management in health care: definition, concepts, methodology and effects reported (systematic review protocol). Systematic Reviews 2014; 3(1): 103.

Sullivan P, Soefje S, Reinhart D, McGeary C, Cabie ED. Using lean methodology to improve productivity in a hospital oncology pharmacy. Am J Health Syst Pharm 2014; 71(17): 1491-8.

Maharaj Nakorn ChiangMai Hospital. Clients statistics. Chiang Mai: Faculty of Medicine, Chiang Mai University; 2018. (in Thai)

Outpatient and Emergency Nursing Section. Services cycle time reports. Chiang Mai: Outpatient and Emergency Nursing Section, Faculty of Medicine, Chiang Mai University; 2017. (in Thai)

Womack JP, Jones DT. Lean thinking : banish waste and create wealth in your corporation. New York: Simom & Schuster; 2003.

Barnes RM. Motion and time study. New York: John wiley & Sons; 1958.

Boonjai S. Strategic management of health care system in An Era of Asean Economic Community. Bangkok: Tammasat University; 2017. (in Thai)

Gholizadeh L, Asl IB, Hajinabi K, Dehkordi PR. Critical success factors of lean management: an investigation of factors affecting lean management in public hospitals in Kohgiluyeh and Boyerahmad and Bushehr provinces. Int Arch Health Sci 2018; 5(4): 126-30.

Callaway NF, Park JH, Maya-Silva J, Leng T. Thinking lean: improving vitreoretinal clinic efficiency by decentralizing optical coherence tomography. Retina 2016; 36(2): 335-41.

Wannasiri U. Implementation of lean concept in healthcare service sector for reducing waste system: a case study of radiotherapy department tertiary hospital. Naresuan University Journal: Science and Technology 2016; 24(3): 75-85. (In Thai)

Kelendar H, Mohammed MA. Lean and the ECRS principle: developing a framework to minimise waste in healthcare sectors. IJPHCS 2020; 7(3): 98-110.

Grout JR, Toussaint JS. Mistake-proofing healthcare: why stopping processes may be a good start. Bus Horiz 2010; 53(2): 149-56.

Young FY. The use of 5S in healthcare services: a literature review. IJBSS 2014; 5(10). 240-8.

Khunpolkaew C. Digital lean, a new dimension of production and services in the 4.0 era. Investor Club Association 2019; 18 :15-8. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-06

How to Cite

1.
ไชยวารีย์ น, อัคคะเดชอนันต์ ฐ, จิตต์ภักดี บ. การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนเพื่อปรับปรุงกระบวนการให้บริการคลินิกโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. J Thai Nurse Midwife Counc [อินเทอร์เน็ต]. 6 ตุลาคาม 2020 [อ้างถึง 27 เมษายน 2025];35(4):112-27. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/241569